จาก yoyoway.com
กลยุทธ์เอาตัวรอดในตลาดหุ้น
นานๆทีผมจะ comment สภาพตลาด บทความนี้ผมเขียนไว้เมื่อ 27 กันยายน 2010
กลยุทธ์เอาตัวรอดในตลาดหุ้น
นักลงทุนจำนวนมากคิดว่าการจะลงทุนในตลาดหุ้นให้ได้กำไร จำเป็นที่จะต้องคาดเดาแนวโน้มของตลาดได้แม่นยำระดับหนึ่ง คนที่ติดตามข่าวสารมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีโอกาสในการคาดเดาดัชนีได้มากขึ้นเท่านั้น ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยคิดแบบนี้เช่นกัน ส่วนตัวผมเองก็ชอบลองทายการขึ้นลงของดัชนีบ้างเป็นบางครั้ง แต่ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ก็จะผิดบ้างถูกบ้าง (ส่วนใหญ่จะผิด) เอาแน่เอานอนไมได้ แต่พอร์ตการลงทุนของผมก็ยังคงทำผลตอบแทนได้อย่างดีตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนั้นก็เลยทำให้ผมเลิกความเชื่อดังกล่าว
การลงทุนแนว Value Investing ให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ไม่จำเป็นต้องคาดการณ์ดัชนีว่ามันจะขึ้นหรือลง ตราบใดการตามที่เราสามารถหาหุ้นคุณภาพดีและมีราคาถูกอยู่ในตลาด เราก็ควรที่จะลงทุนต่อไปเรื่อยๆ จำนวนเงินที่จะลงทุน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นราคาถูกที่เราเจอ ระดับความถูกว่าถูกมากหรือน้อย เพราะความเชื่อของการลงทุนแนวนี้อยู่ที่ว่า ราคาหุ้นนั้นจะสะท้อนมูลค่าที่ควรจะเป็นในระยะยาวเสมอ การขึ้นลงของดัชนีก็ไม่ควรจะมาเกี่ยวข้องอะไรกับการตัดสินใจลงทุนของเรา เพราะเมื่อเราซื้อหุ้น เราซื้อกิจการของบริษัทนั้นๆ เราซื้ออนาคตของหุ้นนั้นๆ เราไม่ได้ไปซื้อดัชนี
ตั้งแต่ผมลงทุนมาตั้งแต่ปีแรกผมก็ใส่เงินอยู่ในหุ้นอยู่ 100% ตลอดเวลา (บางช่วงอาจจะเกิน 100% บ้างเพราะใช้ Margin) เพราะผมยังสามารถหาหุ้นดีๆราคาถูกลงทุนได้อยู่เสมอ แต่มาวันนี้สถานการณ์มันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
ช่วงนี้เป็นครั้งแรกที่หาหุ้นลงทุนได้น้อยมากๆ เจอบริษัทที่ยังเห็นว่าราคาถูกอยู่เพียงไม่กี่บริษัท แล้วแต่ละบริษัทนั้นก็ไม่ได้มีราคาถูกมากจนน่าตื่นเต้น ผมเลยตัดสินใจขายหุ้นบางส่วนมาถือเงินสด โดยลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นเหลือประมาณ 80-90% ของเงินทั้งหมดที่มี และถ้าราคาหุ้นยังคงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ผมก็คงจะทยอยลดพอร์ตลงเรื่อยๆ ตามแต่ระดับความถูกแพงที่ผมประเมินในช่วงเวลาๆนั้น กลยุทธ์ตอนนี้ของไม่ใช่การลงทุนให้ได้กำไรสูงที่สุด แต่เป็นการลงทุนให้ระดับที่พอเหมาะกับความเสี่ยง ซึ่งแนวคิดนี้ผมก็เรียนรู้มาจากกลยุทธ์ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอย่างยาวนานหลายบริษัท ผมจะยกตัวอย่างให้ดูนิดหน่อยละกัน
PSL เป็นทำธุรกิจเรือเทกองที่มีความสามารถในการทำกำไรระดับต้นๆของโลก ธุรกิจนี้จัดเป็น Cycle ที่ขึ้นลงค่อนข้างรุนแรงและเป็นเวลานาน ในช่วงที่อุตสาหกรรมดีบริษัทเดินเรือส่วนใหญ่ก็จะกำไรกันเป็นกอบเป็นกำ ในช่วงที่อุตสาหกรรมแย่บริษัทจำนวนมากก็ขาดทุนล้มหายตายจากไปก็เยอะ PSL นั้นสามารถเติบโตผ่าน Cycle ทั้งขึ้นและลงมาหลายรอบและสามารถทำผลกำไรได้ดีมากมาโดยตลอด กลยุทธ์ของ PSL นั้นฟังดูเหมือนกลยุทธ์ทั่วๆไปของการเล่นหุ้น คือ “ซื้อถูก ขายแพง”
ในช่วงที่ค่าระวางเรือเป็นขาขึ้น บริษัทเดินเรือส่วนใหญ่ก็จะมีกำไรที่ดี กระแสเงินสดก็จะสูง คู่แข่งจำนวนหนึ่งที่ก็จะรีบต่อเรือเพิ่ม หรือไปซื้อเรือมือสองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดนหวังว่าจะได้รีบมาปล่อยเช่าเพื่อกินค่าเช่าระดับสูงๆได้ แต่ PSL นั้นกลับทำตรงข้ามกับคนอื่น เมื่อค่าระวางเรือเพิ่มถึงระดับหนึ่งที่ผู้บริหารคิดว่าอยู่ในระดับที่ดีแล้ว PSL ก็จะทำสัญญาเช่าเรือล่วงหน้ากับลูกค้าเพื่อ Fix ค่าระวางเรือเอาไว้ ในช่วงแรกอาจจะทำไว้ 25% ของเรือทั้งหมด และเมื่อค่าระวางเรือยังคงเพิ่มขึ้นต่อ บริษัทก็อาจจะ Fix ค่าระวางเรือเอาไว้อีกซัก 25% แล้วถ้าค่าระวางยังคงขึ้นต่อไปไม่หยุด บริษัทก็จะทำสัญญาเช่าล่วงหน้าไปทั้งหมด 100% ในะขณะที่ก็จะทยอยขายเรือเก่าที่มีอายุออกบางส่วนในราคาตลาดที่สูง ในภาวะที่ค่าระวางเรือยังคงขึ้นต่อไปไม่หยุดแบบนี้ PSL อาจจะดูเป็นบริษัทที่ไม่ฉลาดนัก เพราะในช่วงขาขึ้นที่คนอื่นๆเค้าทำกำไรกันได้สูงเพราะจำนวนเรือที่เพิ่มขึ้น PSL อาจจะมีกำไรที่ต่ำกว่าเพราะจำนวนเรือก็ไม่เพิ่มแถมยังไป Fix ค่าเช่าออกไปเป็นจำนวนมาก
ในธุรกิจวัฎจักรนั้น เมื่อมีขาขึ้นแล้วก็ต้องมีขาลง ในช่วงที่ค่าระวางเรือลดลงเรื่อยๆนั้น บริษัทที่ไปต่อเรือเพิ่ม หรือซื้อเรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นก็จะเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง เพราะการซื้อเรือในช่วงขาขึ้นนั้นมีราคาที่สูง รายได้จากค่าเช่าที่ได้รับก็อาจจะไม่มากเท่าที่เคยคิด เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องบริษัทเหล่านี้ถ้าไม่ขายเรือออกไปบ้าง (ซึ่งจะต้องขายออกในราคาถูก) ก็อาจจะต้องปิดกิจการลงเพราะไม่มีเงินสดพอในการดำเนินธุรกิจ
ในช่วงนี้ PSL ก็จะกลายเป็นบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งส่วนใหญ่ เพราะบริษัทได้ขายเรือออกไปในราคาแพงจำนวนหนึ่ง และยังได้ Fix ค่าระวางเรือไปส่วนใหญ่แล้ว และเวลานี้ก็จะเป็นเวลาที่ PSL เริ่มทยอยซื้อเรือของบริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องในราคาต่ำมากๆ จำนวนเรือของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสเงินสดที่บริษัทสามารถสร้างได้
และเมื่อเวลาเลวร้ายผ่านไป ค่าระวางเรือกลับเพิ่มขึ้นมาใหม่ PSL ก็จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น กำไรเพิ่มมากขึ้น แล้ววงจรธุรกิจก็จะยังคงวนเวียนเป็นขาขึ้นขาลงสลับกันไป คู่แข่งหลายรายล้มหายตายจากไป มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาบ้าง ในขณะที่ PSL ก็จะมีขนาดใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นว่ากลยุทธ์ซื้อถูกขายแพงของ PSL นั้นไม่ได้เป็นการซื้อที่ถูกที่สุด หรือขายที่แพงที่สุด แต่เป็นการทยอยซื้อเมื่อค่าระวางเรืออยู่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และทยอยขายเมื่อค่าระวางเรือสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะแม้แต่ผู้บริหาร PSL ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในธุรกิจเดินเรือมาอย่างยาวนานนั้น เค้าก็ไม่สามารถคาดการณ์ดัชนีค่าระวางเรือในระยะสั้นได้
บริษัทที่ใช้กลยุทธ์คล้ายๆ กันนี้ก็มีอยู่หลายบริษัทอีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ เช่น IRP และ IVL (ซึ่งตอนนี้ควบรวมกันแล้ว) ในช่วงขาขึ้นบริษัทก็จะ Focus ไปกับควบคุมประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำ ในขณะที่คู่แข่งก็จะ Focus ไปกับการขยายโรงงานเพื่อให้ทันกับขาขึ้นของวัฎจักร และในช่วงขาลงคู่แข่งก็จะมีกำไรที่ลดลงหรือขาดทุน บางรายถึงกับขาดแคลนเงินสดจนต้องปิดตัวลงหรือขายธุรกิจบางส่วนของตัวเองออก ตอนนี้ IRP และ IVL อาจจะมีกำไรน้อยลงไปบ้าง แต่กระแสเงินสดยังคงดีอยู่ ก็จะเริ่มซื้อโรงงานของคู่แข่งที่มีปัญหาในราคาถูก กู้เงินสร้างโรงงานใหม่ในช่วงที่วัฎรจักรยังดูไม่ดีเท่าไหร่ แล้วสุดท้ายเมื่อเวลาเลวร้ายผ่านพ้นไป บริษัทจะยิ่งมีกำไรเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ IRP IVL จากที่เคยเป็นบริษัทที่มีกำลังการผลิตและผลกำไรไม่มากนักก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน บริษัทอาจจะกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมด้วยกลยุทธ์ “ซื้อถูกขายแพง” ในระยะเวลาอีกไม่นานนี้
การลงทุนในหุ้นก็เป็นเช่นเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเพื่อที่จะประสบผลสำเร็จในการลงทุน แต่เราควรที่จะขายเมื่อเรารู้สึกว่าราคาหุ้นมันเกินกว่าที่ควรจะเป็น ยิ่งขึ้นมาก็ต้องยิ่งต้องขายมาก เพื่อที่จะสร้างกระแสเงินสดเก็บไว้กับตัวเอง เพื่อรอเวลาที่ตลาดจะกลับมาอยู่ในขาลง และมีโอกาสกลับไปซื้อหุ้นในยามที่มันถูกกว่าที่ควรจะเป็น ในช่วงภาวะแบบนี้ Value Investor ที่ระมัดระวังอาจจะดูโง่ที่ขายหุ้นออกในช่วงที่หุ้นอยู่ในขาขึ้น เหมือนกับที่ PSL ทำในช่วงค่าระวางขาขึ้น แต่เมื่อไหร่ที่ตลาดกลับมาเป็นขาลง Value Investor ที่ระมัดระวังก็จะเป็นคนที่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวเสมอ
คำสอนของ Warren Buffett ที่บอกว่า “โลภเมื่อคนอื่นกลัว และ กลัวเมื่อคนอื่นโลภ” ยังคงใช้ได้ดีอยู่เสมอ ทั้งในการลงทุน หรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจ
กลยุทธ์เอาตัวรอดในตลาดหุ้น
นักลงทุนจำนวนมากคิดว่าการจะลงทุนในตลาดหุ้นให้ได้กำไร จำเป็นที่จะต้องคาดเดาแนวโน้มของตลาดได้แม่นยำระดับหนึ่ง คนที่ติดตามข่าวสารมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีโอกาสในการคาดเดาดัชนีได้มากขึ้นเท่านั้น ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยคิดแบบนี้เช่นกัน ส่วนตัวผมเองก็ชอบลองทายการขึ้นลงของดัชนีบ้างเป็นบางครั้ง แต่ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ก็จะผิดบ้างถูกบ้าง (ส่วนใหญ่จะผิด) เอาแน่เอานอนไมได้ แต่พอร์ตการลงทุนของผมก็ยังคงทำผลตอบแทนได้อย่างดีตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนั้นก็เลยทำให้ผมเลิกความเชื่อดังกล่าว
การลงทุนแนว Value Investing ให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ไม่จำเป็นต้องคาดการณ์ดัชนีว่ามันจะขึ้นหรือลง ตราบใดการตามที่เราสามารถหาหุ้นคุณภาพดีและมีราคาถูกอยู่ในตลาด เราก็ควรที่จะลงทุนต่อไปเรื่อยๆ จำนวนเงินที่จะลงทุน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นราคาถูกที่เราเจอ ระดับความถูกว่าถูกมากหรือน้อย เพราะความเชื่อของการลงทุนแนวนี้อยู่ที่ว่า ราคาหุ้นนั้นจะสะท้อนมูลค่าที่ควรจะเป็นในระยะยาวเสมอ การขึ้นลงของดัชนีก็ไม่ควรจะมาเกี่ยวข้องอะไรกับการตัดสินใจลงทุนของเรา เพราะเมื่อเราซื้อหุ้น เราซื้อกิจการของบริษัทนั้นๆ เราซื้ออนาคตของหุ้นนั้นๆ เราไม่ได้ไปซื้อดัชนี
ตั้งแต่ผมลงทุนมาตั้งแต่ปีแรกผมก็ใส่เงินอยู่ในหุ้นอยู่ 100% ตลอดเวลา (บางช่วงอาจจะเกิน 100% บ้างเพราะใช้ Margin) เพราะผมยังสามารถหาหุ้นดีๆราคาถูกลงทุนได้อยู่เสมอ แต่มาวันนี้สถานการณ์มันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
ช่วงนี้เป็นครั้งแรกที่หาหุ้นลงทุนได้น้อยมากๆ เจอบริษัทที่ยังเห็นว่าราคาถูกอยู่เพียงไม่กี่บริษัท แล้วแต่ละบริษัทนั้นก็ไม่ได้มีราคาถูกมากจนน่าตื่นเต้น ผมเลยตัดสินใจขายหุ้นบางส่วนมาถือเงินสด โดยลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นเหลือประมาณ 80-90% ของเงินทั้งหมดที่มี และถ้าราคาหุ้นยังคงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ผมก็คงจะทยอยลดพอร์ตลงเรื่อยๆ ตามแต่ระดับความถูกแพงที่ผมประเมินในช่วงเวลาๆนั้น กลยุทธ์ตอนนี้ของไม่ใช่การลงทุนให้ได้กำไรสูงที่สุด แต่เป็นการลงทุนให้ระดับที่พอเหมาะกับความเสี่ยง ซึ่งแนวคิดนี้ผมก็เรียนรู้มาจากกลยุทธ์ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอย่างยาวนานหลายบริษัท ผมจะยกตัวอย่างให้ดูนิดหน่อยละกัน
PSL เป็นทำธุรกิจเรือเทกองที่มีความสามารถในการทำกำไรระดับต้นๆของโลก ธุรกิจนี้จัดเป็น Cycle ที่ขึ้นลงค่อนข้างรุนแรงและเป็นเวลานาน ในช่วงที่อุตสาหกรรมดีบริษัทเดินเรือส่วนใหญ่ก็จะกำไรกันเป็นกอบเป็นกำ ในช่วงที่อุตสาหกรรมแย่บริษัทจำนวนมากก็ขาดทุนล้มหายตายจากไปก็เยอะ PSL นั้นสามารถเติบโตผ่าน Cycle ทั้งขึ้นและลงมาหลายรอบและสามารถทำผลกำไรได้ดีมากมาโดยตลอด กลยุทธ์ของ PSL นั้นฟังดูเหมือนกลยุทธ์ทั่วๆไปของการเล่นหุ้น คือ “ซื้อถูก ขายแพง”
ในช่วงที่ค่าระวางเรือเป็นขาขึ้น บริษัทเดินเรือส่วนใหญ่ก็จะมีกำไรที่ดี กระแสเงินสดก็จะสูง คู่แข่งจำนวนหนึ่งที่ก็จะรีบต่อเรือเพิ่ม หรือไปซื้อเรือมือสองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดนหวังว่าจะได้รีบมาปล่อยเช่าเพื่อกินค่าเช่าระดับสูงๆได้ แต่ PSL นั้นกลับทำตรงข้ามกับคนอื่น เมื่อค่าระวางเรือเพิ่มถึงระดับหนึ่งที่ผู้บริหารคิดว่าอยู่ในระดับที่ดีแล้ว PSL ก็จะทำสัญญาเช่าเรือล่วงหน้ากับลูกค้าเพื่อ Fix ค่าระวางเรือเอาไว้ ในช่วงแรกอาจจะทำไว้ 25% ของเรือทั้งหมด และเมื่อค่าระวางเรือยังคงเพิ่มขึ้นต่อ บริษัทก็อาจจะ Fix ค่าระวางเรือเอาไว้อีกซัก 25% แล้วถ้าค่าระวางยังคงขึ้นต่อไปไม่หยุด บริษัทก็จะทำสัญญาเช่าล่วงหน้าไปทั้งหมด 100% ในะขณะที่ก็จะทยอยขายเรือเก่าที่มีอายุออกบางส่วนในราคาตลาดที่สูง ในภาวะที่ค่าระวางเรือยังคงขึ้นต่อไปไม่หยุดแบบนี้ PSL อาจจะดูเป็นบริษัทที่ไม่ฉลาดนัก เพราะในช่วงขาขึ้นที่คนอื่นๆเค้าทำกำไรกันได้สูงเพราะจำนวนเรือที่เพิ่มขึ้น PSL อาจจะมีกำไรที่ต่ำกว่าเพราะจำนวนเรือก็ไม่เพิ่มแถมยังไป Fix ค่าเช่าออกไปเป็นจำนวนมาก
ในธุรกิจวัฎจักรนั้น เมื่อมีขาขึ้นแล้วก็ต้องมีขาลง ในช่วงที่ค่าระวางเรือลดลงเรื่อยๆนั้น บริษัทที่ไปต่อเรือเพิ่ม หรือซื้อเรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นก็จะเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง เพราะการซื้อเรือในช่วงขาขึ้นนั้นมีราคาที่สูง รายได้จากค่าเช่าที่ได้รับก็อาจจะไม่มากเท่าที่เคยคิด เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องบริษัทเหล่านี้ถ้าไม่ขายเรือออกไปบ้าง (ซึ่งจะต้องขายออกในราคาถูก) ก็อาจจะต้องปิดกิจการลงเพราะไม่มีเงินสดพอในการดำเนินธุรกิจ
ในช่วงนี้ PSL ก็จะกลายเป็นบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งส่วนใหญ่ เพราะบริษัทได้ขายเรือออกไปในราคาแพงจำนวนหนึ่ง และยังได้ Fix ค่าระวางเรือไปส่วนใหญ่แล้ว และเวลานี้ก็จะเป็นเวลาที่ PSL เริ่มทยอยซื้อเรือของบริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องในราคาต่ำมากๆ จำนวนเรือของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสเงินสดที่บริษัทสามารถสร้างได้
และเมื่อเวลาเลวร้ายผ่านไป ค่าระวางเรือกลับเพิ่มขึ้นมาใหม่ PSL ก็จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น กำไรเพิ่มมากขึ้น แล้ววงจรธุรกิจก็จะยังคงวนเวียนเป็นขาขึ้นขาลงสลับกันไป คู่แข่งหลายรายล้มหายตายจากไป มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาบ้าง ในขณะที่ PSL ก็จะมีขนาดใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นว่ากลยุทธ์ซื้อถูกขายแพงของ PSL นั้นไม่ได้เป็นการซื้อที่ถูกที่สุด หรือขายที่แพงที่สุด แต่เป็นการทยอยซื้อเมื่อค่าระวางเรืออยู่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และทยอยขายเมื่อค่าระวางเรือสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะแม้แต่ผู้บริหาร PSL ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในธุรกิจเดินเรือมาอย่างยาวนานนั้น เค้าก็ไม่สามารถคาดการณ์ดัชนีค่าระวางเรือในระยะสั้นได้
บริษัทที่ใช้กลยุทธ์คล้ายๆ กันนี้ก็มีอยู่หลายบริษัทอีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ เช่น IRP และ IVL (ซึ่งตอนนี้ควบรวมกันแล้ว) ในช่วงขาขึ้นบริษัทก็จะ Focus ไปกับควบคุมประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำ ในขณะที่คู่แข่งก็จะ Focus ไปกับการขยายโรงงานเพื่อให้ทันกับขาขึ้นของวัฎจักร และในช่วงขาลงคู่แข่งก็จะมีกำไรที่ลดลงหรือขาดทุน บางรายถึงกับขาดแคลนเงินสดจนต้องปิดตัวลงหรือขายธุรกิจบางส่วนของตัวเองออก ตอนนี้ IRP และ IVL อาจจะมีกำไรน้อยลงไปบ้าง แต่กระแสเงินสดยังคงดีอยู่ ก็จะเริ่มซื้อโรงงานของคู่แข่งที่มีปัญหาในราคาถูก กู้เงินสร้างโรงงานใหม่ในช่วงที่วัฎรจักรยังดูไม่ดีเท่าไหร่ แล้วสุดท้ายเมื่อเวลาเลวร้ายผ่านพ้นไป บริษัทจะยิ่งมีกำไรเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ IRP IVL จากที่เคยเป็นบริษัทที่มีกำลังการผลิตและผลกำไรไม่มากนักก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน บริษัทอาจจะกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมด้วยกลยุทธ์ “ซื้อถูกขายแพง” ในระยะเวลาอีกไม่นานนี้
การลงทุนในหุ้นก็เป็นเช่นเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเพื่อที่จะประสบผลสำเร็จในการลงทุน แต่เราควรที่จะขายเมื่อเรารู้สึกว่าราคาหุ้นมันเกินกว่าที่ควรจะเป็น ยิ่งขึ้นมาก็ต้องยิ่งต้องขายมาก เพื่อที่จะสร้างกระแสเงินสดเก็บไว้กับตัวเอง เพื่อรอเวลาที่ตลาดจะกลับมาอยู่ในขาลง และมีโอกาสกลับไปซื้อหุ้นในยามที่มันถูกกว่าที่ควรจะเป็น ในช่วงภาวะแบบนี้ Value Investor ที่ระมัดระวังอาจจะดูโง่ที่ขายหุ้นออกในช่วงที่หุ้นอยู่ในขาขึ้น เหมือนกับที่ PSL ทำในช่วงค่าระวางขาขึ้น แต่เมื่อไหร่ที่ตลาดกลับมาเป็นขาลง Value Investor ที่ระมัดระวังก็จะเป็นคนที่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวเสมอ
คำสอนของ Warren Buffett ที่บอกว่า “โลภเมื่อคนอื่นกลัว และ กลัวเมื่อคนอื่นโลภ” ยังคงใช้ได้ดีอยู่เสมอ ทั้งในการลงทุน หรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจ
SATURDAY, OCTOBER 23, 2010
Blog ใหม่ของผม
ช่วงประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาผมเริ่มหันความสนใจไปหาการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
ผ่านการวิเคราะห์หุ้นมาหลายสิบตัว ผ่านการขึ้นลงของตลาดหุ้นอเมริกามาประมาณหนึ่ง
Idea การลงทุนใหม่ๆก็เลยเกิดขึ้นหลังจากที่ผมเองก็ idea การลงทุนหุ้นไทยก็ตันไปนานพอสมควร
ว่าแล้วได้โอกาสก็เลยไปเปิด Blog ใหม่ที่เวป SeekingAlpha ซึ่งเป็นแหล่งรวมคนเขียนเจ๋งๆจำนวนมาก
การลงทุนให้หุ้นต่างประเทศนั้นผมว่ายากกว่าการลงทุนในหุ้นไทย เพราะว่าเรามีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสกับสินค้า สภาพแวดล้อมของบริษัทและประเทศนั้นๆ รวมถึงไม่มีโอกาสในการเข้าไปผู้คุยกับผู้บริหาร ทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นต่างประเทศนั้นสูงกว่าหุ้นไทยพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม แม้ความเสี่ยงจะสูงกว่า แต่โอกาสก็มากกว่าเช่นเดียวกัน (ผมลงทุนไปเกือบ 1 ปียังขาดทุนอยู่ประมาณ 20-25% อยู่เลย)
เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่สนใจลงทุนในต่างประเทศก็ลองศึกษาดูได้นะครับ แต่ก่อนจะออกไปผมแนะนำให้มีประสบการณ์ในหุ้นไทยมานานพอสมควรก่อน เพราะบอกตรงๆว่ามันเล่นยากกว่าเราเยอะจริงๆ กว่าผมจะเริ่มเข้าร่องเข้ารอยก็ผ่านมาเกือบปี เพิ่งรู้สึกว่าตัวเองพอจะลงทุนหุ้นต่างประเทศได้เท่านั้นเอง ยังไม่ได้เรียกว่าเก่งอะไร
ส่วนคนที่ไม่ได้มีเจตนาจะไปลงทุนต่างประเทศ หรือยังไม่คิดว่าจะลงทุนในเร็ววันนี้ ก็อ่านๆดูเป็น Case study ก็ได้ครับ จะได้เปิดหูเปิดตา และก็อาจจะมีบาง idea การลงทุนที่ผมไม่เคยเขียนใน yoyoway มาก่อน เช่น เรื่องการวิเคราะห์กระแสเงินสด ซึ่งผมน่าจะเขียนเสร็จในอีกไม่กี่วันนี้ครับ
ตามอ่านได้ที่ link นี้เลยครับ
http://seekingalpha.com/user/566955/instablog
อ้อ อ่านแล้วอ่านลืมไป Sign in เป็น Follower ผมด้วยนะครับ เวลามีบทความใหม่ของคนหรือหุ้นที่เรา Follow เวปมันจะส่ง email ไปบอกสมาชิกเอง สะดวกดีไม่ต้องเปิดไล่เข้าไปดูเองว่า Update บทความใหม่รึยัง
ผ่านการวิเคราะห์หุ้นมาหลายสิบตัว ผ่านการขึ้นลงของตลาดหุ้นอเมริกามาประมาณหนึ่ง
Idea การลงทุนใหม่ๆก็เลยเกิดขึ้นหลังจากที่ผมเองก็ idea การลงทุนหุ้นไทยก็ตันไปนานพอสมควร
ว่าแล้วได้โอกาสก็เลยไปเปิด Blog ใหม่ที่เวป SeekingAlpha ซึ่งเป็นแหล่งรวมคนเขียนเจ๋งๆจำนวนมาก
การลงทุนให้หุ้นต่างประเทศนั้นผมว่ายากกว่าการลงทุนในหุ้นไทย เพราะว่าเรามีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสกับสินค้า สภาพแวดล้อมของบริษัทและประเทศนั้นๆ รวมถึงไม่มีโอกาสในการเข้าไปผู้คุยกับผู้บริหาร ทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นต่างประเทศนั้นสูงกว่าหุ้นไทยพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม แม้ความเสี่ยงจะสูงกว่า แต่โอกาสก็มากกว่าเช่นเดียวกัน (ผมลงทุนไปเกือบ 1 ปียังขาดทุนอยู่ประมาณ 20-25% อยู่เลย)
เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่สนใจลงทุนในต่างประเทศก็ลองศึกษาดูได้นะครับ แต่ก่อนจะออกไปผมแนะนำให้มีประสบการณ์ในหุ้นไทยมานานพอสมควรก่อน เพราะบอกตรงๆว่ามันเล่นยากกว่าเราเยอะจริงๆ กว่าผมจะเริ่มเข้าร่องเข้ารอยก็ผ่านมาเกือบปี เพิ่งรู้สึกว่าตัวเองพอจะลงทุนหุ้นต่างประเทศได้เท่านั้นเอง ยังไม่ได้เรียกว่าเก่งอะไร
ส่วนคนที่ไม่ได้มีเจตนาจะไปลงทุนต่างประเทศ หรือยังไม่คิดว่าจะลงทุนในเร็ววันนี้ ก็อ่านๆดูเป็น Case study ก็ได้ครับ จะได้เปิดหูเปิดตา และก็อาจจะมีบาง idea การลงทุนที่ผมไม่เคยเขียนใน yoyoway มาก่อน เช่น เรื่องการวิเคราะห์กระแสเงินสด ซึ่งผมน่าจะเขียนเสร็จในอีกไม่กี่วันนี้ครับ
ตามอ่านได้ที่ link นี้เลยครับ
http://seekingalpha.com/user/566955/instablog
อ้อ อ่านแล้วอ่านลืมไป Sign in เป็น Follower ผมด้วยนะครับ เวลามีบทความใหม่ของคนหรือหุ้นที่เรา Follow เวปมันจะส่ง email ไปบอกสมาชิกเอง สะดวกดีไม่ต้องเปิดไล่เข้าไปดูเองว่า Update บทความใหม่รึยัง
MONDAY, FEBRUARY 22, 2010
หนังสือแนะนำ
ผมเพิ่งเพิ่มรายการหนังสือแนะนำใหม่เข้าไปอีก 4 รายการครับ
1. มั่งคังอย่าง Warren Buffett (Warren Buffett Wealth) : Robert P.Miles
เล่มนี้รวมแนวคิดทั้งหมดของ Buffett ได้ครับถ้วนและอ่านง่ายอ่านสนุกดีครับ คนเขียนเดียวกับ CEO ของ Warren Buffett เขียนมาไม่ผิดหวังจริงๆ เล่มนี้สามารถขึ้นไปอยู่อันดับหนังสือลงทุนในดวงใจอันดับต้นๆได้ไม่ยากเลย ควรจะมีติดบ้านไว้เป้นอย่างยิ่ง
2. The little book that beats the market : Joel Greenblatt
แนวคิดที่เข้าใจง่าย หนังสือเล่มบางเฉียบแค่ 100 หน้านิดๆ แต่เนื้อหาปึ๊กมาก หนังสือเขียนเกี่ยวกับความถูกของหุ้นผ่าน p/e ratio และเทียบคุณภาพของหุ้นผ่าน ROA และสรุปออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการลงทุนที่ง่ายเหลือเกิน แต่ผลตอบแทนทำได้ดีมากเลยทีเดียว คนเขียนเป็นนักลงทุน VI ระดับโลกคนนึงที่บริหารกองทุนได้ผลตอบแทนสูงมาก อย่างยาวนาน แปลกที่คนนี้ไม่ค่อยดังในเมื่อไทยเท่าไหร่ แต่ผมว่ายิ่งนานวันๆ ไปอาจจะมีโอกาสติดอันดับ top 5 ของนักลงทุนระดับโลกได้เลยทีเดียว
3. Warren Buffett and the Interpretation of Financial Statement : Mary Buffet & David Clark
เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เชี่ยวชาญในการอ่านงบการเงินเท่าไหร่นัก เล่มนี้ช่วยบอกได้ดีกว่า เราควรจะดูควรจะให้ความสำคัญกับอัตราส่วนใดบ้าง ถือว่าดีกว่าหนังสืออ่านบัญชีหลายๆเล่มที่ผมเคยแนะนำไปทั้งหมดเลย
4. นักลงทุนดันโด The Dhandho Investor เขียนโดย Mohnish Pabrai แปลโดย พี่ WEB พรชัย รัตนนนทชัยสุข เจ้าเก่า - เขียนโดยนักลงทุนแฟนพันธ์แท้ของ Buffett ซึ่งเป็นนักลงทุนชาวอินเดีย หลังการลงทุนเดียวกันกับ VI ส่วนใหญ่ แต่จะมีมุมมองที่แปลกตาไปจากตัวอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจที่ต่างๆกัน และเป็นแนวคิดของนักลงทุนอินเดียคนแรกที่ผมเคยอ่าน ช่วงนี้เห็นว่าเล่มนี้ขายดีมากนะ ไปหามาอ่านกันซะ
5. วาทะของ Warren Buffett - อันนี้ไม่ได้เพิ่มเข้าไปใหม่เพราะเคยมีแนะนำไว้นานมากแล้ว แต่ว่ามีการพิมพ์ edition ใหม่ออกมา Version คงหาซื้อได้ยาก ก็มาซื้อ Version นี้เอาแทน เพิ่มเนื้อหาเขาไปอีกนิดหน่อย และเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น นักลงทุนชั้นเซียนระดับโลก (จะเปลี่ยนชื่อให้งงทำไมเนี่ย ชื่อเดิมก็ดีอยู่แล้ว) คนเขียนคนแปลยังเป็นคนเดิม เจเน็ต โลว์ เขียน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แปล
1. มั่งคังอย่าง Warren Buffett (Warren Buffett Wealth) : Robert P.Miles
เล่มนี้รวมแนวคิดทั้งหมดของ Buffett ได้ครับถ้วนและอ่านง่ายอ่านสนุกดีครับ คนเขียนเดียวกับ CEO ของ Warren Buffett เขียนมาไม่ผิดหวังจริงๆ เล่มนี้สามารถขึ้นไปอยู่อันดับหนังสือลงทุนในดวงใจอันดับต้นๆได้ไม่ยากเลย ควรจะมีติดบ้านไว้เป้นอย่างยิ่ง
2. The little book that beats the market : Joel Greenblatt
แนวคิดที่เข้าใจง่าย หนังสือเล่มบางเฉียบแค่ 100 หน้านิดๆ แต่เนื้อหาปึ๊กมาก หนังสือเขียนเกี่ยวกับความถูกของหุ้นผ่าน p/e ratio และเทียบคุณภาพของหุ้นผ่าน ROA และสรุปออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการลงทุนที่ง่ายเหลือเกิน แต่ผลตอบแทนทำได้ดีมากเลยทีเดียว คนเขียนเป็นนักลงทุน VI ระดับโลกคนนึงที่บริหารกองทุนได้ผลตอบแทนสูงมาก อย่างยาวนาน แปลกที่คนนี้ไม่ค่อยดังในเมื่อไทยเท่าไหร่ แต่ผมว่ายิ่งนานวันๆ ไปอาจจะมีโอกาสติดอันดับ top 5 ของนักลงทุนระดับโลกได้เลยทีเดียว
3. Warren Buffett and the Interpretation of Financial Statement : Mary Buffet & David Clark
เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เชี่ยวชาญในการอ่านงบการเงินเท่าไหร่นัก เล่มนี้ช่วยบอกได้ดีกว่า เราควรจะดูควรจะให้ความสำคัญกับอัตราส่วนใดบ้าง ถือว่าดีกว่าหนังสืออ่านบัญชีหลายๆเล่มที่ผมเคยแนะนำไปทั้งหมดเลย
4. นักลงทุนดันโด The Dhandho Investor เขียนโดย Mohnish Pabrai แปลโดย พี่ WEB พรชัย รัตนนนทชัยสุข เจ้าเก่า - เขียนโดยนักลงทุนแฟนพันธ์แท้ของ Buffett ซึ่งเป็นนักลงทุนชาวอินเดีย หลังการลงทุนเดียวกันกับ VI ส่วนใหญ่ แต่จะมีมุมมองที่แปลกตาไปจากตัวอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจที่ต่างๆกัน และเป็นแนวคิดของนักลงทุนอินเดียคนแรกที่ผมเคยอ่าน ช่วงนี้เห็นว่าเล่มนี้ขายดีมากนะ ไปหามาอ่านกันซะ
5. วาทะของ Warren Buffett - อันนี้ไม่ได้เพิ่มเข้าไปใหม่เพราะเคยมีแนะนำไว้นานมากแล้ว แต่ว่ามีการพิมพ์ edition ใหม่ออกมา Version คงหาซื้อได้ยาก ก็มาซื้อ Version นี้เอาแทน เพิ่มเนื้อหาเขาไปอีกนิดหน่อย และเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น นักลงทุนชั้นเซียนระดับโลก (จะเปลี่ยนชื่อให้งงทำไมเนี่ย ชื่อเดิมก็ดีอยู่แล้ว) คนเขียนคนแปลยังเป็นคนเดิม เจเน็ต โลว์ เขียน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แปล
คลังกระทู้ถามตอบ
พอดีว่าในเวป thaivi นั้นมีกระทู้ถามตอบของผมอยู่กระทู้นึง บางคนอาจจะไม่เคยเห็นไม่มีโอกาสอ่าน ก็ลองเข้าไปดูได้โดย Click ที่ชื่อหัวข้อบทความนี้เลยครับ
ถ้ามีอะไรสงสัยอยากถามก็เอาไปถามในกระทู้เลยก็ได้ ผมว่าระบบการถามตอบของกระทู้นั้นทำได้ดีกว่าการถามตอบใน Blog มาก แถมหลังๆ Blog ผมนี้ชอบมี comment junk มาจากไหนก็ไม่รู้ จะแก้ก็แก้ไม่เป็นได้แต่ปล่อยเลยตามเลยไป
กฏเกณฑ์ในการถามมีง่ายๆครับ ถ้าถามหุ้นรายตัวผมแล้วผมไม่รู้จัก (ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก 555) ผมก็จะขอข้ามไปเลยครับ แต่ถ้าถามมาเป็นแนวคิด วิธีวิเคราะห์ วิธีลงทุน อะไรพวกนี้ผมยินดีต้อนรับมากกว่าครับ
ถ้ามีอะไรสงสัยอยากถามก็เอาไปถามในกระทู้เลยก็ได้ ผมว่าระบบการถามตอบของกระทู้นั้นทำได้ดีกว่าการถามตอบใน Blog มาก แถมหลังๆ Blog ผมนี้ชอบมี comment junk มาจากไหนก็ไม่รู้ จะแก้ก็แก้ไม่เป็นได้แต่ปล่อยเลยตามเลยไป
กฏเกณฑ์ในการถามมีง่ายๆครับ ถ้าถามหุ้นรายตัวผมแล้วผมไม่รู้จัก (ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก 555) ผมก็จะขอข้ามไปเลยครับ แต่ถ้าถามมาเป็นแนวคิด วิธีวิเคราะห์ วิธีลงทุน อะไรพวกนี้ผมยินดีต้อนรับมากกว่าครับ
SATURDAY, JANUARY 30, 2010
สรุปการลงทุนปี 51และ 52
ปี 2551 set ลดลงประมาณ 48% ในขณะที่ port ของผมลดลงประมาณ 55% (จริงแล้วแพ้ set มากกว่านี้เพราะว่า port ผมนี่รวมป้นผลแล้ว แต่ set ยังไม่รวม)
ปีนี้คนที่อยู่ในตลาดคงจำกันได้เป็นอย่างดีว่าเป็นปีที่หดหู่พอสมควร ช่วงต้นปีหุ้นดูเหมือนจะดี port ของผมเองก็พุ่งขึ้นทำ New High ใหม่... แต่ผ่านมาได้ซัก 4-5 เดือน หุ้นก็เริ่มไหลลงเป็นน้ำตก จาก 800 มา 700 มา 600 ณ เวลานั้นผมเองก็ซื้อหุ้นเพิ่มเข้าไปอีก เพราะเห็นว่าหุ้นตัวเองนั้นถูกลงในขณะที่ผลประกอบการณ์ทั้งที่ออกมาและที่คาดไว้ในอนาคตยังคงดีอยู่ แล้วหุ้นก็ไหลลงไปเรื่อยๆ จาก 600 500 400 จนถึง 300 ปลายๆ ... แหมช่วงนี้ใจหายกันหมด มูลค่า port ของผมก็ลดลงมาอย่างมากเช่นกัน หุ้นที่ถือๆอยู่ทยอยประกาศผลประกอบการออกมาเรื่อยๆ หลายๆตัวเป็นไปตามคาด หลายตัวดีกว่าที่คาด แต่หุ้นก็ยังลง
บทเรียนที่ผมได้เรียนรู้จากการลงทุนในปีนี้มีมากเหลือเกิน จะลองยกตัวอย่างเป็นข้อหลักมาให้ดูนะครับๆ อาจจะตกหล่นไปบ้าง เพราะมันก็ผ่านมานานแล้ว แต่ที่ผมไม่เขียนบทสรุปตั้งแต่ปีที่แล้วผมมีเหตุผลอยู่ ซึ่งเดี๋ยวจะเอาไปเล่าตอบจบบทความล่ะกัน
- ราคาหุ้นในระยะสั้นนั้นสามารถไร้เหตุผลได้สิ้นเชิง... จากที่เราเชื่อว่าหุ้นดี กำไรเพิ่ม ราคาถูกนั้น ราคาหุ้นควรจะเพิ่มขึ้น .. ซึ่งมันยังคงจริงในระยะยาว แต่ในระยะสั้นนั้นราคามันอยากจะวิ่งไปทางไหนก็ได้ .. หุ้นที่กำไรโตขึ้น 100% และมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มี p/e ต่ำเรี่ยเตี้ยดิน หลังประกาศกำไรออกมา หุ้นอาจจะลงไป 10-20% ก็ได้..
- คุณอาจจะได้เห็นหุ้นที่ราคาลดลง 30% ในวันเดียวได้ทั้งๆที่เป็นหุ้นที่แข็งแกร่งมาก อย่าง mint เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่คนอาจจะไม่รู้กันคือ บางคนมีการใช้ Margin เล่นหุ้น ซึ่งเมื่อหุ้นลดลงมาถึงจุดหนึ่ง Broker เค้าจะให้เอาเงินมาลงเพิ่ม เพราะหลักทรัพย์ค้ำประกัน (หุ้น) มีมูลค่าลดลง ถ้าเอาเงินมาลงเพิ่มไม่ได้ (ซึ่งก็เป็นส่วนใหญ่ เพราะถ้ามีเงินคงไม่ต้องมากู้เล่นหุ้นกันหรอก) เค้าก็จะบังคับขายหุ้น แล้วเมื่อถูกบังคับขายหุ้นแล้วไม่ค่อยมีคนซื้อ ก็จำเป็นต้องขายกดราคา ที่นี้ยิ่งขายลงมาหุ้นก็ยิ่งลดลง บังเอิญมีนักลงทุนอีกคนใช้หุ้นตัวเดียวกันเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เค้าก็โดนบังคับขายอีก.. พอแรงขายเพิ่มขึ้นอีกหุ้นมันก็ยิ่งลงได้อีก แม้ว่ามันจะลงมาเยอะแล้ว.. พอหุ้นลงมาคนที่ถืออยู่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เห็นหุ้นลงแรงๆก็ตกใจ ขายหุ้นตาม สุดท้ายแรงขายเพียบ แรงซื้อไม่มี ก็ไหลเป็นน้ำตกซิครับ... เพราะฉะนั้นในช่วงจังหวะตลาดขาลงแบบนี้การเห็นหุ้นลดลง 20-30% ทั้งที่ไม่มีข่าวอะไรเลยเป็นเรื่องปกติ และเป็นโอกาสในการลงทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนระยะยาวได้
- ช่วงนี้ข่าวร้ายจะออกมาเต็มไปหมด เหมือนกับเศรษฐกิจโลกจะพังพินาศ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะได้รู้ว่าสุดท้ายมันก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นหรอก
- มีนักลงทุน vi บางท่าน ไม่ได้ออกจากตลาดหุ้นเลย ถือหุ้นเต็ม port 100% แต่จบปียังสามารถรักษาผลตอบแทนเป็นบวกไว้ได้ ... ยอดเยี่ยมจริงๆครับ เข้าใจว่าในช่วงต้นปีนั้นทำผลตอบแทนตุนเอาไว้เยอะมาก และในช่วงที่หุ้นลดลงนั้น ก็ใช้วิธี Switch หุ้นตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่ลงเยอะ.. ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเรื่องการจัด port ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ (ผมก็ใช้นะ แต่ก็ยังเดี้ยงอยู่ดี 555) แต่จุดต่างคือผมถือหุ้นประมาณ 4-5 ตัว แล้ว 4-5 ตัวที่ว่านี่มันลดลงมาพอๆกันเกือบหมด ผมเลยมีโอกาส ปรับ port ไม่มากนัก บวกกับที่ผมใช้ Margin ด้วยมันเลยยิ่งทำให้ port ผมลดเร็วเป็นพิเศษ ในขณะที่พี่ท่านนั้นถือหุ้นอยู่ 10-20 ตัว หุ้นจำนวนมากขนาดนี้มันก็มีบางตัวขึ้นมาตัวลงสลับกันไปมา โอกาสในการปรับ port เลยเพิ่มขึ้น ... ซึ่งผมเชื่อว่าการลงทุนนั้น ถ้าเราสามารถกระจายการลงทุนหลายๆตัว ความเสียงก็จะลดลง ในขณะที่โอกาสในการปรับ port จะเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องใช้พลังและความขยันมากขึ้น เพราะการจะติดตามหุ้น 10-20 ตัวโดยจำเป็นต้องเจาะลึกและเข้าใจธุรกิจของมันทุกตัวนั้นเหนื่อยมาก.. ส่วนตัวผมก็อยากลงทุนเยอะๆตัวแบบนั้นเหมือนกัน แต่ความขยันและกรอบของธุรกิจที่ผมเข้าใจนั้นมันแคบ เลยทำได้เต็มที่แค่นี้ ...
ปี 2552 set เพิ่มขึ้น 63% port ของผมเพิ่มขึ้น 384% จากที่เคยแพ้ set ไปในปีที่แล้ว ผมสามารถพลิกจากขาดทุนเกินครึ่ง port ในปี 2551 มาเป็นกำไรได้ตั้งแต่ประมาณกลางๆปี 52 นับว่าเป็นปีทองของการลงทุนที่ผมสามารถทำผลตอบแทนได้สูงที่สุดตั้งแต่เคยทำมา
- ช่วงต้นปีๆ กลยุทธ์การลงทุนของผมคือเลือกหุ้นที่ปลอดภัยไว้ก่อนกำไรในปี 52 ไม่ควรต่ำกว่าปี 51 ถ้าต่ำก็ควรลดลงไม่มาก และมีปันผลเยอะๆ ผมคาดหวังผลตอบแทนในการลงทุนประมาณ 15-20% ทั้งปี ซึ่งในเวลานั้นการหาหุ้นที่มีปันผล 20% นี่เป็นเรื่องไม่ยากเลย สรุปว่าผมหวังว่าหุ้นที่ผมซื้อนั้นจะจ่ายปันผลให้ผมได้ประมาณ 15-20% และไม่ได้หวังกำไรจาก capital gain เลย... ช่วงนั้นความคาดหวังของนักลงทุนส่วนใหญ่ดูจะต่ำเอามากๆ ผมเองก็คนหนึ่ง
- ระหว่างที่ผมหาหุ้นที่เข้าข่ายเกณฑ์ข้างต้นไปเรื่อยๆ ผมก็ได้ไปดูหุ้นอสังหาเริ่มจาก lpn เพราะตอนนั้นหุ้น lpn มี Backlog ที่จะรับรู้ในปี 52 พอสมควร ซึ่งการจะทำกำไรใกล้เคียงกับปี 51 คงไม่ยากนัก ผมคาดหวัง lpn กำไร 0.80 และปันผล 0.40 ตอนนั้นหุ้นราคาประมาณ 2-2.2 คิดเป็นปันผลที่สูงมาก ผมก็ซื้อเข้า port ไว้แล้วก็ติดตามผลงานมันเรื่อยๆ เพราะหุ้นอสังหาเป็นกลุ่มที่ผมไม่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก
- พอติดตาม lpn ก็เลยอยากไปดูว่าคู่แข่งเค้าเป็นยังไงบ้าง เลยเจาะดูหุ้นกลุ่มนีไปเรื่อยๆ ก็ได้ไปดู ps spali ap lh qh siri ... ประมาณเดือน 4 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการประชุมผู้ถือหุ้นผมก็เข้าประชุมหุ้นเหล่านี้ แล้วก็ได้พบกับเรื่องเกินคาด คือ แม้ว่าในปี 51 นั้นสถาการณ์ดูแย่ไปหมด แต่ว่ายอดเข้าชมโครงการของบริษัทอสังหาส่วนใหญ่นั้นกลับไม่ลดลงเลย บางบริษัทเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แม้ว่าการขายจะยังไม่ได้ดีมากนักแต่ก็เห็น Sign ว่าน่าจะดีกว่าที่หลายๆคนคิดกัน.. ความมั่นใจในการถือหุ้นอสังหาผมก็เลยเพิ่มขึ้นและก็เก็บ ps เข้า port เพิ่มอีกตัว เพราะ ps ณ เวลานั้นเป็นตัวที่ยอดขายยังคงทำได้ดีมากและราคาหุ้นก็ลดลงมาต่ำมากเช่นกัน ประมาณ 4 บาท
- เวลาผ่านไปจบ Q2 ยอดขายของอสังหาหลายบริษัทฟื้นตัวขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าในช่วงเดือน 4 จะมีความรุนแรงของการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงอย่างมาก แต่ยอดขายยังคงดี ผมเลยเชื่อแล้วว่า คนส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อ แต่ขาดความมั่นใจเท่านั้นทำให้ที่ผ่านมาในช่วง Q4-50 และ Q1-51 มีการชะลอการซื้อเอาไว้สุดท้ายคนอั้นเอาไว้นานต้องการบ้านจริงๆก็คงอั้นเอาไว้ไม่ไหวก็เลยทยอยกันซื้อบ้านซื้อคอนโดกันเรื่อยๆ ระหว่างนี้ lpn และ ps ก็เพิ่มขึ้นมาอย่างมากจากจุดต่ำแถว 2 บาทและ 4 บาท มาเป็นประมาณ 5 บาทและ 8 บาท
- หุ้นอสังหา 2 ตัวต่อมาที่ผมเจอก็คือ spali .. ซึ่งก็ต้องขอบคุณพี่นักลงทุนท่านหนึ่งที่นั่งบรรยายบริษัทต่างๆในกลุ่มอสังหาให้ผมฟังเป็นชม. ขณะที่ไปเยี่ยมชมโรงงาน mcs ทำให้ผมกลับมาทำการบ้าน spali อย่างละเอียดขึ้น ก็มาพบว่า spali นั้นเป็นหุ้นอสังหาที่มีผลประกอบการเติบโตมาก gpm opm npm และ roe เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีสูงที่สุดในกลุ่ม ณ เวลานั้นหุ้นอสังหาตัวใหญ่ๆ อย่าง qh lh นั้นมี p/e 10 เท่าขึ้นไป .. ส่วน lpn ps ap ก็มี p/e ประมาณ 6-8 เท่า แต่ spali นั้นมี p/e อยู่ประมาณ 2 กว่าๆเท่านั้นเอง ดูจากผลงานในอดีตและความสามารถในการทำกำไร ผมเชื่อว่า spali นั้นไม่มีด้อยไปกว่าหุ้นอสังหา รายหลัก 5 ตัวเลย แต่ p/e นั้นต่ำกว่ามาก... ผมจึง switch มาซื้อ spali เป็นสัดส่วนที่เยอะของ port
- ผลประกอบการณ์ก็ทยอยออกมาเรื่อยๆ spali นั้นสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้ร่วมๆ 100% (ทั้งที่เงื่อนไขการลงทุนของผมนั้นขอแค่กำไรทรงๆตัวไม่ลดลงก็พอใจแล้ว) ราคาหุ้นจึงเพิ่มจากจุดต่ำสุดประมาณ 1.5 มาอยู่แถวๆ 6 บาท (ผมไม่ได้ซื้อตั้งแต่ 1.5 นะครับ มาซื้อเอาหนักก็ 3 บาทกว่าๆแล้ว) นอกจากนี้ Pre-sale ของกลุ่มก็ยังออกมาดีมากใน Q3 Q4 ด้วยสาเหตุว่า Demand ของบ้านคอนโดยังคงมีอยู่ แต่ว่า Supply ใหม่ๆนั้นออกมาน้อยมาก แบงค์ไม่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก เพราะฉะนั้น Supply ที่ออกมาจึงมีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ตลาดที่มีโครงการมาขาย ยอดขายจึงออกมาดีมาก
- นอกจากกลุ่มอสังหาที่ผมเล่นก็มีหุ้น irp อีกตัวที่ซื้อไว้ประมาณกลางๆปี ซึ่งผลงานก็ออกมาโตกว่าปีที่แล้วมาก และก็ยังมี Growth อีกมากที่จะเกิดขึ้นในปี 53 ยอดขายของบริษัทยังเป็นไปได้ดี ใช้กำลังการผลิตล้นตลอด ขยายมาเท่าไหร่ก็ขายหมด เพราะ Demand ของผลิตภัณฑ์นั้นไม่ลดลง (บริษัทขาย Pet resin ซึ่งเอาไปทำขวดน้ำ) ในขณะที่ Supply ลดลงเพราะบริษัทผู้ผลิตหลายรายนั้นมีปัญหาด้านสภาพคล่อง บวกกับการที่บริษัทเป็นผู้ผลิตที่ต้นทุนต่ำที่สุดในโลก กำไรจึงเติบโตขึ้นมาได้มาก และในภาวะที่เศรษฐกิจแย่ๆแบบนี้บริษัท irp ซึ่งมีผลประกอบการที่ดี สภาพคล่องเงินที่ดี จึงมีโอกาสซื้อโรงงานของคู่แข่งที่มีปัญหาในราคาถูก บริษัทจึงสามารถขยายกำลังการผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำลงไปอีก
จะเห็นว่า Theme หลักของการลงทุนปี 52 นี้มีจุดร่วมอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ Supply ลดลง Demand ยังคงที่ ทั้งหุ้นอสังหาและ irp ... ซึ่งพูดให้เป็นประโยคเท่ๆ (ลอก Peter Lynch) มาว่า "ซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดแย่) นั้นสามารถทำกำไรให้กับผมได้เป็นอย่างดี
...... สาเหตุที่ผมยกเอาบทสรุปของปี 51 มาเขียนรวมกับปี 52 ก็เพราะว่า สิ้นปี 51 ผลตอบแทนของผมแย่มาก ความมั่นใจเลยหายไประดับ แต่ผมยังคงเชื่อมั่นแนวทางการลงทุนแบบ VI ว่าน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว ผมจึงกะว่าจะรอให้ผลงานนั้นผ่านมาจนผมมั่นใจแบบเต็มที่ว่าการลงทุนแนว VI นี้จะยังคงเป็นทางเลือกที่ดีในทุกภาวะตลาด แม้อาจจะมีสะดุดบ้างแต่ผลตอบแทนระยะยาวนั้นยังดีเยี่ยมเหมือนเดิม.....
ผลตอบแทนทบต้น 7 ปีย้อนหลังของผมยังคงอยู่ที่ 80% แม้จะผ่านปีที่แย่ๆมาแล้ว ขอบคุณ กูรู VI ทุกท่านที่ทำให้ผมมีวันนี้ครับ
ปีนี้คนที่อยู่ในตลาดคงจำกันได้เป็นอย่างดีว่าเป็นปีที่หดหู่พอสมควร ช่วงต้นปีหุ้นดูเหมือนจะดี port ของผมเองก็พุ่งขึ้นทำ New High ใหม่... แต่ผ่านมาได้ซัก 4-5 เดือน หุ้นก็เริ่มไหลลงเป็นน้ำตก จาก 800 มา 700 มา 600 ณ เวลานั้นผมเองก็ซื้อหุ้นเพิ่มเข้าไปอีก เพราะเห็นว่าหุ้นตัวเองนั้นถูกลงในขณะที่ผลประกอบการณ์ทั้งที่ออกมาและที่คาดไว้ในอนาคตยังคงดีอยู่ แล้วหุ้นก็ไหลลงไปเรื่อยๆ จาก 600 500 400 จนถึง 300 ปลายๆ ... แหมช่วงนี้ใจหายกันหมด มูลค่า port ของผมก็ลดลงมาอย่างมากเช่นกัน หุ้นที่ถือๆอยู่ทยอยประกาศผลประกอบการออกมาเรื่อยๆ หลายๆตัวเป็นไปตามคาด หลายตัวดีกว่าที่คาด แต่หุ้นก็ยังลง
บทเรียนที่ผมได้เรียนรู้จากการลงทุนในปีนี้มีมากเหลือเกิน จะลองยกตัวอย่างเป็นข้อหลักมาให้ดูนะครับๆ อาจจะตกหล่นไปบ้าง เพราะมันก็ผ่านมานานแล้ว แต่ที่ผมไม่เขียนบทสรุปตั้งแต่ปีที่แล้วผมมีเหตุผลอยู่ ซึ่งเดี๋ยวจะเอาไปเล่าตอบจบบทความล่ะกัน
- ราคาหุ้นในระยะสั้นนั้นสามารถไร้เหตุผลได้สิ้นเชิง... จากที่เราเชื่อว่าหุ้นดี กำไรเพิ่ม ราคาถูกนั้น ราคาหุ้นควรจะเพิ่มขึ้น .. ซึ่งมันยังคงจริงในระยะยาว แต่ในระยะสั้นนั้นราคามันอยากจะวิ่งไปทางไหนก็ได้ .. หุ้นที่กำไรโตขึ้น 100% และมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มี p/e ต่ำเรี่ยเตี้ยดิน หลังประกาศกำไรออกมา หุ้นอาจจะลงไป 10-20% ก็ได้..
- คุณอาจจะได้เห็นหุ้นที่ราคาลดลง 30% ในวันเดียวได้ทั้งๆที่เป็นหุ้นที่แข็งแกร่งมาก อย่าง mint เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่คนอาจจะไม่รู้กันคือ บางคนมีการใช้ Margin เล่นหุ้น ซึ่งเมื่อหุ้นลดลงมาถึงจุดหนึ่ง Broker เค้าจะให้เอาเงินมาลงเพิ่ม เพราะหลักทรัพย์ค้ำประกัน (หุ้น) มีมูลค่าลดลง ถ้าเอาเงินมาลงเพิ่มไม่ได้ (ซึ่งก็เป็นส่วนใหญ่ เพราะถ้ามีเงินคงไม่ต้องมากู้เล่นหุ้นกันหรอก) เค้าก็จะบังคับขายหุ้น แล้วเมื่อถูกบังคับขายหุ้นแล้วไม่ค่อยมีคนซื้อ ก็จำเป็นต้องขายกดราคา ที่นี้ยิ่งขายลงมาหุ้นก็ยิ่งลดลง บังเอิญมีนักลงทุนอีกคนใช้หุ้นตัวเดียวกันเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เค้าก็โดนบังคับขายอีก.. พอแรงขายเพิ่มขึ้นอีกหุ้นมันก็ยิ่งลงได้อีก แม้ว่ามันจะลงมาเยอะแล้ว.. พอหุ้นลงมาคนที่ถืออยู่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เห็นหุ้นลงแรงๆก็ตกใจ ขายหุ้นตาม สุดท้ายแรงขายเพียบ แรงซื้อไม่มี ก็ไหลเป็นน้ำตกซิครับ... เพราะฉะนั้นในช่วงจังหวะตลาดขาลงแบบนี้การเห็นหุ้นลดลง 20-30% ทั้งที่ไม่มีข่าวอะไรเลยเป็นเรื่องปกติ และเป็นโอกาสในการลงทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนระยะยาวได้
- ช่วงนี้ข่าวร้ายจะออกมาเต็มไปหมด เหมือนกับเศรษฐกิจโลกจะพังพินาศ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะได้รู้ว่าสุดท้ายมันก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นหรอก
- มีนักลงทุน vi บางท่าน ไม่ได้ออกจากตลาดหุ้นเลย ถือหุ้นเต็ม port 100% แต่จบปียังสามารถรักษาผลตอบแทนเป็นบวกไว้ได้ ... ยอดเยี่ยมจริงๆครับ เข้าใจว่าในช่วงต้นปีนั้นทำผลตอบแทนตุนเอาไว้เยอะมาก และในช่วงที่หุ้นลดลงนั้น ก็ใช้วิธี Switch หุ้นตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่ลงเยอะ.. ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเรื่องการจัด port ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ (ผมก็ใช้นะ แต่ก็ยังเดี้ยงอยู่ดี 555) แต่จุดต่างคือผมถือหุ้นประมาณ 4-5 ตัว แล้ว 4-5 ตัวที่ว่านี่มันลดลงมาพอๆกันเกือบหมด ผมเลยมีโอกาส ปรับ port ไม่มากนัก บวกกับที่ผมใช้ Margin ด้วยมันเลยยิ่งทำให้ port ผมลดเร็วเป็นพิเศษ ในขณะที่พี่ท่านนั้นถือหุ้นอยู่ 10-20 ตัว หุ้นจำนวนมากขนาดนี้มันก็มีบางตัวขึ้นมาตัวลงสลับกันไปมา โอกาสในการปรับ port เลยเพิ่มขึ้น ... ซึ่งผมเชื่อว่าการลงทุนนั้น ถ้าเราสามารถกระจายการลงทุนหลายๆตัว ความเสียงก็จะลดลง ในขณะที่โอกาสในการปรับ port จะเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องใช้พลังและความขยันมากขึ้น เพราะการจะติดตามหุ้น 10-20 ตัวโดยจำเป็นต้องเจาะลึกและเข้าใจธุรกิจของมันทุกตัวนั้นเหนื่อยมาก.. ส่วนตัวผมก็อยากลงทุนเยอะๆตัวแบบนั้นเหมือนกัน แต่ความขยันและกรอบของธุรกิจที่ผมเข้าใจนั้นมันแคบ เลยทำได้เต็มที่แค่นี้ ...
ปี 2552 set เพิ่มขึ้น 63% port ของผมเพิ่มขึ้น 384% จากที่เคยแพ้ set ไปในปีที่แล้ว ผมสามารถพลิกจากขาดทุนเกินครึ่ง port ในปี 2551 มาเป็นกำไรได้ตั้งแต่ประมาณกลางๆปี 52 นับว่าเป็นปีทองของการลงทุนที่ผมสามารถทำผลตอบแทนได้สูงที่สุดตั้งแต่เคยทำมา
- ช่วงต้นปีๆ กลยุทธ์การลงทุนของผมคือเลือกหุ้นที่ปลอดภัยไว้ก่อนกำไรในปี 52 ไม่ควรต่ำกว่าปี 51 ถ้าต่ำก็ควรลดลงไม่มาก และมีปันผลเยอะๆ ผมคาดหวังผลตอบแทนในการลงทุนประมาณ 15-20% ทั้งปี ซึ่งในเวลานั้นการหาหุ้นที่มีปันผล 20% นี่เป็นเรื่องไม่ยากเลย สรุปว่าผมหวังว่าหุ้นที่ผมซื้อนั้นจะจ่ายปันผลให้ผมได้ประมาณ 15-20% และไม่ได้หวังกำไรจาก capital gain เลย... ช่วงนั้นความคาดหวังของนักลงทุนส่วนใหญ่ดูจะต่ำเอามากๆ ผมเองก็คนหนึ่ง
- ระหว่างที่ผมหาหุ้นที่เข้าข่ายเกณฑ์ข้างต้นไปเรื่อยๆ ผมก็ได้ไปดูหุ้นอสังหาเริ่มจาก lpn เพราะตอนนั้นหุ้น lpn มี Backlog ที่จะรับรู้ในปี 52 พอสมควร ซึ่งการจะทำกำไรใกล้เคียงกับปี 51 คงไม่ยากนัก ผมคาดหวัง lpn กำไร 0.80 และปันผล 0.40 ตอนนั้นหุ้นราคาประมาณ 2-2.2 คิดเป็นปันผลที่สูงมาก ผมก็ซื้อเข้า port ไว้แล้วก็ติดตามผลงานมันเรื่อยๆ เพราะหุ้นอสังหาเป็นกลุ่มที่ผมไม่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก
- พอติดตาม lpn ก็เลยอยากไปดูว่าคู่แข่งเค้าเป็นยังไงบ้าง เลยเจาะดูหุ้นกลุ่มนีไปเรื่อยๆ ก็ได้ไปดู ps spali ap lh qh siri ... ประมาณเดือน 4 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการประชุมผู้ถือหุ้นผมก็เข้าประชุมหุ้นเหล่านี้ แล้วก็ได้พบกับเรื่องเกินคาด คือ แม้ว่าในปี 51 นั้นสถาการณ์ดูแย่ไปหมด แต่ว่ายอดเข้าชมโครงการของบริษัทอสังหาส่วนใหญ่นั้นกลับไม่ลดลงเลย บางบริษัทเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แม้ว่าการขายจะยังไม่ได้ดีมากนักแต่ก็เห็น Sign ว่าน่าจะดีกว่าที่หลายๆคนคิดกัน.. ความมั่นใจในการถือหุ้นอสังหาผมก็เลยเพิ่มขึ้นและก็เก็บ ps เข้า port เพิ่มอีกตัว เพราะ ps ณ เวลานั้นเป็นตัวที่ยอดขายยังคงทำได้ดีมากและราคาหุ้นก็ลดลงมาต่ำมากเช่นกัน ประมาณ 4 บาท
- เวลาผ่านไปจบ Q2 ยอดขายของอสังหาหลายบริษัทฟื้นตัวขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าในช่วงเดือน 4 จะมีความรุนแรงของการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงอย่างมาก แต่ยอดขายยังคงดี ผมเลยเชื่อแล้วว่า คนส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อ แต่ขาดความมั่นใจเท่านั้นทำให้ที่ผ่านมาในช่วง Q4-50 และ Q1-51 มีการชะลอการซื้อเอาไว้สุดท้ายคนอั้นเอาไว้นานต้องการบ้านจริงๆก็คงอั้นเอาไว้ไม่ไหวก็เลยทยอยกันซื้อบ้านซื้อคอนโดกันเรื่อยๆ ระหว่างนี้ lpn และ ps ก็เพิ่มขึ้นมาอย่างมากจากจุดต่ำแถว 2 บาทและ 4 บาท มาเป็นประมาณ 5 บาทและ 8 บาท
- หุ้นอสังหา 2 ตัวต่อมาที่ผมเจอก็คือ spali .. ซึ่งก็ต้องขอบคุณพี่นักลงทุนท่านหนึ่งที่นั่งบรรยายบริษัทต่างๆในกลุ่มอสังหาให้ผมฟังเป็นชม. ขณะที่ไปเยี่ยมชมโรงงาน mcs ทำให้ผมกลับมาทำการบ้าน spali อย่างละเอียดขึ้น ก็มาพบว่า spali นั้นเป็นหุ้นอสังหาที่มีผลประกอบการเติบโตมาก gpm opm npm และ roe เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีสูงที่สุดในกลุ่ม ณ เวลานั้นหุ้นอสังหาตัวใหญ่ๆ อย่าง qh lh นั้นมี p/e 10 เท่าขึ้นไป .. ส่วน lpn ps ap ก็มี p/e ประมาณ 6-8 เท่า แต่ spali นั้นมี p/e อยู่ประมาณ 2 กว่าๆเท่านั้นเอง ดูจากผลงานในอดีตและความสามารถในการทำกำไร ผมเชื่อว่า spali นั้นไม่มีด้อยไปกว่าหุ้นอสังหา รายหลัก 5 ตัวเลย แต่ p/e นั้นต่ำกว่ามาก... ผมจึง switch มาซื้อ spali เป็นสัดส่วนที่เยอะของ port
- ผลประกอบการณ์ก็ทยอยออกมาเรื่อยๆ spali นั้นสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้ร่วมๆ 100% (ทั้งที่เงื่อนไขการลงทุนของผมนั้นขอแค่กำไรทรงๆตัวไม่ลดลงก็พอใจแล้ว) ราคาหุ้นจึงเพิ่มจากจุดต่ำสุดประมาณ 1.5 มาอยู่แถวๆ 6 บาท (ผมไม่ได้ซื้อตั้งแต่ 1.5 นะครับ มาซื้อเอาหนักก็ 3 บาทกว่าๆแล้ว) นอกจากนี้ Pre-sale ของกลุ่มก็ยังออกมาดีมากใน Q3 Q4 ด้วยสาเหตุว่า Demand ของบ้านคอนโดยังคงมีอยู่ แต่ว่า Supply ใหม่ๆนั้นออกมาน้อยมาก แบงค์ไม่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก เพราะฉะนั้น Supply ที่ออกมาจึงมีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ตลาดที่มีโครงการมาขาย ยอดขายจึงออกมาดีมาก
- นอกจากกลุ่มอสังหาที่ผมเล่นก็มีหุ้น irp อีกตัวที่ซื้อไว้ประมาณกลางๆปี ซึ่งผลงานก็ออกมาโตกว่าปีที่แล้วมาก และก็ยังมี Growth อีกมากที่จะเกิดขึ้นในปี 53 ยอดขายของบริษัทยังเป็นไปได้ดี ใช้กำลังการผลิตล้นตลอด ขยายมาเท่าไหร่ก็ขายหมด เพราะ Demand ของผลิตภัณฑ์นั้นไม่ลดลง (บริษัทขาย Pet resin ซึ่งเอาไปทำขวดน้ำ) ในขณะที่ Supply ลดลงเพราะบริษัทผู้ผลิตหลายรายนั้นมีปัญหาด้านสภาพคล่อง บวกกับการที่บริษัทเป็นผู้ผลิตที่ต้นทุนต่ำที่สุดในโลก กำไรจึงเติบโตขึ้นมาได้มาก และในภาวะที่เศรษฐกิจแย่ๆแบบนี้บริษัท irp ซึ่งมีผลประกอบการที่ดี สภาพคล่องเงินที่ดี จึงมีโอกาสซื้อโรงงานของคู่แข่งที่มีปัญหาในราคาถูก บริษัทจึงสามารถขยายกำลังการผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำลงไปอีก
จะเห็นว่า Theme หลักของการลงทุนปี 52 นี้มีจุดร่วมอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ Supply ลดลง Demand ยังคงที่ ทั้งหุ้นอสังหาและ irp ... ซึ่งพูดให้เป็นประโยคเท่ๆ (ลอก Peter Lynch) มาว่า "ซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดแย่) นั้นสามารถทำกำไรให้กับผมได้เป็นอย่างดี
...... สาเหตุที่ผมยกเอาบทสรุปของปี 51 มาเขียนรวมกับปี 52 ก็เพราะว่า สิ้นปี 51 ผลตอบแทนของผมแย่มาก ความมั่นใจเลยหายไประดับ แต่ผมยังคงเชื่อมั่นแนวทางการลงทุนแบบ VI ว่าน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว ผมจึงกะว่าจะรอให้ผลงานนั้นผ่านมาจนผมมั่นใจแบบเต็มที่ว่าการลงทุนแนว VI นี้จะยังคงเป็นทางเลือกที่ดีในทุกภาวะตลาด แม้อาจจะมีสะดุดบ้างแต่ผลตอบแทนระยะยาวนั้นยังดีเยี่ยมเหมือนเดิม.....
ผลตอบแทนทบต้น 7 ปีย้อนหลังของผมยังคงอยู่ที่ 80% แม้จะผ่านปีที่แย่ๆมาแล้ว ขอบคุณ กูรู VI ทุกท่านที่ทำให้ผมมีวันนี้ครับ
SATURDAY, JANUARY 16, 2010
ถามเรื่อง Margin อีกแล้วครับท่าน
สวัสดีครับ คุณyoyo
ผมติดตามอ่านบล็อกของพี่นะครับ เรื่องมาร์จิ้น ผมมีคำถามเพิ่มเติม คุณโยโย่ ใช้มาร์จิ้นในการลงทุนกับหุ้นตัวหนึ่ง ระยะเวลาที่ใช้นานแค่ไหนครับ
บัญชีมาร์จิ้นที่มี Internet trading ใช้โบรคไหนดีครับ
ขอบคุณมากครับ
+ ทำไมหลังๆมานี้คนถามผมเรื่อง Margin กันเยอะจังท่าทางนี่จะเป็น Indicator ตัวหนึ่งที่สะท้อนถึงความร้อนแรงของตลาดเหมือนกันนะเนี่ย .. ไม่ว่าใครมาปรึกษาผม ผมก็จะแนะนำไปว่าไม่ควรเล่น Margin หรอกครับ ถ้าประสบการณ์ในการลงทุนยังต่ำไป (ต่ำในที่นี้คือต่ำกว่า 5 ปีและยังไม่เคยผ่านวิกฤต) ผมเองเกือบหมดตัวเพราะ Margin เหมือนกันนะครับ พอดีว่าตัดใจได้ เลยขายหุ้นช่วงขาลงเพื่อลดหนี้ .. เกือบเอาตัวไม่รอด
ความเสี่ยงของ Margin มันมีมากกว่าที่คนทั่วไปรู้กันอยู่เยอะมาก เช่น- สภาพคล่องของหุ้นในช่วงขาลงนั้นมันแย่มากๆ ทำให้เราขายหุ้นยาก แต่จะไม่ขายก็ลำบากเพราะหุ้นมันลงเรื่อยๆ ไม่ขายก่อน ก็อาจจะโดนโบรกบังคับขายได้ แต่พอจะขายจริงๆก็ทำใจลำบาก เพราะหุ้นไม่มีคนซื้อ ยิ่งเราขายเท่าไหร่หุ้นมันก็ยิ่งลงหนักเท่านั้น ยิ่งหุ้นลงโบรกก็จะยิ่งบังคับขายต่อไปเรื่อยๆ... แล้วระหว่างที่เราขายๆอยู่ทำให้หุ้นลงเยอะ บางทีมันจะไปทำให้คนอื่นที่ใช้ Margin ในหุ้นที่เราเล่นนั้นโดนบังคับขายอีก หุ้นมันก็ยิ่งลงหนัก ยิ่งลงเราก็ต้องยิ่งขายอีก.... เป็นวงเวียนที่อันตรายมากๆ เพราะมันขัดกับหลังการ vi อย่างยิ่ง เพราะ vi นี่ถ้าหุ้นลงแล้วพื้นฐานไม่เปลี่ยนเราต้องซื้อเพิ่ม แต่นี้เราต้องทำกลับกัน หุ้นยิ่งลงก็ต้องยิ่งขาย เละครับเละ- หุ้นที่เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน บางทีโบรกเค้าก็ถอดออกได้ดื้อๆนะครับ ถ้าเราถือหุ้นตัวนั้นเป็นจำนวนเยอะของ port ... พอเค้าเอาออก จากที่เรามีมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่สูงๆ ก็อาจจะลดลงจะโดน Force sell ได้อีก ... ผมยังไม่เคยโดน เพราะหุ้นที่เค้าเอาออกนั้นผมถืออยู่ไม่เยอะเท่าไหร่ แต่มีเพือนผมโดนกัน.. บ่นกันยิกเลย
- บางทีหุ้นดีๆ ราคาถูก ราคาก็ไหลลงได้โดนไม่ต้องมีเหตุผล ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับ port เรามากเหมือนกัน
- เวลาให้ Margin แล้วได้กำไรความโลภมันจะครอบงำ จากที่เราเคยตั้งใจว่าจะใช้จำนวนไม่เยอะ เราก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ แล้วใช้เยอะขึ้นเรื่อยๆ จนความเสี่ยงสูงขึ้นๆ สุดท้ายก็อาจจะซวยได้เมื่อหุ้นลง.. ผมมีเพื่อนเหมือนกัน บอกว่าตั้งใจจะใช้แค่นิดเดียวไม่เกิน 10-15% .... ไม่ทันไรก็ใช้ 20 30 40% ด้วยความโลภมันครอบงำ
- การใช้ Margin นี่เป็นการขยายโอกาสขาขึ้น ในขณะเดียวกันก็ขยายโอกาสขาลงเช่นกัน คนจะเริ่มใช้ Margin มักจะมองในมุมกำไรอย่างเดียว และส่วนใหญ่มักจะใช้หลังจากมีความมั่นใจในการลงทุนพอสมควร (หลังจากกำไรมาพอสมควร) ซึ่งในขณะที่คนส่วนใหญ่มีความมั่นใจ หุ้นก็มักจะขึ้นมาพอสมควรแล้ว สุดท้ายเค้าก็จะใช้ Margin ในช่วงที่หุ้นนั้นเริ่มมีราคาแพงขึ้นๆ ความเสียงก็เพิ่มขึ้นๆ แบบนี้เจ๊งง่ายครับไม่แนะนำ... แต่ถ้าเกิดใครมาถามผมเรื่อง Margin ในช่วงต้นปี 52 นี่ก็อีกเรื่องนึง ตอนนั้นมีแต่คนกลัว ราคาหุ้นก็ต่ำ หุ้นถูกเพียบ.. ผมว่าแบบนั้นมากกว่าที่เหมาะในการใช้ Margin ... ในภาวะแบบนี้ที่หาหุ้นราคาถูกๆแบบปีที่แล้วยากขึ้น ผมก็ลด Margin มาพอสมควรแล้ว คาดว่าอีกไม่นานนี้ Margin ผมก็จะหมดแล้วเหลือเงินสดนิดหน่อยด้วยซ้ำ รอจังหวะให้หาหุ้นถูกๆได้ก่อนแล้วค่อยมาพิจารณาใช้ใหม่
ผมขู่มาซะยาว ยังอยากรู้อีกรึเปล่าครับว่าเปิด Margin ที่โบรกไหนดี
ผมติดตามอ่านบล็อกของพี่นะครับ เรื่องมาร์จิ้น ผมมีคำถามเพิ่มเติม คุณโยโย่ ใช้มาร์จิ้นในการลงทุนกับหุ้นตัวหนึ่ง ระยะเวลาที่ใช้นานแค่ไหนครับ
บัญชีมาร์จิ้นที่มี Internet trading ใช้โบรคไหนดีครับ
ขอบคุณมากครับ
+ ทำไมหลังๆมานี้คนถามผมเรื่อง Margin กันเยอะจังท่าทางนี่จะเป็น Indicator ตัวหนึ่งที่สะท้อนถึงความร้อนแรงของตลาดเหมือนกันนะเนี่ย .. ไม่ว่าใครมาปรึกษาผม ผมก็จะแนะนำไปว่าไม่ควรเล่น Margin หรอกครับ ถ้าประสบการณ์ในการลงทุนยังต่ำไป (ต่ำในที่นี้คือต่ำกว่า 5 ปีและยังไม่เคยผ่านวิกฤต) ผมเองเกือบหมดตัวเพราะ Margin เหมือนกันนะครับ พอดีว่าตัดใจได้ เลยขายหุ้นช่วงขาลงเพื่อลดหนี้ .. เกือบเอาตัวไม่รอด
ความเสี่ยงของ Margin มันมีมากกว่าที่คนทั่วไปรู้กันอยู่เยอะมาก เช่น- สภาพคล่องของหุ้นในช่วงขาลงนั้นมันแย่มากๆ ทำให้เราขายหุ้นยาก แต่จะไม่ขายก็ลำบากเพราะหุ้นมันลงเรื่อยๆ ไม่ขายก่อน ก็อาจจะโดนโบรกบังคับขายได้ แต่พอจะขายจริงๆก็ทำใจลำบาก เพราะหุ้นไม่มีคนซื้อ ยิ่งเราขายเท่าไหร่หุ้นมันก็ยิ่งลงหนักเท่านั้น ยิ่งหุ้นลงโบรกก็จะยิ่งบังคับขายต่อไปเรื่อยๆ... แล้วระหว่างที่เราขายๆอยู่ทำให้หุ้นลงเยอะ บางทีมันจะไปทำให้คนอื่นที่ใช้ Margin ในหุ้นที่เราเล่นนั้นโดนบังคับขายอีก หุ้นมันก็ยิ่งลงหนัก ยิ่งลงเราก็ต้องยิ่งขายอีก.... เป็นวงเวียนที่อันตรายมากๆ เพราะมันขัดกับหลังการ vi อย่างยิ่ง เพราะ vi นี่ถ้าหุ้นลงแล้วพื้นฐานไม่เปลี่ยนเราต้องซื้อเพิ่ม แต่นี้เราต้องทำกลับกัน หุ้นยิ่งลงก็ต้องยิ่งขาย เละครับเละ- หุ้นที่เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน บางทีโบรกเค้าก็ถอดออกได้ดื้อๆนะครับ ถ้าเราถือหุ้นตัวนั้นเป็นจำนวนเยอะของ port ... พอเค้าเอาออก จากที่เรามีมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่สูงๆ ก็อาจจะลดลงจะโดน Force sell ได้อีก ... ผมยังไม่เคยโดน เพราะหุ้นที่เค้าเอาออกนั้นผมถืออยู่ไม่เยอะเท่าไหร่ แต่มีเพือนผมโดนกัน.. บ่นกันยิกเลย
- บางทีหุ้นดีๆ ราคาถูก ราคาก็ไหลลงได้โดนไม่ต้องมีเหตุผล ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับ port เรามากเหมือนกัน
- เวลาให้ Margin แล้วได้กำไรความโลภมันจะครอบงำ จากที่เราเคยตั้งใจว่าจะใช้จำนวนไม่เยอะ เราก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ แล้วใช้เยอะขึ้นเรื่อยๆ จนความเสี่ยงสูงขึ้นๆ สุดท้ายก็อาจจะซวยได้เมื่อหุ้นลง.. ผมมีเพื่อนเหมือนกัน บอกว่าตั้งใจจะใช้แค่นิดเดียวไม่เกิน 10-15% .... ไม่ทันไรก็ใช้ 20 30 40% ด้วยความโลภมันครอบงำ
- การใช้ Margin นี่เป็นการขยายโอกาสขาขึ้น ในขณะเดียวกันก็ขยายโอกาสขาลงเช่นกัน คนจะเริ่มใช้ Margin มักจะมองในมุมกำไรอย่างเดียว และส่วนใหญ่มักจะใช้หลังจากมีความมั่นใจในการลงทุนพอสมควร (หลังจากกำไรมาพอสมควร) ซึ่งในขณะที่คนส่วนใหญ่มีความมั่นใจ หุ้นก็มักจะขึ้นมาพอสมควรแล้ว สุดท้ายเค้าก็จะใช้ Margin ในช่วงที่หุ้นนั้นเริ่มมีราคาแพงขึ้นๆ ความเสียงก็เพิ่มขึ้นๆ แบบนี้เจ๊งง่ายครับไม่แนะนำ... แต่ถ้าเกิดใครมาถามผมเรื่อง Margin ในช่วงต้นปี 52 นี่ก็อีกเรื่องนึง ตอนนั้นมีแต่คนกลัว ราคาหุ้นก็ต่ำ หุ้นถูกเพียบ.. ผมว่าแบบนั้นมากกว่าที่เหมาะในการใช้ Margin ... ในภาวะแบบนี้ที่หาหุ้นราคาถูกๆแบบปีที่แล้วยากขึ้น ผมก็ลด Margin มาพอสมควรแล้ว คาดว่าอีกไม่นานนี้ Margin ผมก็จะหมดแล้วเหลือเงินสดนิดหน่อยด้วยซ้ำ รอจังหวะให้หาหุ้นถูกๆได้ก่อนแล้วค่อยมาพิจารณาใช้ใหม่
ผมขู่มาซะยาว ยังอยากรู้อีกรึเปล่าครับว่าเปิด Margin ที่โบรกไหนดี
FRIDAY, JANUARY 15, 2010
ถามตอบ
มีคนเขียนเข้ามาถามหลังไมค์ครับตอบไปซะยาวเลย
------------
รบกวนถามอีกเรื่องครับคุณyoyo
เรื่องMarginครับ
1.คุณyoyoใช้มาร์จิ้นไหมครับ ถ้าใช้ใช้จังหวะไหน? และปริมาณเท่าไหร่ครับ?
+ ก็ใช้อยู่เรื่อยๆครับ เยอะน้อยตามความถูกแพงของหุ้นที่เราถือ ยิ่งถูกและมั่นใจก็ใช้เยอะหน่อย ถ้าไม่ถูกแล้วก็ไม่ใช้ เวลาที่หาหุ้นไม่ได้ผมก็ใช้ Margin ซื้อพวกกองทุนอสังหา ที่ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นเยอะ แต่คุณเพิ่งเริ่มไม่นาน ผมว่าไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วยดีที่สุดครับ อันตรายมากๆ หลายๆคนที่ไม่เคยลองอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีอันตรายที่หลายแห่งที่ยังนึกไม่ถึง ต้องเจอกับตัวถึงจะจำ ผมเกือบหมดตัวก็เพราะ Margin นี่แหละ
2.โดยภาพรวมแล้วคุณyoyoถือหุ้นในพอร์ทกี่%ของเงินลงทุนครับ และช่วงปลายปี2551 มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นไหมครับ
+ ตั้งแต่เล่นมาก็ถืออย่างต่ำกว่า 100% ตลอดครับ (ใช้ Margin ก็เกิน 100%) ไม่ใช่ว่าผมมีกฎว่าจะต้องถือหุ้นตลอดหรอกนะครับ เพียงแต่ว่าผมยังหาหุ้นราคาถูกเล่นได้อยู่ ถ้าช่วงไหนหาหุ้นดีๆ ถูกๆ เล่นไม่ได้ก็คงต้องมีถือเงินสดบ้างเหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่เคยเจอกรณีแบบนั้นเท่านั้นเอง ปลายปี 51 ก็ถือหุ้น 100% เหมือนเดิม ส่วน Margin ก็ซื้อกองุทนอสังหา
สำหรับผมชอบถือ100%ครับ แต่ผมต้องระวังกรณีปี2551ให้พิเศษหรือปล่าวครับ
+ จะถือเท่าไหร่อยู่ที่ความถูกความแพงของหุ้น และความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆของเราครับ ที่บอกว่าต้องระวังแบบปี 51 นั้นผมว่ายากครับ ไม่มีใครรู้หรอกครับว่ามันจะเกินแบบนั้นเมื่อไหร่ จริงๆสัญญาณแย่ๆของวิกฤตครั้งนั้นมันบอกมาตั้งแต่ปี 49 แล้วครับ ถ้าเกิดคุณระวังตัวตั้งแต่ปี 49 แล้วถือเงินสด 100% คุณก็จะเห็นหุ้นคนอื่นเค้าขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่ตัวเองไม่ได้อะไร พอมาปี 50 อีกก็ปัญหาก็เริ่มชัดขึ้นอีก คุณอาจจจะยังถือเงินสดอยู่ และคิดว่าพวกที่ยังเล่นหุ้นกันอยู่ที่โง่จริงๆ แต่แล้วปี 50 หุ้นก็ไม่ลง พอมาต้นปี 51 หุ้นก็ยังคงไม่ลงต่อไป ธุรกิจก็พากันปิดตัวมากขึ้น คนอื่นเค้าทำกำไรกันไปเยอะแล้ว แต่หุ้นยังไม่ได้ไปไหน ตอนนี้คุณเสียความมั่นใจแล้ว และอาจจะคิดว่าวิกฤตมันอาจจะไม่เกิดก็ได้ คุณแค่วิตกเกินเหตุไปเอง แล้วคุณก็จะเข้ามาลงทุนในช่วงต้นปี 51 ผลลัพธ์ก็คงเห็นได้ชัด ปี 49 - 50 คุณไม่ได้อะไรเลย ในขณะที่ปี 51 คุณขาดทุนยับ แต่เมื่อเทียบกับพวกที่ Stay invest ในตลาดมาตลอด 49-51 เค้าอาจจะขาดทุนในปี 51 เยอะก็จริง แต่ปี 49-50 ก็ทำกำไรให้เค้าได้ระดับหนึ่งซึ่งช่วยบรรเทาผลของการขาดทุนได้พอสมควร .... กฏเหล็กของผมคือ อย่าไปเดาตลาด เดาไปก็ไม่ค่อยถูกหรอกครับ ถ้าหุ้นถูกก็ถือ ธุรกิจยังแข็งแกร่งเหมือนตอนที่เราซื้อแต่แรกไม่เปลี่ยนแปลงก็ถือต่อไป เท่านั้นเอง
ตอนนี้ขอสารภาพตรงๆว่าผมถือหุ้น 200%ครับ ใช้ทุน100%+มาร์จิ้น100
คุณyoyoคิดว่าเสี่ยงมากไหมครับ แต่ผมก็ลลดความเสี่ยงโดยการตั้งกฏว่า
+ ผมวิจารณ์ตรงๆเลยนะครับ คุณเสี่ยงเกินตัวไปมากๆครับ หลักการลงทุนของคุณยังไม่แน่นเลยด้วยซ้ำ ขนาดผมเองที่คิดว่าตัวเองแน่แล้ว ผมยังไม่เคยใช้ Margin สูงขนาดนั้นเลย ถ้าผมมีทุน 100 ผมจะกู้สูงสุดแค่ 50 เท่านั้น และจะใช้สูงขนาดนี้เฉพาะกรณีที่หุ้นราคาถูกมากๆเท่านั้น
1.ไม่ซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเกิน25%ของพอร์ท
+ ก็อาจจะช่วยได้บ้าง ถ้า port ยังไม่ใหญ่ แต่ 25% ของ port มันก็คือ 50% ของ equity ผมว่าก็ยังเสี่ยงไปอยู่ดี นอกจากว่าคุณจะเข้าใจธุรกิจของหุ้นนั้นๆจริงๆ และหุ้นตัวนั้นต้องถูกมากๆ ถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็นเกินครึ่ง
2.ในพอร์ต้องมีหุ้นไม่ต่ำกว่า10ตัว
+ การถือหุ้นเยอะ แต่ช่วยให้โอกาสเจ๊งหนักๆลดลง แต่ถ้าคุณไม่เข้าใจในหุ้นทั้ง 10 ตัวนั้นดีพอ การถือหุ้นแต่ 5 ตัว แล้วเข้าใจธุรกิจนั้นลึกๆ ยังเสี่ยงน้อยกว่า
3.ไม่ถือหุ้นในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิน25%
+ เหตุผลเหมือนข้อ 2 และ 1 ครับ ความเข้าใจสำคัญกว่าสัดส่วน
4.ในพอร์ทจะต้องมีหุ้นกลุ่มที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักรคือแม้นศก.จะร่วงกำไรก็ไม่ลด อยู๋ไม่ต่ำกว่า25%
+ อันนี้พอได้
ช่วยวิจารณ์หน่อยนะครับ ขอบคุณมากๆครับ......
ปล.อันนี้คือหุ้นในพอร์ทผมเผื่อคุณyoyoสนใจอยากเห็นนะครับ
แบ่งสัดส่วนตามหุ้น
17.4% TTA
12.5% SCNYL
8.9% STANLY
9.3% TRUE
8.5% TICON
7.4% BLA
4.6% SGP
5.3% ADVANC
4.1% CCET
4.1% CCET-w2
3.6% MAJOR
3.6% SPALI
2.7% SIRI
1.4% TCAP
1.4% PRO
2.0% PSL
1.8% RATCH
1.3% UMS-W1
แบ่งสัดส่วนตามกลุ่ม
19.4% ขนส่ง
14.5% สื่อสาร
14.8% อสังหา
8.9% รถยนต์
19.9% ประกัน
6.4% พลังงาน
8.3% อิเล็กฯ
3.6% บริการ-บันเทิง
1.4% การเงิน-ธนาคาร
1.4% บริการ-เฉพาะ
1.3% mai
+ ผมว่ากระจายเป็นเบี้ยหัวแตกไปมากๆเลยครับ โอกาสที่เราจะเข้าใจธุรกิจใดลึกๆนั้นยากมาก เวลาผมลงทุนนั้น ถ้าผมยังไม่สามารถประมาณกำไรหุ้นนั้นๆไปล่วงหน้าอย่างต่ำ 1-2 ปี และไม่สามารถกำหนดราคาเหมาะสมของหุ้นได้ ผมก็จะไม่ลงทุน เพราะฉะนั้นผมเลยเล่นหุ้นได้อยู่ไม่กี่ตัวเท่านั้น เพราะผมเดากำไรล่วงหน้า 1-2 ปีได้ไม่กี่ตัวเท่านั้น ถ้าคุณเซียนแบบพี่ลูกอีสานที่ถือหุ้น 20 ตัวแล้วยังคาดการณ์อนาคตธุรกิจได้ครบทั้งหมด ผมว่าก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร .. แต่จะหาคนที่เซียนแบบพี่ลูกอีสานได้นั้น ผมยังไม่เคยเจอเลยจริงๆ
-----------------
------------
รบกวนถามอีกเรื่องครับคุณyoyo
เรื่องMarginครับ
1.คุณyoyoใช้มาร์จิ้นไหมครับ ถ้าใช้ใช้จังหวะไหน? และปริมาณเท่าไหร่ครับ?
+ ก็ใช้อยู่เรื่อยๆครับ เยอะน้อยตามความถูกแพงของหุ้นที่เราถือ ยิ่งถูกและมั่นใจก็ใช้เยอะหน่อย ถ้าไม่ถูกแล้วก็ไม่ใช้ เวลาที่หาหุ้นไม่ได้ผมก็ใช้ Margin ซื้อพวกกองทุนอสังหา ที่ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นเยอะ แต่คุณเพิ่งเริ่มไม่นาน ผมว่าไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วยดีที่สุดครับ อันตรายมากๆ หลายๆคนที่ไม่เคยลองอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีอันตรายที่หลายแห่งที่ยังนึกไม่ถึง ต้องเจอกับตัวถึงจะจำ ผมเกือบหมดตัวก็เพราะ Margin นี่แหละ
2.โดยภาพรวมแล้วคุณyoyoถือหุ้นในพอร์ทกี่%ของเงินลงทุนครับ และช่วงปลายปี2551 มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นไหมครับ
+ ตั้งแต่เล่นมาก็ถืออย่างต่ำกว่า 100% ตลอดครับ (ใช้ Margin ก็เกิน 100%) ไม่ใช่ว่าผมมีกฎว่าจะต้องถือหุ้นตลอดหรอกนะครับ เพียงแต่ว่าผมยังหาหุ้นราคาถูกเล่นได้อยู่ ถ้าช่วงไหนหาหุ้นดีๆ ถูกๆ เล่นไม่ได้ก็คงต้องมีถือเงินสดบ้างเหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่เคยเจอกรณีแบบนั้นเท่านั้นเอง ปลายปี 51 ก็ถือหุ้น 100% เหมือนเดิม ส่วน Margin ก็ซื้อกองุทนอสังหา
สำหรับผมชอบถือ100%ครับ แต่ผมต้องระวังกรณีปี2551ให้พิเศษหรือปล่าวครับ
+ จะถือเท่าไหร่อยู่ที่ความถูกความแพงของหุ้น และความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆของเราครับ ที่บอกว่าต้องระวังแบบปี 51 นั้นผมว่ายากครับ ไม่มีใครรู้หรอกครับว่ามันจะเกินแบบนั้นเมื่อไหร่ จริงๆสัญญาณแย่ๆของวิกฤตครั้งนั้นมันบอกมาตั้งแต่ปี 49 แล้วครับ ถ้าเกิดคุณระวังตัวตั้งแต่ปี 49 แล้วถือเงินสด 100% คุณก็จะเห็นหุ้นคนอื่นเค้าขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่ตัวเองไม่ได้อะไร พอมาปี 50 อีกก็ปัญหาก็เริ่มชัดขึ้นอีก คุณอาจจจะยังถือเงินสดอยู่ และคิดว่าพวกที่ยังเล่นหุ้นกันอยู่ที่โง่จริงๆ แต่แล้วปี 50 หุ้นก็ไม่ลง พอมาต้นปี 51 หุ้นก็ยังคงไม่ลงต่อไป ธุรกิจก็พากันปิดตัวมากขึ้น คนอื่นเค้าทำกำไรกันไปเยอะแล้ว แต่หุ้นยังไม่ได้ไปไหน ตอนนี้คุณเสียความมั่นใจแล้ว และอาจจะคิดว่าวิกฤตมันอาจจะไม่เกิดก็ได้ คุณแค่วิตกเกินเหตุไปเอง แล้วคุณก็จะเข้ามาลงทุนในช่วงต้นปี 51 ผลลัพธ์ก็คงเห็นได้ชัด ปี 49 - 50 คุณไม่ได้อะไรเลย ในขณะที่ปี 51 คุณขาดทุนยับ แต่เมื่อเทียบกับพวกที่ Stay invest ในตลาดมาตลอด 49-51 เค้าอาจจะขาดทุนในปี 51 เยอะก็จริง แต่ปี 49-50 ก็ทำกำไรให้เค้าได้ระดับหนึ่งซึ่งช่วยบรรเทาผลของการขาดทุนได้พอสมควร .... กฏเหล็กของผมคือ อย่าไปเดาตลาด เดาไปก็ไม่ค่อยถูกหรอกครับ ถ้าหุ้นถูกก็ถือ ธุรกิจยังแข็งแกร่งเหมือนตอนที่เราซื้อแต่แรกไม่เปลี่ยนแปลงก็ถือต่อไป เท่านั้นเอง
ตอนนี้ขอสารภาพตรงๆว่าผมถือหุ้น 200%ครับ ใช้ทุน100%+มาร์จิ้น100
คุณyoyoคิดว่าเสี่ยงมากไหมครับ แต่ผมก็ลลดความเสี่ยงโดยการตั้งกฏว่า
+ ผมวิจารณ์ตรงๆเลยนะครับ คุณเสี่ยงเกินตัวไปมากๆครับ หลักการลงทุนของคุณยังไม่แน่นเลยด้วยซ้ำ ขนาดผมเองที่คิดว่าตัวเองแน่แล้ว ผมยังไม่เคยใช้ Margin สูงขนาดนั้นเลย ถ้าผมมีทุน 100 ผมจะกู้สูงสุดแค่ 50 เท่านั้น และจะใช้สูงขนาดนี้เฉพาะกรณีที่หุ้นราคาถูกมากๆเท่านั้น
1.ไม่ซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเกิน25%ของพอร์ท
+ ก็อาจจะช่วยได้บ้าง ถ้า port ยังไม่ใหญ่ แต่ 25% ของ port มันก็คือ 50% ของ equity ผมว่าก็ยังเสี่ยงไปอยู่ดี นอกจากว่าคุณจะเข้าใจธุรกิจของหุ้นนั้นๆจริงๆ และหุ้นตัวนั้นต้องถูกมากๆ ถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็นเกินครึ่ง
2.ในพอร์ต้องมีหุ้นไม่ต่ำกว่า10ตัว
+ การถือหุ้นเยอะ แต่ช่วยให้โอกาสเจ๊งหนักๆลดลง แต่ถ้าคุณไม่เข้าใจในหุ้นทั้ง 10 ตัวนั้นดีพอ การถือหุ้นแต่ 5 ตัว แล้วเข้าใจธุรกิจนั้นลึกๆ ยังเสี่ยงน้อยกว่า
3.ไม่ถือหุ้นในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิน25%
+ เหตุผลเหมือนข้อ 2 และ 1 ครับ ความเข้าใจสำคัญกว่าสัดส่วน
4.ในพอร์ทจะต้องมีหุ้นกลุ่มที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักรคือแม้นศก.จะร่วงกำไรก็ไม่ลด อยู๋ไม่ต่ำกว่า25%
+ อันนี้พอได้
ช่วยวิจารณ์หน่อยนะครับ ขอบคุณมากๆครับ......
ปล.อันนี้คือหุ้นในพอร์ทผมเผื่อคุณyoyoสนใจอยากเห็นนะครับ
แบ่งสัดส่วนตามหุ้น
17.4% TTA
12.5% SCNYL
8.9% STANLY
9.3% TRUE
8.5% TICON
7.4% BLA
4.6% SGP
5.3% ADVANC
4.1% CCET
4.1% CCET-w2
3.6% MAJOR
3.6% SPALI
2.7% SIRI
1.4% TCAP
1.4% PRO
2.0% PSL
1.8% RATCH
1.3% UMS-W1
แบ่งสัดส่วนตามกลุ่ม
19.4% ขนส่ง
14.5% สื่อสาร
14.8% อสังหา
8.9% รถยนต์
19.9% ประกัน
6.4% พลังงาน
8.3% อิเล็กฯ
3.6% บริการ-บันเทิง
1.4% การเงิน-ธนาคาร
1.4% บริการ-เฉพาะ
1.3% mai
+ ผมว่ากระจายเป็นเบี้ยหัวแตกไปมากๆเลยครับ โอกาสที่เราจะเข้าใจธุรกิจใดลึกๆนั้นยากมาก เวลาผมลงทุนนั้น ถ้าผมยังไม่สามารถประมาณกำไรหุ้นนั้นๆไปล่วงหน้าอย่างต่ำ 1-2 ปี และไม่สามารถกำหนดราคาเหมาะสมของหุ้นได้ ผมก็จะไม่ลงทุน เพราะฉะนั้นผมเลยเล่นหุ้นได้อยู่ไม่กี่ตัวเท่านั้น เพราะผมเดากำไรล่วงหน้า 1-2 ปีได้ไม่กี่ตัวเท่านั้น ถ้าคุณเซียนแบบพี่ลูกอีสานที่ถือหุ้น 20 ตัวแล้วยังคาดการณ์อนาคตธุรกิจได้ครบทั้งหมด ผมว่าก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร .. แต่จะหาคนที่เซียนแบบพี่ลูกอีสานได้นั้น ผมยังไม่เคยเจอเลยจริงๆ
-----------------
TUESDAY, SEPTEMBER 29, 2009
ใครว่า VI ไม่มีจังหวะซื้อขาย
ผมเคยเข้าใจว่าการวิเคราะห์พื้นฐานนั้นช่วยในการเลือกหุ้น ส่วนการวิเคราะห์เทคนิคนั้นเอาไว้ช่วยดูจังหวะซื้อขาย และผมก็เชื่อว่าหลายๆคนคงมีหรือเคยมีความคิดแบบนี้อยู่ในหัว แต่พอเอาเข้าจริงๆ ผมลงทุนมาเกือบ 7 ปีแล้ว ยังไม่เคยวิเคราะห์เทคนิคมาเป็นจังหวะซื้อขายหุ้นเลยซักครั้ง ความเชื่อผมเปลี่ยนไปแล้ว เพราะผมได้รู้ว่าการวิเคราะห์พื้นฐานแบบ VI ก็สามารถบอกจังหวะการซื้อขายได้ดีไม่แพ้วิธีไหนๆ
ผมเอาที่ผม post ตอบไว้ในกระทู้ที่ Thaivi มาแปะไว้เพื่อให้ได้อ่านกันถ้วนหน้านะครับ ข้อเขียนนี้ถือเป็นการต่อยอดจากบทความเรื่องการบริหาร port style yoyo ที่เคยเขียนเอาไว้ใน Blog มาพักนึงแล้ว
____________
ถาม. คุณ yoyo ใช้อะไรในการดูจังหวะซื้อขายครับ เพราะไม่ได้ดูกราฟหลักการของคุณ Yoyo บอกจังหวะในการลงทุนอย่างไรบ้างครับยกตัวอย่างของจริงที่เคยทำมาแล้วให้หน่อยได้ไหมครับตัวอย่างในอดีตน่ะครับจะได้ไม่เป็นการชี้นำ
ตอบ. จังหวะซื้อขายของผมเกิดมาจากการประยุกต์ portfolio management ครับ การบริหาร port นั้นทำโดยการถือหุ้นกระจายหลายๆตัวเพื่อลดความเสี่ยง แรกๆผมก็ทำการจัด port เพื่อลดความเสี่ยง แต่ไปๆมาๆ พอจัดไปจัดมาอยู่ๆ ผมก็เห็นว่าเอ๊ะ... ไอ้การจัด port โดยดูจากความถูกความแพงของหุ้นนี่มันช่วยบอกจังหวะซื้อขายให้เราได้ดีมากๆ ซึ่งผมอ่านหนังสือมาหลายเล่ม ฟังสัมมนามาหลายงาน ก็ยังไม่เคยเจอใครที่เอาเรื่องนี้มาเขียนหรือมาพูดเป็นชิ้นเป็นอัน ผมถือว่าเรื่องนี้สำคัญเป็นอันดับ 2 รองจาก Stock Selection เลยครับ
ผมเคยเขียนไว้ใน Blog www.yoyoway.com "การบริหาร Port style yoyo" ลองไปอ่านดู
ผมจะเอามา Replay ใหม่อีกรอบแบบมีภาพประกอบด้วย เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น
หลักการคร่าวๆคือ
สมมติผมถือหุ้น 2 ตัว คือ
หุ้น A ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
และ B ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
ทั้ง 2 ตัวมี Upside ที่ 60% เท่ากัน
ผมแบ่งสถานะ port ออกมาเป็น 7 ช่วงเวลา
1. ผมควรจะถือหุ้นทั้ง 2 ตัว ตัวละกี่ % ดีครับ... ใช้ common sense ทั่วไปก็พอจะเดาได้ว่าควรจะถือหุ้นอย่างละครึ่ง เพราะทั้งคู่มี Upside เท่ากัน
2. ที่นี้สมมติว่าหุ้น A ขึ้นไป 12 บาท หุ้น B ลงมาเหลือ 8 บาท ณ จุดนี้หุ้น A จะมีสัดส่วน 60% ในขณะที่ B จะลดเหลือ 40% แต่เมื่อดู upside แล้ว A จะมี upside ที่ 33% ขณะที่ B จะมี 100%ในเมื่อ B มี Upside ที่สูงกว่า A ตั้งเยอะ ทำไมเราจะไม่ถือ B เยอะกว่า A ล่ะครับ...
3. ที่นี้ผมก็จะขายหุ้น A มาซื้อหุ้น B เพื่อปรับสัดส่วนใหม่ สมมติว่าเป็น 30:70
4. เมื่อเวลาผ่านไป สมมติต่ออีกว่าหุ้น A ลดลงมาเหลือ 8 บาท หุ้น B วิ่งขึ้นไปเป็น 12 แทน สัดส่วนหุ้น B ใน port ผมจะยิ่งสูงขึ้นจาก 70 กลายมาเป็น 84% ...
5. แน่นอนครับ ในเมื่อ Upside หุ้น A กลับมาสูงถึง 100 แล้ว B ลดลงเหลือ 33% ผมก็ขายหุ้น B แล้วก็ไปซื้อหุ้น A อีกครั้ง เพื่อปรับสัดส่วนหุ้นใน port ใหม่เป็น 70:30
6. ตลาดหุ้นเล่นตลกกับเราอีกแล้วครับ... หุ้น A เพิ่มขึ้นมาเป็น 10 หุ้น B ลดลงมาเหลือ 10 บาท....
7. ในเมื่อ Upside มันเท่ากับ ผมก็ขายหุ้น A ซื้อหุ้น B จนกลายเป็น 50:50 สุดท้ายผมถือหุ้นไปตั้งนาน ราคาหุ้นมันกลับมายืนที่เดิมอีกแล้วมันน่าเซ็งมั๊ยล่ะ ... แต่เอ๊ะ มาดูมูล port รวมของผมซิครับ ทั้งๆที่ ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวไม่ไปไหนเลย port ผมโตขึ้นมา 40% จาก 1 ล้านบาท กลายเป็น 1.4 ล้านบาท
เห็นมั๊ยครับ ไม่ต้องดูกราฟ ไม่ต้องดู Fund flow ... ใช้หลักการแบบ VI ง่ายๆ ซื้อหุ้นถูกขายหุ้นแพง แม้ว่าหุ้น A และ B มันจะต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ 16 บาทอยู่ตลอดเวลา แต่ความถูกความแพงมันเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ
เมื่อ A ถูกกว่า B ผมก็ขาย B ซื้อ A ...
เมื่อ B ถูกกว่า A ผมก็ขาย A ซื้อ B ...
เค้าบอกกันว่า VI ถือหุ้นระยะยาว ถือแล้วไม่ขายจนกว่าราคาหุ้นจะเกินพื้นฐาน ... ผมบอกว่าผมขายถ้ามีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่า
สุดท้ายหลักการข้อนี้เลยทำให้หลักการซื้อหุ้นพื้นฐานแบบ VI สามารถบอกจังหวะซื้อขายได้ด้วยตัวมันเอง และช่วยทำให้ port ผมโตได้ แม้ราคาหุ้นโดยรวมอาจจะไม่ได้ไปไหนเลย แบบตัวอย่างข้างต้น
ตัวอย่างนี้เป็นแบบง่ายๆมีหุ้น 2 ตัว... ปกติถ้าผมจะมีหุ้นประมาณ 4-5 ตัว ก็ใช้หลักการเดียวกันครับ Upside เยอะกว่าก็ควรจะมีสัดส่วนสูงกว่า
ผมเอาที่ผม post ตอบไว้ในกระทู้ที่ Thaivi มาแปะไว้เพื่อให้ได้อ่านกันถ้วนหน้านะครับ ข้อเขียนนี้ถือเป็นการต่อยอดจากบทความเรื่องการบริหาร port style yoyo ที่เคยเขียนเอาไว้ใน Blog มาพักนึงแล้ว
____________
ถาม. คุณ yoyo ใช้อะไรในการดูจังหวะซื้อขายครับ เพราะไม่ได้ดูกราฟหลักการของคุณ Yoyo บอกจังหวะในการลงทุนอย่างไรบ้างครับยกตัวอย่างของจริงที่เคยทำมาแล้วให้หน่อยได้ไหมครับตัวอย่างในอดีตน่ะครับจะได้ไม่เป็นการชี้นำ
ตอบ. จังหวะซื้อขายของผมเกิดมาจากการประยุกต์ portfolio management ครับ การบริหาร port นั้นทำโดยการถือหุ้นกระจายหลายๆตัวเพื่อลดความเสี่ยง แรกๆผมก็ทำการจัด port เพื่อลดความเสี่ยง แต่ไปๆมาๆ พอจัดไปจัดมาอยู่ๆ ผมก็เห็นว่าเอ๊ะ... ไอ้การจัด port โดยดูจากความถูกความแพงของหุ้นนี่มันช่วยบอกจังหวะซื้อขายให้เราได้ดีมากๆ ซึ่งผมอ่านหนังสือมาหลายเล่ม ฟังสัมมนามาหลายงาน ก็ยังไม่เคยเจอใครที่เอาเรื่องนี้มาเขียนหรือมาพูดเป็นชิ้นเป็นอัน ผมถือว่าเรื่องนี้สำคัญเป็นอันดับ 2 รองจาก Stock Selection เลยครับ
ผมเคยเขียนไว้ใน Blog www.yoyoway.com "การบริหาร Port style yoyo" ลองไปอ่านดู
ผมจะเอามา Replay ใหม่อีกรอบแบบมีภาพประกอบด้วย เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น
หลักการคร่าวๆคือ
สมมติผมถือหุ้น 2 ตัว คือ
หุ้น A ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
และ B ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
ทั้ง 2 ตัวมี Upside ที่ 60% เท่ากัน
ผมแบ่งสถานะ port ออกมาเป็น 7 ช่วงเวลา
1. ผมควรจะถือหุ้นทั้ง 2 ตัว ตัวละกี่ % ดีครับ... ใช้ common sense ทั่วไปก็พอจะเดาได้ว่าควรจะถือหุ้นอย่างละครึ่ง เพราะทั้งคู่มี Upside เท่ากัน
2. ที่นี้สมมติว่าหุ้น A ขึ้นไป 12 บาท หุ้น B ลงมาเหลือ 8 บาท ณ จุดนี้หุ้น A จะมีสัดส่วน 60% ในขณะที่ B จะลดเหลือ 40% แต่เมื่อดู upside แล้ว A จะมี upside ที่ 33% ขณะที่ B จะมี 100%ในเมื่อ B มี Upside ที่สูงกว่า A ตั้งเยอะ ทำไมเราจะไม่ถือ B เยอะกว่า A ล่ะครับ...
3. ที่นี้ผมก็จะขายหุ้น A มาซื้อหุ้น B เพื่อปรับสัดส่วนใหม่ สมมติว่าเป็น 30:70
4. เมื่อเวลาผ่านไป สมมติต่ออีกว่าหุ้น A ลดลงมาเหลือ 8 บาท หุ้น B วิ่งขึ้นไปเป็น 12 แทน สัดส่วนหุ้น B ใน port ผมจะยิ่งสูงขึ้นจาก 70 กลายมาเป็น 84% ...
5. แน่นอนครับ ในเมื่อ Upside หุ้น A กลับมาสูงถึง 100 แล้ว B ลดลงเหลือ 33% ผมก็ขายหุ้น B แล้วก็ไปซื้อหุ้น A อีกครั้ง เพื่อปรับสัดส่วนหุ้นใน port ใหม่เป็น 70:30
6. ตลาดหุ้นเล่นตลกกับเราอีกแล้วครับ... หุ้น A เพิ่มขึ้นมาเป็น 10 หุ้น B ลดลงมาเหลือ 10 บาท....
7. ในเมื่อ Upside มันเท่ากับ ผมก็ขายหุ้น A ซื้อหุ้น B จนกลายเป็น 50:50 สุดท้ายผมถือหุ้นไปตั้งนาน ราคาหุ้นมันกลับมายืนที่เดิมอีกแล้วมันน่าเซ็งมั๊ยล่ะ ... แต่เอ๊ะ มาดูมูล port รวมของผมซิครับ ทั้งๆที่ ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวไม่ไปไหนเลย port ผมโตขึ้นมา 40% จาก 1 ล้านบาท กลายเป็น 1.4 ล้านบาท
เห็นมั๊ยครับ ไม่ต้องดูกราฟ ไม่ต้องดู Fund flow ... ใช้หลักการแบบ VI ง่ายๆ ซื้อหุ้นถูกขายหุ้นแพง แม้ว่าหุ้น A และ B มันจะต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ 16 บาทอยู่ตลอดเวลา แต่ความถูกความแพงมันเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ
เมื่อ A ถูกกว่า B ผมก็ขาย B ซื้อ A ...
เมื่อ B ถูกกว่า A ผมก็ขาย A ซื้อ B ...
เค้าบอกกันว่า VI ถือหุ้นระยะยาว ถือแล้วไม่ขายจนกว่าราคาหุ้นจะเกินพื้นฐาน ... ผมบอกว่าผมขายถ้ามีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่า
สุดท้ายหลักการข้อนี้เลยทำให้หลักการซื้อหุ้นพื้นฐานแบบ VI สามารถบอกจังหวะซื้อขายได้ด้วยตัวมันเอง และช่วยทำให้ port ผมโตได้ แม้ราคาหุ้นโดยรวมอาจจะไม่ได้ไปไหนเลย แบบตัวอย่างข้างต้น
ตัวอย่างนี้เป็นแบบง่ายๆมีหุ้น 2 ตัว... ปกติถ้าผมจะมีหุ้นประมาณ 4-5 ตัว ก็ใช้หลักการเดียวกันครับ Upside เยอะกว่าก็ควรจะมีสัดส่วนสูงกว่า
WEDNESDAY, SEPTEMBER 09, 2009
สัญญาณจากงบการเงิน
ทุกๆไตรมาส บลจ. จะประกาศงบการเงินออกมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผมจะคอยติดตามว่าหุ้นที่ตัวเองถือ รวมถึงหุ้นที่กำลังสนใจอยู่ประกาศรึยัง เพื่อที่จะได้ Load มาอ่านแล้ววิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป
ทีนี้ดูงบนี่ดูกันไปทำไมครับ...
ต้องย้อนกลับมาดูหลักการทั่วไปของการซื้อธุรกิจก่อนครับ
เวลาเราซื้อธุรกิจ เราก็มักจะต้องดูผลงานย้อนหลังไปหลายปี ว่ามีผลงานดีแค่ไหนผันผวนแค่ไหน เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการคาดการณ์อนาคตของธุรกิจ ... ใจความสำคัญมันอยู่ตรงนี้เองครับ การซื้อธุรกิจหรือการซื้อหุ้น เราซื้อที่อนาคตของธุรกิจ ผลงานที่ผ่านมาในอดีตเป็นเพียงตัวช่วยในการคาดอนาคตเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราควรจะสนใจในงบการเงินคือสิ่งที่จะบ่งบอกให้เห็นถึงอนาคตของบริษัท พอดีว่าผมเจอบางคนที่ดีใจว่าบริษัทประกาศกำไรออกมาดี แต่กลับไม่ได้ดูเลยว่าตัวเลขเหล่านั้นบางทีมันสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตที่ไม่สวยงามของบริษัทเท่าไหร่นัก
ยกตัวให้ดูนะครับว่า Case ข้างต้นมีหน้าตาเป็นไง
- บริษัท A ทำธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า ปกติบริษัทนี้มียอดขายประมาณ 100 ล้านต่อไตรมาส กำไรสุทธิประมาณ 10 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 10% ของรายได้ บริษัทนี้มีหุ้นทั้งสิ้น 10 ล้านหุ้น (คิดเป็น eps ประมาณ 1 บาทต่อไตรมาส หรือ 4 บาทต่อปี) ราคาหุ้นซื้อขายกันอยู่ประมาณ 24 บาทหรือคิดเป็น p/e ประมาณ 6 เท่า (เพราะบริษัทไม่มีการเติบโตมานาน p/e ที่ซื้อขายจึงไม่สูงนัก)
- เวลาผ่านไป บริษัทนี้ประกาศงบการเงิน Q2 ออกมาว่าบริษัทสามารถทำรายได้สูงถึง 150 ล้านบาท และทำกำไรได้ 15 ล้านบาท นักลงทุนเห็นก็ดีใจเพราะว่าบริษัทสามารถทำกำไรเพิ่มจากปกติได้ถึงประมาณ 50% เลยรีบกระโจนเข้าไปซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าราคาหุ้นยังอยู่นิ่งๆ ไม่ตอบรับข่าวดีที่ออกมา เลยซื้อเข้า Port ไปที่ราคา 24 บาท เพราะกะว่าถ้าบริษัทกำไรได้ 15 ล้านต่อไตรมาส eps ก็จะออกมาประมาณ 6 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็น p/e เพียง 4 เท่าเท่านั้น
- เวลาผ่านไปอีกแล้ว บริษัทประกาศงบ Q3 ออกมาทำรายได้เพียง 50 ล้านบาท และมีผลขาดทุน 1.67 ล้านบาท หุ้นดิ่งลงอย่างรวดเร็วเพราะเห็นว่าบริษัทขาดทุนนักลงทุนท่านเดิมตัดใจขายหุ้นทิ้งไปที่ราคา 10 บาท
case ข้างต้นนี้สอนอะไรเราได้บ้าง ...?
- ถ้าดูลงไปลึกๆจะเห็นว่าใน Q2 ที่บริษัททำรายได้ได้สูงนั้น เพราะว่าลูกค้ามีความจำเป็นต้องเร่งงานให้เร็วขึ้นกว่าปกติจึงได้ส่ง Order ของ Q3 มาให้บริษัทเร่งผลิตส่งให้ทันในไตรมาส 2 จำนวน 50 ล้านบาท .. รายได้จึงเพิ่มขึ้นจาก 100 มาเป็น 150
- เมื่องานของ Q3 ถูกดึงไปลงใน Q2 แล้ว 50 ล้าน พอถึงเวลา Q3 จริงๆ รายได้เลยหดลงมาเหลือเพียง 50 ล้าน
- ถ้าดูงบ Q2 ต่อก็จะเจอว่าบริษัทนั้นมี Net Profit Margin (NPM) คงที่ที่ประมาณ 10% ทั้งๆที่ปกติแล้วเมื่อบริษัทมี Vol สั่งซื้อที่มากขึ้น ถ้ากำไรต่อหน่วยใกล้เคียงเดิม NPM มักจะเพิ่ม เพราะว่าค่าใช้จ่ายขายและบริหารหลักๆนั้นมักจะมีส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่อยู่พอสมควร แต่ในกรณีนี้ NPM ของ Q2 นั้นคงที่ที่ 10% ตามหลักของนักลงทุนที่ดีควรจะเจาะดูให้ละเอียดว่า NPM ที่ควรจะเพิ่มขึ้นกลับคงที่ มันมีสัญญาณไม่ค่อยดีบอกเราอยู่บ้างแล้ว...
ลองมาดูงบรายไตรมาสของบริษัท A กันนะครับว่าหน้าตาเป็นยังไงจริงๆ และมันส่งสัญญาณให้นักลงทุนมองอนาคตยังไงบ้าง
- งบไตรมาสก่อนหน้าของบริษัททำมาได้อย่างสม่ำเสมอ มีหน้าตาแบบนี้
รายได้ 100 ล้าน
ต้นทุนสินค้า 80 ล้าน
กำไรขั้นต้น 20 ล้าน คิดเป็น GPM ที่ 20%
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร 10 ล้าน (สมมติว่าค่าใช้จ่ายด้านนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนผู้บริหารเป็นหลักซึ่งมักจะเป็น Fix cost ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่)
กำไรสุทธิ 10 ล้านบาท คิดเป็น NPM ที่ 10%
- งบไตรมาส 2
รายได้ 150
ต้นทุนสินค้า 125
กำไรขั้นต้น 25 คิดเป็น GPM ที่ 16.67
ค่าขายและบริหาร 10
กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท คิดเป็น NPM ที่ 10%
- งบไตรมาส 3
รายได้ 50
ต้นทุนสินค้า 41.67
กำไรขั้นต้น 8.33 คิดเป็น GPM ที่ 16.67%
ค่าขายและบริหาร 10
ขาดทุน 1.67 ล้านบาท
นักลงทุนที่ไม่ละเอียดดูเพียงแค่อดีตซึ่งก็คืองบ Q2 ที่ประกาศออกมาว่ามีกำไรดีโตจากปกติ 50% จึบรีบเข้าไปซื้อ แต่หารู้ไม่ว่ากำไรที่เพิมขึ้นมานั้นเป็นผลมาจาก Order ของ Q3 ที่ถูกเร่งมาส่งมอบใน Q2
นอกจากนี้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทซึ่งดูได้จาก GPM นั้นลดลงจาก 20 เหลือ 16.67% ทั้งนี้สาเหตุอาจจะมาจากความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้บริษัทจำเป็นจะต้องลดราคาให้ลูกค้าเพื่อรักษายอดขายเอาไว้ เพราะฉะนั้นปกติถ้าเราเห็น GPM ที่ลดต่ำลงกว่าปกติเราควรจะเจาะลึกลงไปให้ดูมากขึ้นว่าที่ลดลงนั้นลดลงเพราะอะไร เป็นปัญหาชั่วคราวหรือว่าถาวร ในกรณีของบริษัท A นั้น การลดราคาเพราะต้องตัดราคาแข่งกับคู่แข่งนี้ดูจะเป็นปัญหาถาวร จนทำให้ผลงานที่ออกมาใน Q3 นั้นมี GPM พอๆกับ Q2
ถ้าไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยนแปลงมากมายนับจากนี้ นักลงทุน VI ที่มีประสบการณ์ก็พอจะประมาณงบของไตรมาสต่อๆไปได้หลังจากประมาณงบ Q3 ว่าน่าจะออกมาประมาณนี้
รายได้ 100
ต้นทุนสินค้า 83.33
กำไรขั้นต้น 16.67
ค่าขายและบริหาร 10
กำไรสุทธิ 6.67 คิดเป็น 0.67 ต่อหุ้นต่อไตรมาส หรือ eps เท่ากับ 2.67 บาทต่อปี
- เมื่อเห็นว่า แม้บริษัทน่าจะสามารถทำกำไรได้ลดลงจากปกติ 4 บาทต่อหุ้นเหลือเพียง 2.67 บาทต่อหุ้น แต่ราคาหุ้นที่ดิ่งลงก็ตอบสนองกับข่าวร้ายซะจนเกินเหตุเหลือเพียง 10 บาท คิดเป็น p/e ประมาณ 3.7 เท่า VI ที่มีประสบการณ์ก็อาจจะใช้โอกาสนี้เข้ามาซื้อหุ้นที่ราคาต่ำเกินจริงๆและสามารถทำกำไรได้ไม่ยากนัก
ตัวอย่างที่แสดงข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างสมมติที่ผมคิดตัวเลขง่ายๆมาใช้ แต่ในสถานการณ์จริงๆ ผมก็เห็นสิ่งเหล่านี้เกิดอยู่ในตลาดหุ้นอยู่เรื่อยๆ รายละเอียดอาจจะคล้ายๆแบบนี้ บางกรณีอาจจะมีความซับซ้อนกว่านี้ แต่นักลงทุนที่ดีก็จะเจาะรายละเอียดของงบการเงิน เพื่อดูถึงสัญญาณต่างๆที่งบการเงินพยายามจะบอกเราให้เห็นถึงโอกาสหรือวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ทุกวันในตลาดหุ้น
หมายเหตุ
- บริษัท A นี้เป็นแสดงถึง Negative signal ที่งบบอกให้เราเห็นแม้ว่าบริษัทจะสามารถกำไรสุทธิได้มากขึ้น ซึ่ง case แบบนี้มักจะทำให้นักลงทุนเจ็บตัว
- ในขณะที่บางบริษัทอาจจะแสดง Positive Signal ในลักษณะที่ตรงข้ามกับบริษัท A คือบริษัทอาจจจะแสดงกำไรสุทธิที่ลดต่ำลง และถ้าเจาะลงไปให้ลึกแล้วจะเห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าราคาหุ้นในตลาดลดต่ำเพราะมากเพราะตลาดเห็นว่าบริษัททำกำไรได้ลดต่ำลง ทั้งๆที่งบการเงินกำลังส่งสัญญาณเป็นบวกให้กับเรา .. นี่แหละครับจะเป็นโอกาสการทำกำไรที่ดีของนักลงทุนที่ทำการบ้านและมีความเข้าใจงบการเงินที่ดีกว่า
ทีนี้ดูงบนี่ดูกันไปทำไมครับ...
ต้องย้อนกลับมาดูหลักการทั่วไปของการซื้อธุรกิจก่อนครับ
เวลาเราซื้อธุรกิจ เราก็มักจะต้องดูผลงานย้อนหลังไปหลายปี ว่ามีผลงานดีแค่ไหนผันผวนแค่ไหน เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการคาดการณ์อนาคตของธุรกิจ ... ใจความสำคัญมันอยู่ตรงนี้เองครับ การซื้อธุรกิจหรือการซื้อหุ้น เราซื้อที่อนาคตของธุรกิจ ผลงานที่ผ่านมาในอดีตเป็นเพียงตัวช่วยในการคาดอนาคตเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราควรจะสนใจในงบการเงินคือสิ่งที่จะบ่งบอกให้เห็นถึงอนาคตของบริษัท พอดีว่าผมเจอบางคนที่ดีใจว่าบริษัทประกาศกำไรออกมาดี แต่กลับไม่ได้ดูเลยว่าตัวเลขเหล่านั้นบางทีมันสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตที่ไม่สวยงามของบริษัทเท่าไหร่นัก
ยกตัวให้ดูนะครับว่า Case ข้างต้นมีหน้าตาเป็นไง
- บริษัท A ทำธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า ปกติบริษัทนี้มียอดขายประมาณ 100 ล้านต่อไตรมาส กำไรสุทธิประมาณ 10 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 10% ของรายได้ บริษัทนี้มีหุ้นทั้งสิ้น 10 ล้านหุ้น (คิดเป็น eps ประมาณ 1 บาทต่อไตรมาส หรือ 4 บาทต่อปี) ราคาหุ้นซื้อขายกันอยู่ประมาณ 24 บาทหรือคิดเป็น p/e ประมาณ 6 เท่า (เพราะบริษัทไม่มีการเติบโตมานาน p/e ที่ซื้อขายจึงไม่สูงนัก)
- เวลาผ่านไป บริษัทนี้ประกาศงบการเงิน Q2 ออกมาว่าบริษัทสามารถทำรายได้สูงถึง 150 ล้านบาท และทำกำไรได้ 15 ล้านบาท นักลงทุนเห็นก็ดีใจเพราะว่าบริษัทสามารถทำกำไรเพิ่มจากปกติได้ถึงประมาณ 50% เลยรีบกระโจนเข้าไปซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าราคาหุ้นยังอยู่นิ่งๆ ไม่ตอบรับข่าวดีที่ออกมา เลยซื้อเข้า Port ไปที่ราคา 24 บาท เพราะกะว่าถ้าบริษัทกำไรได้ 15 ล้านต่อไตรมาส eps ก็จะออกมาประมาณ 6 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็น p/e เพียง 4 เท่าเท่านั้น
- เวลาผ่านไปอีกแล้ว บริษัทประกาศงบ Q3 ออกมาทำรายได้เพียง 50 ล้านบาท และมีผลขาดทุน 1.67 ล้านบาท หุ้นดิ่งลงอย่างรวดเร็วเพราะเห็นว่าบริษัทขาดทุนนักลงทุนท่านเดิมตัดใจขายหุ้นทิ้งไปที่ราคา 10 บาท
case ข้างต้นนี้สอนอะไรเราได้บ้าง ...?
- ถ้าดูลงไปลึกๆจะเห็นว่าใน Q2 ที่บริษัททำรายได้ได้สูงนั้น เพราะว่าลูกค้ามีความจำเป็นต้องเร่งงานให้เร็วขึ้นกว่าปกติจึงได้ส่ง Order ของ Q3 มาให้บริษัทเร่งผลิตส่งให้ทันในไตรมาส 2 จำนวน 50 ล้านบาท .. รายได้จึงเพิ่มขึ้นจาก 100 มาเป็น 150
- เมื่องานของ Q3 ถูกดึงไปลงใน Q2 แล้ว 50 ล้าน พอถึงเวลา Q3 จริงๆ รายได้เลยหดลงมาเหลือเพียง 50 ล้าน
- ถ้าดูงบ Q2 ต่อก็จะเจอว่าบริษัทนั้นมี Net Profit Margin (NPM) คงที่ที่ประมาณ 10% ทั้งๆที่ปกติแล้วเมื่อบริษัทมี Vol สั่งซื้อที่มากขึ้น ถ้ากำไรต่อหน่วยใกล้เคียงเดิม NPM มักจะเพิ่ม เพราะว่าค่าใช้จ่ายขายและบริหารหลักๆนั้นมักจะมีส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่อยู่พอสมควร แต่ในกรณีนี้ NPM ของ Q2 นั้นคงที่ที่ 10% ตามหลักของนักลงทุนที่ดีควรจะเจาะดูให้ละเอียดว่า NPM ที่ควรจะเพิ่มขึ้นกลับคงที่ มันมีสัญญาณไม่ค่อยดีบอกเราอยู่บ้างแล้ว...
ลองมาดูงบรายไตรมาสของบริษัท A กันนะครับว่าหน้าตาเป็นยังไงจริงๆ และมันส่งสัญญาณให้นักลงทุนมองอนาคตยังไงบ้าง
- งบไตรมาสก่อนหน้าของบริษัททำมาได้อย่างสม่ำเสมอ มีหน้าตาแบบนี้
รายได้ 100 ล้าน
ต้นทุนสินค้า 80 ล้าน
กำไรขั้นต้น 20 ล้าน คิดเป็น GPM ที่ 20%
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร 10 ล้าน (สมมติว่าค่าใช้จ่ายด้านนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนผู้บริหารเป็นหลักซึ่งมักจะเป็น Fix cost ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่)
กำไรสุทธิ 10 ล้านบาท คิดเป็น NPM ที่ 10%
- งบไตรมาส 2
รายได้ 150
ต้นทุนสินค้า 125
กำไรขั้นต้น 25 คิดเป็น GPM ที่ 16.67
ค่าขายและบริหาร 10
กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท คิดเป็น NPM ที่ 10%
- งบไตรมาส 3
รายได้ 50
ต้นทุนสินค้า 41.67
กำไรขั้นต้น 8.33 คิดเป็น GPM ที่ 16.67%
ค่าขายและบริหาร 10
ขาดทุน 1.67 ล้านบาท
นักลงทุนที่ไม่ละเอียดดูเพียงแค่อดีตซึ่งก็คืองบ Q2 ที่ประกาศออกมาว่ามีกำไรดีโตจากปกติ 50% จึบรีบเข้าไปซื้อ แต่หารู้ไม่ว่ากำไรที่เพิมขึ้นมานั้นเป็นผลมาจาก Order ของ Q3 ที่ถูกเร่งมาส่งมอบใน Q2
นอกจากนี้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทซึ่งดูได้จาก GPM นั้นลดลงจาก 20 เหลือ 16.67% ทั้งนี้สาเหตุอาจจะมาจากความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้บริษัทจำเป็นจะต้องลดราคาให้ลูกค้าเพื่อรักษายอดขายเอาไว้ เพราะฉะนั้นปกติถ้าเราเห็น GPM ที่ลดต่ำลงกว่าปกติเราควรจะเจาะลึกลงไปให้ดูมากขึ้นว่าที่ลดลงนั้นลดลงเพราะอะไร เป็นปัญหาชั่วคราวหรือว่าถาวร ในกรณีของบริษัท A นั้น การลดราคาเพราะต้องตัดราคาแข่งกับคู่แข่งนี้ดูจะเป็นปัญหาถาวร จนทำให้ผลงานที่ออกมาใน Q3 นั้นมี GPM พอๆกับ Q2
ถ้าไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยนแปลงมากมายนับจากนี้ นักลงทุน VI ที่มีประสบการณ์ก็พอจะประมาณงบของไตรมาสต่อๆไปได้หลังจากประมาณงบ Q3 ว่าน่าจะออกมาประมาณนี้
รายได้ 100
ต้นทุนสินค้า 83.33
กำไรขั้นต้น 16.67
ค่าขายและบริหาร 10
กำไรสุทธิ 6.67 คิดเป็น 0.67 ต่อหุ้นต่อไตรมาส หรือ eps เท่ากับ 2.67 บาทต่อปี
- เมื่อเห็นว่า แม้บริษัทน่าจะสามารถทำกำไรได้ลดลงจากปกติ 4 บาทต่อหุ้นเหลือเพียง 2.67 บาทต่อหุ้น แต่ราคาหุ้นที่ดิ่งลงก็ตอบสนองกับข่าวร้ายซะจนเกินเหตุเหลือเพียง 10 บาท คิดเป็น p/e ประมาณ 3.7 เท่า VI ที่มีประสบการณ์ก็อาจจะใช้โอกาสนี้เข้ามาซื้อหุ้นที่ราคาต่ำเกินจริงๆและสามารถทำกำไรได้ไม่ยากนัก
ตัวอย่างที่แสดงข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างสมมติที่ผมคิดตัวเลขง่ายๆมาใช้ แต่ในสถานการณ์จริงๆ ผมก็เห็นสิ่งเหล่านี้เกิดอยู่ในตลาดหุ้นอยู่เรื่อยๆ รายละเอียดอาจจะคล้ายๆแบบนี้ บางกรณีอาจจะมีความซับซ้อนกว่านี้ แต่นักลงทุนที่ดีก็จะเจาะรายละเอียดของงบการเงิน เพื่อดูถึงสัญญาณต่างๆที่งบการเงินพยายามจะบอกเราให้เห็นถึงโอกาสหรือวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ทุกวันในตลาดหุ้น
หมายเหตุ
- บริษัท A นี้เป็นแสดงถึง Negative signal ที่งบบอกให้เราเห็นแม้ว่าบริษัทจะสามารถกำไรสุทธิได้มากขึ้น ซึ่ง case แบบนี้มักจะทำให้นักลงทุนเจ็บตัว
- ในขณะที่บางบริษัทอาจจะแสดง Positive Signal ในลักษณะที่ตรงข้ามกับบริษัท A คือบริษัทอาจจจะแสดงกำไรสุทธิที่ลดต่ำลง และถ้าเจาะลงไปให้ลึกแล้วจะเห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าราคาหุ้นในตลาดลดต่ำเพราะมากเพราะตลาดเห็นว่าบริษัททำกำไรได้ลดต่ำลง ทั้งๆที่งบการเงินกำลังส่งสัญญาณเป็นบวกให้กับเรา .. นี่แหละครับจะเป็นโอกาสการทำกำไรที่ดีของนักลงทุนที่ทำการบ้านและมีความเข้าใจงบการเงินที่ดีกว่า
FRIDAY, SEPTEMBER 04, 2009
คำถามเรื่องการศึกษากลุ่มอสังหา
มีคำถามมาจากหลังไมค์ครับ
ทราบมาว่าพี่โยฯ ถนัดด้านอสังหาฯ ไม่ทราบว่า ตอนเริ่มแรกๆ พี่โยฯ ตั้งเป้าเลยหรือเปล่าครับว่าจะเลือก อุตสาหกรรมเดียว เอาให้เก่งไปเลย ส่วนอุตฯ อื่นๆ พี่โยฯ ได้ติดตามศึกษา weight ลงมาใช่หรือไม่ครับ ( จริงๆพี่โยฯ น่าจะโอเคทุกอุตฯ แหละ พี่แต่ด้านอสังหาฯน่าจะแม่นสุด )
ก็ไม่ยุ่งกับมันมาตลอดจนมาปีนี้แหละครับ
จุดเริ่มต้นของอสังหาคือ หลังจากที่ผมขาดทุนกับหุ้นในปีที่แล้วหนัก บวกกับสภาพเศษรฐกิจในช่วงต้นปีดูไม่ดีเอาซะเลย ผมเลยปรับกลยุทธ์มาจากปกติเล่นหุ้น Growth มาเป็นเน้นหุ้นที่น่าจะปันผลได้สูง และกำไรไม่ลดลง ... ค้นหาหุ้นประเภทนี้ไปเรื่อยๆก็มาลงที่หุ้น LPN เพราะว่ามี Backlog จำนวนมาก และเป้าหมายรายได้ที่จะรับรู้ในปีนี้คงไม่ผิดคาดเท่าไหร่ กำไรก็น่าจะพอๆกับปีก่อน แล้วตอนนั้นราคาหุ้นมัน 2 บาท ปันผลน่าจะได้ประมาณ 0.4 บาท คิดเป็น Yield ถึง 20% แล้วหุ้น lpn ผมก็ได้ยินมาตลอดว่าเป็นหุ้นอสังหาชั้นยอดตัวหนึ่งเหมือนกัน ก็เลยซื้อเอาไว้
หลังจากถือหุ้น LPN แล้วก็เลยทำให้ไปศึกษาหุ้นอสังหาในกลุ่มตัวอื่นๆเพิ่มเติม ก็มาเจอ PS ที่ราคาก็ถูกไม่แพ้กัน ในขณะที่ทั้งรายได้และกำไรน่าจะโตพอสมควร ผมก็ชอบอีก.. ก็เลยได้ซื้อ ps เข้ามาอีก
ทราบมาว่าพี่โยฯ ถนัดด้านอสังหาฯ ไม่ทราบว่า ตอนเริ่มแรกๆ พี่โยฯ ตั้งเป้าเลยหรือเปล่าครับว่าจะเลือก อุตสาหกรรมเดียว เอาให้เก่งไปเลย ส่วนอุตฯ อื่นๆ พี่โยฯ ได้ติดตามศึกษา weight ลงมาใช่หรือไม่ครับ ( จริงๆพี่โยฯ น่าจะโอเคทุกอุตฯ แหละ พี่แต่ด้านอสังหาฯน่าจะแม่นสุด )
ฟังเส้นทางแล้วอาจจะตกใจ ประวัติผมกับหุ้นอสังหานี่แย่เอามากๆครับ เล่นทีไรเป็นเจ๊งทุกที ทั้งๆที่ผมเองก็จบมาทางสายโยธา ดูเหมือนน่าจะถนัดกลุ่มนี้เป็นพิเศษ พอเล่นทีไรก็ขาดทุนทุกทีบ่อยๆ เข้า ก็เลยรู้สึกว่าตัวเองคงจะไม่ถนัดกับหุ้นกลุ่มนี้จริงๆ จนมีอยู่ช่วงหนึ่งผมตั้งเป้าไว้ในใจเลยว่าจะไม่ยุ่งกับหุ้นกลุ่มนี้เลย เวลาอ่านข่าว อ่านหนังสือพิมพ์เจออะไรเกี่ยวกับอสังหาผมก็อ่านข้ามไปเลย ตอนนั้นก็คิดไว้ครับว่าอะไรที่เราไม่ถนัดก็ไม่ยุ่งดีกว่า
ก็ไม่ยุ่งกับมันมาตลอดจนมาปีนี้แหละครับ
จุดเริ่มต้นของอสังหาคือ หลังจากที่ผมขาดทุนกับหุ้นในปีที่แล้วหนัก บวกกับสภาพเศษรฐกิจในช่วงต้นปีดูไม่ดีเอาซะเลย ผมเลยปรับกลยุทธ์มาจากปกติเล่นหุ้น Growth มาเป็นเน้นหุ้นที่น่าจะปันผลได้สูง และกำไรไม่ลดลง ... ค้นหาหุ้นประเภทนี้ไปเรื่อยๆก็มาลงที่หุ้น LPN เพราะว่ามี Backlog จำนวนมาก และเป้าหมายรายได้ที่จะรับรู้ในปีนี้คงไม่ผิดคาดเท่าไหร่ กำไรก็น่าจะพอๆกับปีก่อน แล้วตอนนั้นราคาหุ้นมัน 2 บาท ปันผลน่าจะได้ประมาณ 0.4 บาท คิดเป็น Yield ถึง 20% แล้วหุ้น lpn ผมก็ได้ยินมาตลอดว่าเป็นหุ้นอสังหาชั้นยอดตัวหนึ่งเหมือนกัน ก็เลยซื้อเอาไว้
หลังจากถือหุ้น LPN แล้วก็เลยทำให้ไปศึกษาหุ้นอสังหาในกลุ่มตัวอื่นๆเพิ่มเติม ก็มาเจอ PS ที่ราคาก็ถูกไม่แพ้กัน ในขณะที่ทั้งรายได้และกำไรน่าจะโตพอสมควร ผมก็ชอบอีก.. ก็เลยได้ซื้อ ps เข้ามาอีก
ตอนผมถือหุ้นอสังหาอยู่ 2 ตัวความคิดผมก็เริ่มตกผลึกแล้วล่ะครับ ว่าทำไมหุ้นอสังหาถึงได้เป็นกลุ่มที่น่าสนใจขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้.. เพราะว่าสถานการณ์ของกลุ่มมันดูแย่ ในขณะที่ยอดขายของบริษัทอสังหาหลายรายยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ... เห็นปุ๊บผมก็เลยนึกถึงคำที่ ปีเตอร์ลิ้ช เลยบอกเอาไว้ว่า "ให้ลงทุนใน บริษัทยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมยอดแย่" ผมก็ปิ๊งเลยครับ กลุ่มอสังหา Key สำคัญอย่างนึงในการดำเนินธุรกิจคือเรื่องสภาพคล่อง เพราะต้องลงเงินทุนเยอะ บริษัทที่อยู่ได้คือบริษัทที่มีสภาพคล่องดี ซึ่งบริษัทอสังหาส่วนใหญ่ในตลาดก็มีสภาพคล่องดีกันหลายราย ... การซื้ออสังหาในภาวะแย่ๆ คนมักจะกลัวไม่ได้บ้าน ไม่ได้คอนโด เพราะฉะนั้นบริษัทที่ชื่อเสียงจะได้เปรียบมาก ...
จากภาวะอุตสาหกรรมแย่ๆ มันทำให้บริษํทที่มีสภาพคล่องดี ชื่อเสียงดี สามารถทำธุรกิจต่อได้ ในขณะที่บริษัทเล็กๆที่ขาดทั้ง 2 ข้อ หรือข้อในข้อ 1 ไปทำธุรกิจยากขึ้น... บริษัทที่ใหญ่อยู่แล้วก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก แกร่งอยู่แล้วก็ยิ่งแกร่งขึ้นอีก .. เลยเป็นที่มาของการศึกษาหุ้นกล่มนี้อย่างลึกขึ้น สิ่งที่ผมคิดไว้ก็ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ Pre-sale ของบริษัทใหญ่ๆในตลาดนี่เรียกได้ว่าอยู่ในระดับที่ดีพอสมควรเลยครับ
สุดท้ายผมก็ดูมันเกือบทั้งกลุ่มแหละครับ เอา Ratio มาเทียบกับดูย้อนหลังไปหลายๆปี ก็เริ่มเห็นว่าใครเด่นกว่าใครด้านไหน ข้อมูลบางส่วนยังไม่รู้ก็อาศัยอ่านเอา อาศัยถามเอา ก็เลยได้ลงทุนอสังหาเพิ่มขึ้นๆ นอกจาก lpn ps ก็มี spali siri เพราะหุ้นมีราคาถูกเอามากๆ ทั้งๆที่ผลกำไรเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ratio ต่างๆที่แสดงถึงคุณภาพในการบริหารงานก็จัดได้ว่าไม่แพ้บริษัทอื่นๆในกลุ่ม แต่มี pe ต่ำกว่ากันร่วมๆครึ่ง
ต่อไปจะเป็นยังไงก็ต้องติดตามครับ หุ้นอสังหาบางตัวที่ผมซื้อมาผมก็ขายไปแล้ว บางตัวก็ถืออยู่เพราะยังเห็นว่าผลงานยังดีและมีราคาถูก
ต่อไปจะเป็นยังไงก็ต้องติดตามครับ หุ้นอสังหาบางตัวที่ผมซื้อมาผมก็ขายไปแล้ว บางตัวก็ถืออยู่เพราะยังเห็นว่าผลงานยังดีและมีราคาถูก
ผมย้อนกลับมามองอดีตที่ผมขาดทุนหุ้นอสังหา อาจจะเป็นเพราะว่าวันนั้นผมยังศึกษาหุ้นกลุ่มนี้น้อยไปหน่อย ไม่ค่อยได้เอาแต่ละบริษัทมาเทียบกับ และจังหวะการลงทุนมันผิดกันเยอะครับ ในอดีตที่ผมเล่นหุ้นมาตลอด ยังไม่เคยมีช่วงไหนที่หุ้นอสังหาน่าสนใจเท่าตอนนี้ ราคาถูกเท่าตอนนี้ ทั้งๆที่คุณภาพในการทำธุรกิจมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ถ้าจะเล่นกลุ่มนี้ก็ต้องศึกษาดีๆนะครับ ตัวถูกยังมีตัวแพงก็มี ตาดีได้ตาร้ายเสีย แฮ่ม
ปล. เอาเข้าจริงๆผมก็รู้เรื่องหุ้นกลุ่มนี้ไม่ได้ลึกมากๆนะครับ ทำเลไหนดี คอนโดไหนน่าจะขายดีขายไม่ได้ ผมไม่รู้เรื่องเลยจริงๆ คนที่แม่นๆกว่าผมนั้นมีอีกเยอะแยะ ผมเน้นมองเป็นภาพใหญ่มากกว่า ว่าบริษัทไหนเก่งด้านไหน เด่นด้านไหน ทำผลงานเป็นอย่างไร และราคาถูกหรือแพง แค่นั้นเองครับ
THURSDAY, AUGUST 27, 2009
ลืมต้นทุน
พอดีว่ามีน้องคนนึงส่งข้อความมาถามผมเรื่องการลืมต้นทุน คิดว่ามีประโยชน์เลยเอามาแปะไว้ใน Blog ด้วยดีกว่า .. แฮะๆ อู้อยู่นานมาเขียนซะที
___ Qoute ____
เคยอ่านกระทู้พี่ yoyo เคยทักพี่คนนึง ว่า ทำการบ้านเลือกหุ้นมาดิบดี แล้ว เอาต้นทุนที่ซื้อมาโพสต์ทำไม และบอกว่า ต้นทุนที่ซื้อมาเป็นจุดอ่อนของการเป็น VI ที่ดี
ผมอยากรู้ที่มาที่ไปครับ จะได้เลิกติดนิสัยดูต้นทุนหุ้นสักที
กรณีที่ผมจะฝึกตัวเองไม่ให้ดูต้นทุนที่ซื้อมา แปลว่า สิ่งที่อนุญาตให้ตัวเองจดลงกระดาษ มีเพียง 1. ชื่อหุ้นที่ซื้อ 2. จำนวนเงินที่ลงทุนไป 3. .... ฯลฯ
___ End qoute_________
VI คืออะไรครับ... คือ การลงทุนที่เน้นมูลค่าเพราะฉะนั้นตัวแปรสำคัญในการลงทุนแนวนี้คือราคาตลาด และ ราคาเหมาะสมถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาเหมาะสม ก็น่าซื้อหรือถือถ้าราคาตลาดเกินราคาเหมาะสม ก็น่าขาย
สังเกตุดูดีๆครับ ว่ามันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับต้นทุนของเราเลยจริงๆ.. จากนี้สรุปได้ว่าต้นทุนไม่ได้ช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นเลย
แต่ถึงกับเป็นจุดอ่อนเลยเหรอ... อืม เพราะคนส่วนใหญ่ชอบเอาต้นทุนมาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจไงครับ
สมมติว่าเราซื้อหุ้นตัวนึงมา 7 บาท โดยคิดว่าราคาเหมาะสมคือ 10 บาทซื้อมาปุ๊บหุ้นลงไป 6 บาท แล้วมีข่าวใหม่ๆออกมาทำให้พื้นฐานของหุ้นเปลี่ยนไป เราคำนวณมูลค่าเหมาะสมใหม่ได้ 5 บาท....
กรณีนี้คนส่วนใหญ่ทำไงครับ.... เมื่อหุ้นอยู่ 6 บาท ?
- คนส่วนใหญ่รอครับ รอให้หุ้นถึง 7 บาท (ถึงทุนก่อน) ค่อยขายในขณะที่ VI ที่ดีนั้นจะขายหุ้นทันที เพราะราคามันเกินราคาเหมาะสมอยู่ โดยไม่สนต้นทุน
แล้วทำไมคนที่ดูต้นทุนถึงไม่ยอมขายเหรอครับ.. เพราะคนทั่วไปมักจะไม่ชอบยอมรับว่าตัวเองผิด การที่เราซื้อหุ้นมา 7 บาทแล้วขาย 6 บาท นั้นจะรู้สึกผิดหวังทั้งผิดหวังเพราะขาดทุน และผิดหวังเพราะเป็นการยอมรับว่าตัวเองผิด เพราะงั้นคนกลุ่มนี้จึงมักจะยึดคติ "ไม่ขายไม่ขาดทุน" เรียกว่าไม่อยากยอมรับผิดกันเลย เพราะกลัวจะผิดหวัง
ในขณะที่ VI ที่ดีไม่สนใจหรอกครับว่าตัวเองจะขาดทุนรึเปล่า ในเมื่อราคาเกินมูลค่าก็ขาย.. นอกจากนี้ VI ยังเอาเงินก้อนนี้ไปซื้อหุ้นตัวใหม่ที่มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตัวอื่น
จุดจบของวงจรนี้ก็คือ คนที่ดูแต่ต้นทุนก็ยังคงถือหุ้นที่รอวันจะมีมูลค่าต่ำลง และขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ VI ที่ขาดหุ้นที่ตัวเองรับว่าคิดผิด ไปซื้อหุ้นตัวใหม่แล้วสุดท้ายก็จะสามารถทำกำไรกลับขึ้นมาได้ในระยะยาว
เวลาผมซื้อขายหุ้นผมจะบันทึกลงไปใน excel ว่าซื้อขายหุ้นอะไร เท่าไหร่ เมื่อใด จุดประสงค์เพื่อ Cross check กับโบรกเกอร์ว่ามีผิดพลาดรึเปล่า และเพื่อเอาไว้บริหารเงินสด ให้เพียงพอไม่พลาดไปซื้อหุ้นทั้งที่ตัวเองไม่มีเงินจ่าย พอดีว่าเวลาผมซื้อหุ้นนั้นผมมักจะซื้อหลายครั้ง ด้วยสาเหตุที่เมื่อผมมีข้อมูลมากขึ้นผมก็ซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเวลาขายก็เหมือนกัน.. ผมก็มักจะขายหลายๆ lot เพื่อที่จะแบ่งหุ้นที่ upside น้อยไปซื้อหุ้นที่ upside เยอะ จนทำให้ผมไม่รู้ว่าต้นทุนตัวเองเป็นเท่าไหร่กันแน่.. คือถ้าอยากรู้ก็ต้องมานั่งคำนวณกันจริงๆจังๆละครับ
สรุปว่าในหน้า excel หน้าหลักผมจะบันทึกเฉพาะจำนวนหุ้น ราคาเป้าหมาย Upside สัดส่วนของหุ้นใน port คือจะบันทึกหน้าหลักไว้เฉพาะข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเท่านั้นครับ
___ Qoute ____
เคยอ่านกระทู้พี่ yoyo เคยทักพี่คนนึง ว่า ทำการบ้านเลือกหุ้นมาดิบดี แล้ว เอาต้นทุนที่ซื้อมาโพสต์ทำไม และบอกว่า ต้นทุนที่ซื้อมาเป็นจุดอ่อนของการเป็น VI ที่ดี
ผมอยากรู้ที่มาที่ไปครับ จะได้เลิกติดนิสัยดูต้นทุนหุ้นสักที
กรณีที่ผมจะฝึกตัวเองไม่ให้ดูต้นทุนที่ซื้อมา แปลว่า สิ่งที่อนุญาตให้ตัวเองจดลงกระดาษ มีเพียง 1. ชื่อหุ้นที่ซื้อ 2. จำนวนเงินที่ลงทุนไป 3. .... ฯลฯ
___ End qoute_________
VI คืออะไรครับ... คือ การลงทุนที่เน้นมูลค่าเพราะฉะนั้นตัวแปรสำคัญในการลงทุนแนวนี้คือราคาตลาด และ ราคาเหมาะสมถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาเหมาะสม ก็น่าซื้อหรือถือถ้าราคาตลาดเกินราคาเหมาะสม ก็น่าขาย
สังเกตุดูดีๆครับ ว่ามันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับต้นทุนของเราเลยจริงๆ.. จากนี้สรุปได้ว่าต้นทุนไม่ได้ช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นเลย
แต่ถึงกับเป็นจุดอ่อนเลยเหรอ... อืม เพราะคนส่วนใหญ่ชอบเอาต้นทุนมาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจไงครับ
สมมติว่าเราซื้อหุ้นตัวนึงมา 7 บาท โดยคิดว่าราคาเหมาะสมคือ 10 บาทซื้อมาปุ๊บหุ้นลงไป 6 บาท แล้วมีข่าวใหม่ๆออกมาทำให้พื้นฐานของหุ้นเปลี่ยนไป เราคำนวณมูลค่าเหมาะสมใหม่ได้ 5 บาท....
กรณีนี้คนส่วนใหญ่ทำไงครับ.... เมื่อหุ้นอยู่ 6 บาท ?
- คนส่วนใหญ่รอครับ รอให้หุ้นถึง 7 บาท (ถึงทุนก่อน) ค่อยขายในขณะที่ VI ที่ดีนั้นจะขายหุ้นทันที เพราะราคามันเกินราคาเหมาะสมอยู่ โดยไม่สนต้นทุน
แล้วทำไมคนที่ดูต้นทุนถึงไม่ยอมขายเหรอครับ.. เพราะคนทั่วไปมักจะไม่ชอบยอมรับว่าตัวเองผิด การที่เราซื้อหุ้นมา 7 บาทแล้วขาย 6 บาท นั้นจะรู้สึกผิดหวังทั้งผิดหวังเพราะขาดทุน และผิดหวังเพราะเป็นการยอมรับว่าตัวเองผิด เพราะงั้นคนกลุ่มนี้จึงมักจะยึดคติ "ไม่ขายไม่ขาดทุน" เรียกว่าไม่อยากยอมรับผิดกันเลย เพราะกลัวจะผิดหวัง
ในขณะที่ VI ที่ดีไม่สนใจหรอกครับว่าตัวเองจะขาดทุนรึเปล่า ในเมื่อราคาเกินมูลค่าก็ขาย.. นอกจากนี้ VI ยังเอาเงินก้อนนี้ไปซื้อหุ้นตัวใหม่ที่มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตัวอื่น
จุดจบของวงจรนี้ก็คือ คนที่ดูแต่ต้นทุนก็ยังคงถือหุ้นที่รอวันจะมีมูลค่าต่ำลง และขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ VI ที่ขาดหุ้นที่ตัวเองรับว่าคิดผิด ไปซื้อหุ้นตัวใหม่แล้วสุดท้ายก็จะสามารถทำกำไรกลับขึ้นมาได้ในระยะยาว
เวลาผมซื้อขายหุ้นผมจะบันทึกลงไปใน excel ว่าซื้อขายหุ้นอะไร เท่าไหร่ เมื่อใด จุดประสงค์เพื่อ Cross check กับโบรกเกอร์ว่ามีผิดพลาดรึเปล่า และเพื่อเอาไว้บริหารเงินสด ให้เพียงพอไม่พลาดไปซื้อหุ้นทั้งที่ตัวเองไม่มีเงินจ่าย พอดีว่าเวลาผมซื้อหุ้นนั้นผมมักจะซื้อหลายครั้ง ด้วยสาเหตุที่เมื่อผมมีข้อมูลมากขึ้นผมก็ซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเวลาขายก็เหมือนกัน.. ผมก็มักจะขายหลายๆ lot เพื่อที่จะแบ่งหุ้นที่ upside น้อยไปซื้อหุ้นที่ upside เยอะ จนทำให้ผมไม่รู้ว่าต้นทุนตัวเองเป็นเท่าไหร่กันแน่.. คือถ้าอยากรู้ก็ต้องมานั่งคำนวณกันจริงๆจังๆละครับ
สรุปว่าในหน้า excel หน้าหลักผมจะบันทึกเฉพาะจำนวนหุ้น ราคาเป้าหมาย Upside สัดส่วนของหุ้นใน port คือจะบันทึกหน้าหลักไว้เฉพาะข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเท่านั้นครับ
TUESDAY, FEBRUARY 24, 2009
คุณสมบัติสำคัญ
ผมเคยมานั่งคิดว่าทำไมคนบางคนนั้นเข้ามาลงทุนและสามารถเป็นนักลงทุน vi ที่ดีได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่บางคนนั้นต้องใช้ความพยายามมากในการลงทุนให้ดีได้ และหลายๆคนก็หมดความพยายามก่อนที่จะเห็นผล ...
เมื่อมานั่งสังเกตุและวิเคราะห์คน 2 กลุ่มข้างต้นนั้นจะเห็นว่าคนที่เป็น vi ที่ดีได้นั้นมักจะมีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวคือมักจะเป็นคนที่ใจเย็น ความอดทนสูง สามารถอดทนรอดูผลลัพธ์ในการลงทุนลงแรงได้นานกว่า และที่สำคัญคือ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ในการตัดสินใจ ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนั้นก็จะขาดคุณสมบัติเหล่านี้ไปบางข้อ หรืออาจจะหลายๆข้อ
การวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผล และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ เป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่ามีความสำคัญมากในการเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าที่ดี .... ผมเคยอ่านเจอว่า 2 เรื่องที่คนมักจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล คือ ความรัก และเงิน.. อาจจะไม่เป็นจริงเสมอในทุกกรณีหรือในทุกคน แต่ผมก็เชื่อว่าประโยคดังกล่าวมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อย
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ผมเห็นว่าคนบางคน เรียกได้ว่าเกิดมาเป็นนักลงทุนที่ดีได้เลย เพราะมีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน เพียงแค่เรียนรู้ให้ถูกจุด อ่านหนังสือเพิ่มเติมอีกหน่อยก็สามารถจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้ไม่ยากนัก ... แต่คนที่คิดว่าตัวเองขาดสิ่งเหล่านี้ไปก็ไม่ต้องเสียใจนะครับ เราอาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าแต่ก็ไม่ได้ความว่าจะไม่สามารถฝึกตัวเองให้เป็น vi ที่ได้ ...
1. ความอดทนใจเย็น
2. การไม่ใช้อารมณ์ (ไม่มีอคติ หรือลำเอียง)
3. การคิดเป็นเหตุเป็นผล
คุณสมบัติ 3 อย่างนี้ผมว่าคนเราสามารถฝึกกันได้ครับ อาจจะใช้เวลานานหน่อย แต่ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะลอง เพราะคุณสมบัติเหล่านี้ผมว่าไม่ใช่ว่าจะมีผลดีกับเฉพาะการลงทุนของเราเท่านั้น แต่มีผลดีต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆอีกมากมาย ในอดีตเองผมก็คิดว่าผมมีคุณสมบัติพวกนี้ไม่ครบเหมือนกัน แต่ประสบการณ์การฝึกฝน (โดยไม่รู้ตัวทำให้คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยตัวเองได้) ลองดูนะครับว่าเราจะสามารถพัฒนาตัวเองได้ยังไงบ้าง (วิธีการที่เขียนนั้นเป็นความเห็นและความเชื่อของผมเองล้วนๆ ไม่ได้มีหลักวิชาการใดๆรองรับทั้งสิ้น จะเชื่อหรือไม่ จะตัดสินใจยังไงอยู่ที่ตัวของท่านเองนะครับ)
ข้อ 1 และข้อ 2 นั้น ผมว่าผมพัฒนามาจากการอ่านหนังสือด้านจิตวิทยาหลายๆเล่ม ... ที่ผ่านมานอกจากหนังสือด้านการลงทุนแล้ว หนังสือแนวจิตวิทยาและการพัฒนาตัวเองนั้นเป็นหนังสือแนวที่ผมชอบอ่านอยู่เรื่อยๆ ... การที่เราจะเป็นคนใจเย็น และไม่ใช่อารมณ์ได้ ลำดับแรกเราต้องรู้จักตัวเอง รู้จักคนอื่น เข้าใจว่าการกระทำต่างๆของเรานั้นเกิดขึ้นโดยมีเบื้องลึกมาจากอะไร หลักการตรงนี้จริงๆแล้วจะคล้ายกับเรื่อง "สติ" ในแนวคิดของพุทธศาสนา สังเกตุนะครับ คนที่ไม่ค่อยมีเหตุผล ชอบใช้อารมณ์ และไม่ใจเย็นนั้น มักจะไม่รู้ตัวหรอกครับว่าตัวเองกำลังเป็นอย่างไร ... เมื่อเราไม่รู้ว่าตัวเองกำลังใช้อารมณ์ เราก็จะหยุดมันไม่ได้ ... ในการลงทุนก็มีผลมากเหมือนกัน... เรามักจะหลอกตัวเองว่ากำลังใช้เหตุผลในการตัดสินใจทั้งๆที่เรากำลังใช้อารมณ์อยู่...
เมื่อเรารู้ตัวว่าเรากำลังโกรธ กำลังหัวเสีย ใช้อารมณ์ นั้นเราก็มีโอกาสที่จะหยุดหรือลดการกระทำของเราได้ง่ายขึ้น ... มีหนังสือด้านจิตวิทยาและพัฒนาตัวเองมากกว่าในร้านหนังสือให้เลือกอ่านกันครับ เล่มที่ผมชอบก็ของนักเขียนชื่อ เดล คาร์เนกี้ มีดังๆอยู่หลายเล่มอาจจะหาซื้อยากซักหน่อยเพราะหนังสือมันเก่ามากแล้ว
ข้อ 3 เรื่องการคิดเป็นเหตุเป็นผล นั้นก็เป็นการกระทำที่อยู่คนละฝั่งของการใช้อารมณ์ แต่ในที่นี้ผมอยากจะขยายเพิ่มเติมอีกหน่อยเพราะว่าการคิดเป็นเหตุเป็นผลอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องเป็นเหตุผลที่ถูกต้องด้วย ... ว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล บางคนเอาเหตุกับผลมาสลับกันมั่ว หรือของบางอย่างไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยก็เอามาเชื่อมโยงกันได้ .... วิธีการลับความคิดด้านเหตุผลของเราให้คมนั้นก็มุขเดิมครับ คือการอ่าน อ่านหนังสือด้านธุรกิจ อ่านหนังสือด้านเศรษฐศาสตร์ รวมถึงหนังสือที่ฝึกด้านตรรกะโดยตรงก็มีขาย (ผมเพิ่งเห็นหนังสือแนวนี้มาขายไม่ได้นานนี้เอง ปกสีขาวๆ แต่ไม่ได้ซื้อมาอ่านหรอกนะครับ ตอนนี้หนังสือท่วมเต็มบ้านยังอ่านไม่หมดเลย) เรื่องของการใช้ตรรกะแบบผิดๆนั้นมีอยู่เยอะครับ แม้แต่ในหนังสือพิมพ์ (จริงๆแล้วเป็นแหล่งที่ผมเจอการใช้ตรรกะแบบผิดๆบ่อยมากๆ) เพราะฉะนั้นแล้วการฝึกตัวเองให้มีทักษะด้านเหตุผลนั้น หาหนังสือที่ผมบอกมาฝึกอ่านๆไปเรื่อยๆนะครับ มันจะค่อยๆซึมไปเอง แล้วก็ต้องระวังการอ่านหนังสือพิมพ์ด้วยครับ อ่านแล้วอย่าไปเชื่อทั้งหมด เพราะจุดผิดๆนี่เพียบเลยครับพี่น้อง... ผมจะเอาตัวอย่างการใช้ตรรกะ ผิดๆมาให้อ่านกันอีกทีนะครับ...
ปล. เอ๊ะอะๆจะฝึกฝนอะไรก็ให้อ่านๆตลอด ไม่รู้เบื่อกันรึเปล่า.... แต่ผมก็ไม่รู้จะแนะนำยังไงนะครับ เพราะผมว่าผมก็พัฒนาตัวเองมาจากการอ่านเยอะเหมือนกัน จะแนะนำในทางที่ตัวเองไม่ถนัดมันก็แปลกๆ
เมื่อมานั่งสังเกตุและวิเคราะห์คน 2 กลุ่มข้างต้นนั้นจะเห็นว่าคนที่เป็น vi ที่ดีได้นั้นมักจะมีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวคือมักจะเป็นคนที่ใจเย็น ความอดทนสูง สามารถอดทนรอดูผลลัพธ์ในการลงทุนลงแรงได้นานกว่า และที่สำคัญคือ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ในการตัดสินใจ ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนั้นก็จะขาดคุณสมบัติเหล่านี้ไปบางข้อ หรืออาจจะหลายๆข้อ
การวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผล และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ เป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่ามีความสำคัญมากในการเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าที่ดี .... ผมเคยอ่านเจอว่า 2 เรื่องที่คนมักจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล คือ ความรัก และเงิน.. อาจจะไม่เป็นจริงเสมอในทุกกรณีหรือในทุกคน แต่ผมก็เชื่อว่าประโยคดังกล่าวมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อย
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ผมเห็นว่าคนบางคน เรียกได้ว่าเกิดมาเป็นนักลงทุนที่ดีได้เลย เพราะมีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน เพียงแค่เรียนรู้ให้ถูกจุด อ่านหนังสือเพิ่มเติมอีกหน่อยก็สามารถจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้ไม่ยากนัก ... แต่คนที่คิดว่าตัวเองขาดสิ่งเหล่านี้ไปก็ไม่ต้องเสียใจนะครับ เราอาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าแต่ก็ไม่ได้ความว่าจะไม่สามารถฝึกตัวเองให้เป็น vi ที่ได้ ...
1. ความอดทนใจเย็น
2. การไม่ใช้อารมณ์ (ไม่มีอคติ หรือลำเอียง)
3. การคิดเป็นเหตุเป็นผล
คุณสมบัติ 3 อย่างนี้ผมว่าคนเราสามารถฝึกกันได้ครับ อาจจะใช้เวลานานหน่อย แต่ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะลอง เพราะคุณสมบัติเหล่านี้ผมว่าไม่ใช่ว่าจะมีผลดีกับเฉพาะการลงทุนของเราเท่านั้น แต่มีผลดีต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆอีกมากมาย ในอดีตเองผมก็คิดว่าผมมีคุณสมบัติพวกนี้ไม่ครบเหมือนกัน แต่ประสบการณ์การฝึกฝน (โดยไม่รู้ตัวทำให้คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยตัวเองได้) ลองดูนะครับว่าเราจะสามารถพัฒนาตัวเองได้ยังไงบ้าง (วิธีการที่เขียนนั้นเป็นความเห็นและความเชื่อของผมเองล้วนๆ ไม่ได้มีหลักวิชาการใดๆรองรับทั้งสิ้น จะเชื่อหรือไม่ จะตัดสินใจยังไงอยู่ที่ตัวของท่านเองนะครับ)
ข้อ 1 และข้อ 2 นั้น ผมว่าผมพัฒนามาจากการอ่านหนังสือด้านจิตวิทยาหลายๆเล่ม ... ที่ผ่านมานอกจากหนังสือด้านการลงทุนแล้ว หนังสือแนวจิตวิทยาและการพัฒนาตัวเองนั้นเป็นหนังสือแนวที่ผมชอบอ่านอยู่เรื่อยๆ ... การที่เราจะเป็นคนใจเย็น และไม่ใช่อารมณ์ได้ ลำดับแรกเราต้องรู้จักตัวเอง รู้จักคนอื่น เข้าใจว่าการกระทำต่างๆของเรานั้นเกิดขึ้นโดยมีเบื้องลึกมาจากอะไร หลักการตรงนี้จริงๆแล้วจะคล้ายกับเรื่อง "สติ" ในแนวคิดของพุทธศาสนา สังเกตุนะครับ คนที่ไม่ค่อยมีเหตุผล ชอบใช้อารมณ์ และไม่ใจเย็นนั้น มักจะไม่รู้ตัวหรอกครับว่าตัวเองกำลังเป็นอย่างไร ... เมื่อเราไม่รู้ว่าตัวเองกำลังใช้อารมณ์ เราก็จะหยุดมันไม่ได้ ... ในการลงทุนก็มีผลมากเหมือนกัน... เรามักจะหลอกตัวเองว่ากำลังใช้เหตุผลในการตัดสินใจทั้งๆที่เรากำลังใช้อารมณ์อยู่...
เมื่อเรารู้ตัวว่าเรากำลังโกรธ กำลังหัวเสีย ใช้อารมณ์ นั้นเราก็มีโอกาสที่จะหยุดหรือลดการกระทำของเราได้ง่ายขึ้น ... มีหนังสือด้านจิตวิทยาและพัฒนาตัวเองมากกว่าในร้านหนังสือให้เลือกอ่านกันครับ เล่มที่ผมชอบก็ของนักเขียนชื่อ เดล คาร์เนกี้ มีดังๆอยู่หลายเล่มอาจจะหาซื้อยากซักหน่อยเพราะหนังสือมันเก่ามากแล้ว
ข้อ 3 เรื่องการคิดเป็นเหตุเป็นผล นั้นก็เป็นการกระทำที่อยู่คนละฝั่งของการใช้อารมณ์ แต่ในที่นี้ผมอยากจะขยายเพิ่มเติมอีกหน่อยเพราะว่าการคิดเป็นเหตุเป็นผลอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องเป็นเหตุผลที่ถูกต้องด้วย ... ว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล บางคนเอาเหตุกับผลมาสลับกันมั่ว หรือของบางอย่างไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยก็เอามาเชื่อมโยงกันได้ .... วิธีการลับความคิดด้านเหตุผลของเราให้คมนั้นก็มุขเดิมครับ คือการอ่าน อ่านหนังสือด้านธุรกิจ อ่านหนังสือด้านเศรษฐศาสตร์ รวมถึงหนังสือที่ฝึกด้านตรรกะโดยตรงก็มีขาย (ผมเพิ่งเห็นหนังสือแนวนี้มาขายไม่ได้นานนี้เอง ปกสีขาวๆ แต่ไม่ได้ซื้อมาอ่านหรอกนะครับ ตอนนี้หนังสือท่วมเต็มบ้านยังอ่านไม่หมดเลย) เรื่องของการใช้ตรรกะแบบผิดๆนั้นมีอยู่เยอะครับ แม้แต่ในหนังสือพิมพ์ (จริงๆแล้วเป็นแหล่งที่ผมเจอการใช้ตรรกะแบบผิดๆบ่อยมากๆ) เพราะฉะนั้นแล้วการฝึกตัวเองให้มีทักษะด้านเหตุผลนั้น หาหนังสือที่ผมบอกมาฝึกอ่านๆไปเรื่อยๆนะครับ มันจะค่อยๆซึมไปเอง แล้วก็ต้องระวังการอ่านหนังสือพิมพ์ด้วยครับ อ่านแล้วอย่าไปเชื่อทั้งหมด เพราะจุดผิดๆนี่เพียบเลยครับพี่น้อง... ผมจะเอาตัวอย่างการใช้ตรรกะ ผิดๆมาให้อ่านกันอีกทีนะครับ...
ปล. เอ๊ะอะๆจะฝึกฝนอะไรก็ให้อ่านๆตลอด ไม่รู้เบื่อกันรึเปล่า.... แต่ผมก็ไม่รู้จะแนะนำยังไงนะครับ เพราะผมว่าผมก็พัฒนาตัวเองมาจากการอ่านเยอะเหมือนกัน จะแนะนำในทางที่ตัวเองไม่ถนัดมันก็แปลกๆ
FRIDAY, FEBRUARY 20, 2009
หายหน้าไปนาน
ผมนั่งดูที่ตัวเองเคย update blog ไว้ครั้งล่าสุดนี่ก็นานมากๆแล้ว เมื่อเดือน Oct ปี 2008 นู้นแน่ะ ที่ไม่ได้ up ก็มีสาเหตุหลายๆอย่าง เช่น ขี้เกียจบ้าง หมดมุขบ้างไม่รู้จะ post อะไรเพิ่ม เซ็งๆนิดหน่อยจากราคาหุ้นที่ลดลงเยอะบ้าง เลยทำให้ yoyoway กลายเป็น Blog ล้างไปนาน วันนี้นึกครึ้มใจมีอารมณ์มา Up ใหม่ ความขี้เกียจเริ่มลดลง มี idea ใหม่ๆมา post เพิ่มขึ้น หายเซ็งจากราคาหุ้นแล้ว (ออกแนวชินๆซะมากกว่า :)
ที่หายหน้าไปก็ไม่ใช่ว่าออกจากตลาดหุ้นหนีไปไหนหรอกนะครับ ก็ยังคงลงทุนอยู่เต็มตัวในตลาดเหมือนเดิม แล้วก็ระหว่างที่หายหน้าไปก็อ่านๆๆ อ่านหนังสือ อ่านบทความ อ่านอะไรอีกมากมาย เพื่อเพิ่มมุมมองใหม่ๆในการลงทุนในมากขึ้น ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มเดิมๆ แต่เอามาอ่านในภาวะที่แตกต่างกัน ในช่วงตลาดดีกับตลาดแย่ เวลาเราอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเล่มเดียวกัน มุมมองในการอ่านมันก็ต่างกันเยอะนะครับ
เช่นหนังสือพวกเกี่ยวกับการลงทุนของ Buffett ... สิ่งที่เรียนรู้จากการอ่านก็ต่างกันไป
- ในช่วงที่เศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นดี: ผมเลือกจับธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทอาจจะไม่ได้แข็งแกร่งมาก แต่เป็นบริษัทเล็กที่โตกระจาย ปีละหลายสิบ% ราคาหุ้นก็ยังคงเน้นถูกๆ ช่วงนั้นหุ้นตัวไหน Growth ไม่ถึง 30% นี่แทบไม่อยากจะดูเลยครับ ..
- ช่วงเศรษฐกิจแย่ ตลาดหุ้นแย่: เอาเล่มเดิมมาอ่านใหม่ ใจความสำคัญที่จับได้คือ เลือกธุรกิจที่แข็งแกร่ง กำไรสามารถเติบโตได้ในระยะยาว พวกโตเร็วระยะสั้นแต่ไม่มั่นคงนี่หลุดไปหมด ให้ความสำคัญกับ Margin of Safety เป็นพิเศษ เลือกหุ้นที่มี Cash flow ดี สภาพคล่องทางการเงินสูงๆ บริษัทจะเอาตัวรอดได้และยังจ่ายปันผลได้งามด้วย
หลังจากเอาหนังสือเก่าๆมาอ่าน + ซื้อหนังสือใหม่ๆมาอ่านเพิ่มเติม Style การลงทุนของผมก็เปลี่ยนไป ไม่ได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ยังคงเน้นความเป็น Value Investing อยู่ ยังเน้นคุณค่าอยู่ ไม่รู้ว่าจะเป็นการพัฒนาขึ้น หรือว่ากำลังก้าวถอยหลังผมก็ไม่อาจรู้ได้ ... คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
ที่หายหน้าไปก็ไม่ใช่ว่าออกจากตลาดหุ้นหนีไปไหนหรอกนะครับ ก็ยังคงลงทุนอยู่เต็มตัวในตลาดเหมือนเดิม แล้วก็ระหว่างที่หายหน้าไปก็อ่านๆๆ อ่านหนังสือ อ่านบทความ อ่านอะไรอีกมากมาย เพื่อเพิ่มมุมมองใหม่ๆในการลงทุนในมากขึ้น ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มเดิมๆ แต่เอามาอ่านในภาวะที่แตกต่างกัน ในช่วงตลาดดีกับตลาดแย่ เวลาเราอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเล่มเดียวกัน มุมมองในการอ่านมันก็ต่างกันเยอะนะครับ
เช่นหนังสือพวกเกี่ยวกับการลงทุนของ Buffett ... สิ่งที่เรียนรู้จากการอ่านก็ต่างกันไป
- ในช่วงที่เศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นดี: ผมเลือกจับธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทอาจจะไม่ได้แข็งแกร่งมาก แต่เป็นบริษัทเล็กที่โตกระจาย ปีละหลายสิบ% ราคาหุ้นก็ยังคงเน้นถูกๆ ช่วงนั้นหุ้นตัวไหน Growth ไม่ถึง 30% นี่แทบไม่อยากจะดูเลยครับ ..
- ช่วงเศรษฐกิจแย่ ตลาดหุ้นแย่: เอาเล่มเดิมมาอ่านใหม่ ใจความสำคัญที่จับได้คือ เลือกธุรกิจที่แข็งแกร่ง กำไรสามารถเติบโตได้ในระยะยาว พวกโตเร็วระยะสั้นแต่ไม่มั่นคงนี่หลุดไปหมด ให้ความสำคัญกับ Margin of Safety เป็นพิเศษ เลือกหุ้นที่มี Cash flow ดี สภาพคล่องทางการเงินสูงๆ บริษัทจะเอาตัวรอดได้และยังจ่ายปันผลได้งามด้วย
หลังจากเอาหนังสือเก่าๆมาอ่าน + ซื้อหนังสือใหม่ๆมาอ่านเพิ่มเติม Style การลงทุนของผมก็เปลี่ยนไป ไม่ได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ยังคงเน้นความเป็น Value Investing อยู่ ยังเน้นคุณค่าอยู่ ไม่รู้ว่าจะเป็นการพัฒนาขึ้น หรือว่ากำลังก้าวถอยหลังผมก็ไม่อาจรู้ได้ ... คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
หุ้นอสังหา
จากกระใน thaivi.com มีคนถามเรื่องหุ้นอสังหาเอาไว้ พอดีผมตอบซะยาวเลยเอามาลงไว้ในนี้ด้วยดีกว่า
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?p=467433#467433
Amadeus wrote:
กำลังจะเริ่มศึกษากลุ่มนี้ เห็นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้มากแถมเป็นหนี้ระยะยาวไม่น้อยทีเดียว (เอาเฉพาะพวกที่ขายบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้า คอนโด นะครับ) แล้วของเก่าก็ยังขายไม่หมด ก็ต้องขึ้นโครงการใหม่ตลอด คอนโดทำเลทองมักจะขายหมด แต่พวกบ้านเดี่ยวมักจะเหลือเป็นสต็อกไว้ หลายบริษัทโตขึ้นเพราะว่าสินค้าคงคลังมากขึ้นและหนี้ก็เพิ่มด้วย แต่กำไรก็โตบ้างตกบ้าง รายรับที่รับรู้เข้ามาในงบเข้ามาตั้งแต่ตอนโอน หรือตอนจองครับ แล้วถ้าเป็นกรณีเช่าซื้อเค้าบันทึกรายได้เหมือนกับโอนแล้วเลยหรือป่าวครับ ขอคำแนะนำเวลาจะศึกษาหุ้นกลุ่มนี้หน่อยครับ
Yoyo ตอบ
... หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ดูจะไม่ค่อยดี การมีหนี้เยอะๆนี่เสี่ยงมากครับ อย่างที่พี่ Amadeus บอกว่าอสังหาหลายๆตัวมีหนี้เยอะ ทำให้ทั้งกลุ่มดูอันตรายและควรห่างๆไว้ แต่ในวิกฤตผมก็มองว่ามักจะมีโอกาสอยู่เสมอ ..
ในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังแย่ ก็จะมีบริษัทที่ล้มหายตายจากไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีบริษัทบางแห่งที่ยังเอาตัวรอดอยู่ได้ บ้างเจ็บหนัก บ้างเจ็บนิดหน่อย
เมื่ออุตสาหกรรมกลับมาอยู่ในภาวะปกติ คู่แข่งในตลาดจะแบ่งได้ตามลักษณะดังนี้
1. เจ็บหนักถอนตัวออกไป ... พวกนี้ก็ไม่ใช่คู่แข่งอีกต่อไป
2. เจ็บหนัก แต่ยังสู้ไหวอยู่ ... ก็จะทำโครงการออกมาแข่งกัน แต่เนื่องจากเจ็บหนัก ทำให้กลุ่มนี้ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรถึงจะกลับมาได้ เพราะในช่วงอสังหาแย่ๆ สภาพคล่องจะของกลุ่มนี้จะเหือดหายไปพอสมควร จะกลับมาทำโครงการใหม่ก็คงทำได้แต่โครงการเล็กๆพอเลี้ยงตัวไปก่อน
3. เจ็บนิดหน่อย ... กลุ่มนี้แหละครับที่ผมว่าหลังจากผ่านวิกฤตกันไปได้ จะกลับมายิ่งใหญ่กันอีกครั้ง อาจจะใหญ่กว่าก่อนวิกฤตด้วยซ้ำ เพราะคู่แข่งหายไปหมดทำให้คนแย่งเค้กลดลง ในขณะที่เค้กเองก็อาจจะใหญ่ขึ้นด้วย เพราะในช่วงวิกฤตมีการชะลอ demand ไว้ เมื่อกลับมาภาวะปกติ demand ที่อั้นไว้ก็จะค่อยๆออกมา
4. คู่แข่งใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในอุตหสากรรมนี้ .. กลุ่มนี้อาจจะมีสภาพคล่องที่ดี เพราะยังไม่เคยเจ็บตัวมาก่อน มีเงินทำโครงการใหญ่ๆได้ แต่สิ่งที่กลุ่มนี้ขาดไปคือความน่าเชื่อถือในการทำโครงการ พวกเราในฐานะก็เป็นหนึ่งในผู้บริโภคอสังหาก็น่าจะพอมองออกนะครับว่า ความน่าเชื่อถือของผู้ทำโครงการนั้นเป็น Key success factor ที่สำคัญลำดับต้นๆในธุรกิจอสังหา เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้ก็จะใช้เวลาอีกพอสมควรถึงจะมีโอกาสมาเทียบกับพวกที่อยู่ในอุตสาหกรรมมาก่อนได้
สรุปว่า กลุ่มอสังหาโดยรวมผมว่าก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ ... แต่ถ้าเราสามารถหาหุ้นที่เป็นกลุ่มที่ 3 คือพวกที่จะเจ็บนิดหน่อยเมื่อเกิดวิกฤต และพร้อมที่จะกลับมายิ่งใหญ่เมื่อวิกฤตผ่านไป กลุ่มนี้ผมว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากครับ ยิ่งถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคา discount เยอะๆ
ผมซื้อหุ้นอสังหาไม่ได้หวังว่าจะกำไรในปีนี้ปีหน้าครับเพราะอุตสาหกรรมคงแย่ลงจริงๆ อย่างที่หลายๆคนก็คงรู้กัน แต่ผมหวังกำไรหลายๆเด้งในอีกหลายๆปีข้างหน้า.. ในขณะที่ระหว่างรอก็กินปันผลรอไปเรื่อยๆก่อน
คุณสมบัติที่สนใจในกลุ่มนี้คือ
- หนี้น้อยๆ
- มี Backlog ช่วยค้ำไว้ระดับนึง
- มีความแข็งแกร่งในตลาดนั้นๆ
- มีปันผลสูงๆ yield ดีๆ เอาไว้รอวิกฤตผ่านไป
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?p=467433#467433
Amadeus wrote:
กำลังจะเริ่มศึกษากลุ่มนี้ เห็นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้มากแถมเป็นหนี้ระยะยาวไม่น้อยทีเดียว (เอาเฉพาะพวกที่ขายบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้า คอนโด นะครับ) แล้วของเก่าก็ยังขายไม่หมด ก็ต้องขึ้นโครงการใหม่ตลอด คอนโดทำเลทองมักจะขายหมด แต่พวกบ้านเดี่ยวมักจะเหลือเป็นสต็อกไว้ หลายบริษัทโตขึ้นเพราะว่าสินค้าคงคลังมากขึ้นและหนี้ก็เพิ่มด้วย แต่กำไรก็โตบ้างตกบ้าง รายรับที่รับรู้เข้ามาในงบเข้ามาตั้งแต่ตอนโอน หรือตอนจองครับ แล้วถ้าเป็นกรณีเช่าซื้อเค้าบันทึกรายได้เหมือนกับโอนแล้วเลยหรือป่าวครับ ขอคำแนะนำเวลาจะศึกษาหุ้นกลุ่มนี้หน่อยครับ
Yoyo ตอบ
... หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ดูจะไม่ค่อยดี การมีหนี้เยอะๆนี่เสี่ยงมากครับ อย่างที่พี่ Amadeus บอกว่าอสังหาหลายๆตัวมีหนี้เยอะ ทำให้ทั้งกลุ่มดูอันตรายและควรห่างๆไว้ แต่ในวิกฤตผมก็มองว่ามักจะมีโอกาสอยู่เสมอ ..
ในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังแย่ ก็จะมีบริษัทที่ล้มหายตายจากไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีบริษัทบางแห่งที่ยังเอาตัวรอดอยู่ได้ บ้างเจ็บหนัก บ้างเจ็บนิดหน่อย
เมื่ออุตสาหกรรมกลับมาอยู่ในภาวะปกติ คู่แข่งในตลาดจะแบ่งได้ตามลักษณะดังนี้
1. เจ็บหนักถอนตัวออกไป ... พวกนี้ก็ไม่ใช่คู่แข่งอีกต่อไป
2. เจ็บหนัก แต่ยังสู้ไหวอยู่ ... ก็จะทำโครงการออกมาแข่งกัน แต่เนื่องจากเจ็บหนัก ทำให้กลุ่มนี้ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรถึงจะกลับมาได้ เพราะในช่วงอสังหาแย่ๆ สภาพคล่องจะของกลุ่มนี้จะเหือดหายไปพอสมควร จะกลับมาทำโครงการใหม่ก็คงทำได้แต่โครงการเล็กๆพอเลี้ยงตัวไปก่อน
3. เจ็บนิดหน่อย ... กลุ่มนี้แหละครับที่ผมว่าหลังจากผ่านวิกฤตกันไปได้ จะกลับมายิ่งใหญ่กันอีกครั้ง อาจจะใหญ่กว่าก่อนวิกฤตด้วยซ้ำ เพราะคู่แข่งหายไปหมดทำให้คนแย่งเค้กลดลง ในขณะที่เค้กเองก็อาจจะใหญ่ขึ้นด้วย เพราะในช่วงวิกฤตมีการชะลอ demand ไว้ เมื่อกลับมาภาวะปกติ demand ที่อั้นไว้ก็จะค่อยๆออกมา
4. คู่แข่งใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในอุตหสากรรมนี้ .. กลุ่มนี้อาจจะมีสภาพคล่องที่ดี เพราะยังไม่เคยเจ็บตัวมาก่อน มีเงินทำโครงการใหญ่ๆได้ แต่สิ่งที่กลุ่มนี้ขาดไปคือความน่าเชื่อถือในการทำโครงการ พวกเราในฐานะก็เป็นหนึ่งในผู้บริโภคอสังหาก็น่าจะพอมองออกนะครับว่า ความน่าเชื่อถือของผู้ทำโครงการนั้นเป็น Key success factor ที่สำคัญลำดับต้นๆในธุรกิจอสังหา เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้ก็จะใช้เวลาอีกพอสมควรถึงจะมีโอกาสมาเทียบกับพวกที่อยู่ในอุตสาหกรรมมาก่อนได้
สรุปว่า กลุ่มอสังหาโดยรวมผมว่าก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ ... แต่ถ้าเราสามารถหาหุ้นที่เป็นกลุ่มที่ 3 คือพวกที่จะเจ็บนิดหน่อยเมื่อเกิดวิกฤต และพร้อมที่จะกลับมายิ่งใหญ่เมื่อวิกฤตผ่านไป กลุ่มนี้ผมว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากครับ ยิ่งถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคา discount เยอะๆ
ผมซื้อหุ้นอสังหาไม่ได้หวังว่าจะกำไรในปีนี้ปีหน้าครับเพราะอุตสาหกรรมคงแย่ลงจริงๆ อย่างที่หลายๆคนก็คงรู้กัน แต่ผมหวังกำไรหลายๆเด้งในอีกหลายๆปีข้างหน้า.. ในขณะที่ระหว่างรอก็กินปันผลรอไปเรื่อยๆก่อน
คุณสมบัติที่สนใจในกลุ่มนี้คือ
- หนี้น้อยๆ
- มี Backlog ช่วยค้ำไว้ระดับนึง
- มีความแข็งแกร่งในตลาดนั้นๆ
- มีปันผลสูงๆ yield ดีๆ เอาไว้รอวิกฤตผ่านไป
MONDAY, OCTOBER 20, 2008
บทเรียนจากกระทู้เก่า กับ การใช้ Margin
พอดีเพิ่งตอบกระทู้อันหนึ่งในเวป thaivi ไป แล้วเนื้อหาก็เป็นสิ่งที่ผมตั้งใจจะเขียนใน Blog นี้อยู่แล้วครับ เลยอยากให้ลองไปอ่านกระทู้ตัวเต็มเลยดีกว่า จะเห็นว่า ณ สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่างๆเกิดอะไรขึ้นบ้าง
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=32466&postdays=0&postorder=asc&start=0
อย่าให้ความผิดพลาดนั้นทำให้เราท้อแท้นะครับ
กลับกัน ถ้าเรารู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นๆ มันจะยิ่งทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม
เปรียบกับการเล่นกล้าม เมื่อเราใช้งานกล้ามเนื้อจะเกิดอาการเจ็บ ถ้าเราได้สารอาหารที่เพียงพอ ร่างกายก็จะสร้างซึมซับสารอาหารนั้นมาสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทำให้เรานั้นแข็งแกร่งมากขึ้น
ความผิดพลาดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆก็เช่นกัน ถ้าเราได้เรียนรู้จากมัน จิตใจก็จะซึมซับบทเรียนต่างๆ แล้วทำให้เราเป็นคนที่พัฒนาขึ้นได้เสมอ
ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกว่า กล้ามผมเริ่มจะใหญ่ขึ้นแล้วครับ :)
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=32466&postdays=0&postorder=asc&start=0
อย่าให้ความผิดพลาดนั้นทำให้เราท้อแท้นะครับ
กลับกัน ถ้าเรารู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นๆ มันจะยิ่งทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม
เปรียบกับการเล่นกล้าม เมื่อเราใช้งานกล้ามเนื้อจะเกิดอาการเจ็บ ถ้าเราได้สารอาหารที่เพียงพอ ร่างกายก็จะสร้างซึมซับสารอาหารนั้นมาสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทำให้เรานั้นแข็งแกร่งมากขึ้น
ความผิดพลาดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆก็เช่นกัน ถ้าเราได้เรียนรู้จากมัน จิตใจก็จะซึมซับบทเรียนต่างๆ แล้วทำให้เราเป็นคนที่พัฒนาขึ้นได้เสมอ
ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกว่า กล้ามผมเริ่มจะใหญ่ขึ้นแล้วครับ :)