วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สอบถามเกี่ยวกับการยื่นแบบ ภงด. 90 ของเงินปันผลจากกองทุนรวมทุกประเภท เช่น LTF, FIF, กองทุนอสังหา และกองทุนทั่วๆไป

สอบถามเกี่ยวกับการยื่นแบบ ภงด. 90 ของเงินปันผลจากกองทุนรวมทุกประเภท เช่น LTF, FIF, กองทุนอสังหา และกองทุนทั่วๆไป

ถาม
เงินปันผลจากกองทุนรวมทุกประเภท เช่น LTF, FIF, กองทุนอสังหา และกองทุนทั่วๆไป
1. ถ้า ให้หัก ภาษี ณ ที่จ่าย 10% ไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีเงินได้ในปีนั้นไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อัตรา 10% ในการยื่นแบบ ภงด. 90 จะต้องนำเงินปันผลที่ได้รับไปคำนวณเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) ข้อย่อย 2. หรือ มาตรา 40 (8) ข้อย่อย 2. กันแน่ครับ เพื่อเป็นการขอภาษีที่ถูกหักไว้คืน ?
2. ในกรณีเดียวกับข้อ 1. แต่เป็น ไม่ให้หัก ภาษี ณ ที่จ่าย 10% ในการยื่นแบบ ภงด. 90 จะต้องนำเงินปันผลที่ได้รับไปคำนวณเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) ข้อย่อย 2. หรือมาตรา 40(8) ข้อย่อย 2. เพื่อแจ้งเป็นเงินได้ ?
หมายเหตุ
1. มาตรา 40 (4) ข้อย่อย 2 คือ เงินปันผลจากกองทุนรวม (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10)
2. มาตรา 40 (8) ข้อย่อย 2 คือ เงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ (กรณีไม่ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10.0 แต่ขอคืนหรือขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น)
ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณที่ให้การบริการด้วยดีโดยเสมอมา


ตอบ
รายได้ในรูปของเงินปันผล จากกองทุนรวม สามารถเลือกนำมารวมเป็นเงินได้ (ยื่นแบบ ภงด. 90) ได้ ไม่ว่าให้ บลจ. หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ โดยกรณีที่จะยื่นเป็นเงินได้ตาม ม.40(4) คือเมื่อได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมที่จัดตั้งก่อน ปี 2535 (ไม่เข้าข่ายตาม พรบ. หลักทรัพย์ฯ ปี 2535) สำหรับเงินได้ตาม ม. 40(8) คือเมื่อได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมที่จัดตั้งหลังปี 2535 (เข้าข่ายตาม พรบ. หลักทรัพย์ฯ ปี 2535) ค่ะ

ทั้งนี้ ควรสอบถาม กองทุนรวมของ บลจ. ที่ได้รับเงินปันผลอีกครั้งด้วยนะคะ ว่ากองทุนฯที่ท่านได้รับเงินปันผล จัดตั้งก่อน หรือ หลัง ปี 2535 ซึ่งจะมีผลต่อการยื่นแบบ ภงด. ค่ะ

อนึ่ง หากเป็นกองทุนฯ จาก บลจ. กสิกรไทย จะเข้าข่ายใน ม.40(8) ทั้งหมด เนื่องจาก กองทุนฯ จาก บลจ. กสิกรไทย เข้าข่ายตาม พรบ. หลักทรัพย์ฯ ปี 2535 (จัดตั้งหลังปี 2535) ทั้งหมดค่ะ

from https://www.k-weplan.com/WebboardDetail.aspx?mid=76&qid=2811

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น