เจาะลึก AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF
หุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล (AYFLTFDIV) และอยุธยาหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (AYFDIVRMF) เป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดี ในรอบ 10 เดือนให้ผลตอบแทนสูงถึง 60%
โมเดลการลงทุนกองทุนทั้ง 2 เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดดีเป็นหลัก รวมถึงหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในระดับสูง และบริษัทที่มีโอกาสการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งบริษัทเหล่านี้ นอกจากต้องใช้เงินลงทุนแล้ว ยังมีกระแสเงินสดเหลือเพียงพอจ่ายปันผลในระดับที่สูงได้ด้วย
เป็นโมเดลที่ใช้กับกองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล และได้ผลดี
โมเดลนี้ อยุธยาเขาเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2006
กลยุทธ์การบริหารพอร์ตลงทุน ใช้สไตล์ Active ไม่ใช่ ซื้อแล้วถือยาว
ระหว่างทาง ผู้บริหารกองทุนจะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตอยู่ตลอดเวลา ตามจังหวะและโอกาสการลงทุน
แต่โดยรวมยังคงโมเดลหลักๆเอาไว้
ไม่ได้กระโดดไป กระโดดมาตามอารมณ์ของตลาด จนละเลยวินัยและเสีย Theme การลงทุน
กองทุนทั้ง 2 นี้
อยุธยา เอาโมเดลที่ใช้กับกองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล ลงทุนมาทำเป็นLTF และ RMF ครับ
อยุธยา มีกองทุน อยุธยาหุ้นปันผล มาระยะหนึ่ง
จนมั่นใจแล้วว่าเป็นกองทุนที่ดี และน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุน
เขาจึงเอากองทุนนี้ มาทำ
ความตั้งใจของอยุธยา ช่วงนั้น ก็คือ จะให้กองทุนนี้..
เป็นกองทุนสำหรับผู้ต้องการประหยัดภาษีเป็นหลักครับ
โดยเฉพาะกับคนที่ลงทุนกับกองทุน อยุธยาหุ้นปันผล มาแล้ว
ย่อมต้องเห็นแล้วว่าผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร
ถ้ายังมีรายได้และยังต้องเสียภาษีเงินได้ ก็สามารถซื้อ 2 กองนี้เพื่อลดหย่อนภาษีได้
แต่ ถ้าไม่นำไปหักภาษี
…ไม่แนะนำครับ
ไม่มีประโยชน์และอาจเป็นโทษก็ได้ ถ้าหากไปขายออกอาจมีปัญหากับสรรพากรได้
ลงทุนในกองทุนอยุธยาหุ้นปันผล เดิมดีแล้ว
อันนี้คือรายละเอียดของทั้ง 2 กองทุน
ถ้าไปดูผลการดำเนินงานของ AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF) เทียบกับ Benchmark
กองทุนนี้ Outperform Benchmark ได้ทุกปี
ดูจากประวัติผลการดำเนินงานย้อนหลัง ทำได้ดี
3 เดือน ทำได้ 23.06%
6 เดือน ทำได้45.55%
ตั้งแต่ต้นปี ทำได้ 60.38%
1 ปี ทำได้ 75.31%
3 ปี ทำได้ 56.23%
อันนี้ผลตอบแทนของอยุธยาหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (AYFDIVRMF
3 เดือน ทำได้ 23.11% %
6 เดือน ทำได้45.65%
ตั้งแต่ต้นปี ทำได้ +60.10%
1 ปี ทำได้ +75.77%
3 ปี ทำได้ +61.83%(
นี่คือ ดัชนีตลาดหุ้น
Benchmark ที่ใช้วัดกองทุนทั้ง 2 กองทุน
3 เดือน ทำได้ 15.03%
6 เดือน ทำได้ 28.94%
ตั้งแต่ปี ทำได้ 34.02%
1 ปี ทำได้ 43.64%
3 ปี ทำได้ 8.51%
กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล จ่ายเงินปันผลมาแล้ว 5 ครั้ง รวม 2.84 บาทต่อหน่วยลงทุน
เอา Portfolio ล่าสุดไปดูต่อนะครับ
อันนี้เป็นรายกลุ่ม ของ AYFLTFDIV
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ต.ค. 2553
การลงทุนกระจายไปในกลุ่มต่างๆดังนี้
หมวดพาณิชย์24.91%
หมวดธนาคาร16.62%
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์12.79%
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค11.47%
หมวดวัสดุก่อสร้าง9.51%
ส่วนอันนี้เป็นพอร์ตของ AYFDIVRMF หมวดพาณิชย์24.94%
หมวดธนาคาร16.40%
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์12.46%
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค11.54%
หมวดวัสดุก่อสร้าง10.57%
จะเห็นจากหุ้นรายข้างบนมีทั้งบริษัทในกลุ่มต่างๆปนๆกันอยู่ครับ
แต่เขาไม่ได้จัดสรรเงินลงทุนตามกลุ่มนะครับ
เขาดูที่ตัวบริษัทจึงเป็นผลที่ตามมา
ถ้าไปดูผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ยาวหน่อย
จะเห็นได้ชัดว่า AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF ไม่ใช่กองทุนที่ให้น้ำหนักตามดัชนีแน่นอนครับ
เพราะมันเบี่ยงออกจากดัชนีอย่างชัดเจน
มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่ช่วงจังหวะของตลาด
เขาสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่มี Valuation น่าสนใจได้หลากหลาย sector
จะเลือกหุ้นลงทุนคละเคล้ากันไป
ทั้งหุ้นที่ให้เงินปันผลสูงและหุ้นเติบโต และเน้นลงทุนระยะกลางถึงยาว
ตัวที่อยู่ใน Top ten ของเขา
เป็นหุ้นที่มีมีกระแสเงินสดดีๆ
และบริษัทหลักๆที่เขาลงทุน แทบทั้งหมดเป็นที่รู้จันดีทั้งนั้น
มีตัวอย่างที่ยกขึ้นตรงนี้สักเล็กน้อย
เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆว่า ธุรกิจในกลุ่มนี้เขามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
ข้อมูลพวกนี้เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
อย่าง บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป AYFLTFDIV ถืออยู่ 10.42% ส่วน AYFDIVRMF ถือ 10.19%
ชื่อ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป อาจไม่คุ้นเคยหูคนไทยนัก แต่แบงก์ทิสโก้ หลายคนคงเคยใช้บริการ
อันนี้เป็นตัวอย่างความเคลื่อนไหวของธุรกิจนี้ครับ พอให้เห็นภาพว่า ธุรกิจพวกนี้กำลังเติบโต
บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป มีกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งมากกว่า 20% ต่อปี เป็นหุ้นทีมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี จ่ายปันผลดีต่อเนื่อง สูงที่สุดในกลุ่มที่ 5%
เป้าหมายการเติบโตสินเชื่อปี 2554 ที่ 15% โดยมีเป้าหมายการขยายสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ 15% สินเชื่อ SME 15% และวางเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเช่าซื้อที่ 10%
ตั้งเป้า ROE สูงกว่า 20%: เนื่องจาการเติบโตสินเชื่อดี บริหารส่วนต่างอัตรา
ดอกเบี้ยสุทธิได้ดี รายได้จากค่าธรรมเนียมขยายตัว บริษัทวางแผนคงนโยบายการจ่ายปันผลขั้นต่ำ 50%
นี้คือพื้นฐานของหุ้นที่ดูจากผลกำไร กำไร ไม่ใช่ sentiment ของตลาด
ตัวที่สอง…
บมจ.สยามแม็คโคร AYFLTFDIV ถืออยู่10.20%ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 9.99% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
สยามแม็คโคร ดำเนินธุรกิจประเภทศูนย์ค้าส่งในรูปแบบ เป็นบริษัทในกลุ่มเอสเอชวีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภททั่วโลก
ปัจจุบันศูนย์ค้าส่งแม็คโครเปิดให้บริการอยู่ใน 6 ประเทศ และมีสาขามากกว่า 165 สาขาทั่วโลก
สำหรับแม็คโครในประเทศไทย เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2532 ที่สาขาลาดพร้าว ปัจจุบัน มีอยู่ 47 สาขา
20ปีที่เขาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือเฟื่องฟู
บริษัทนี้ ยังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกจำนวนกว่า 2 ล้านคน
เมื่อไปดูยอดขายและผลกำไรของบริษัทแล้ว ปรากฏว่ายอดขายและกำไรดีมาก
สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.7 เป็นผลมาจาก
สินค้าที่มีกำไรขั้นต้นสูงมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น
สยามแม็คโคร เป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสด และการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น
ตัวที่สาม …บมจ. ซีพี ออลล์ หรือ เซเว่นอีเลฟเว่น
ตัวนี้ AYFLTFDIV ถืออยู่9.73%ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 9.73% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
CPALL เป็นผู้นำตลาด แต่ก็ยังซื้อขายด้วย PEG ที่ต่ำสุดหากเทียบกับหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจ
คล้ายคลึงกันในกลุ่มพาณิชย์ (SET) ที่ระดับ 0.6 เท่า
สำหรับปี 54 อีกทั้งยังมีอัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่สูงคือ 39.6% อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี 53 เป็น 26% และปี 54 เป็น 33%
อัตราการทำกำไรขั้นต้นในไตรมาส 3 ก็เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยจากช่วงต้นปี
มาอยู่ที่ประมาณ 27-28%
ขณะที่ความเสี่ยงทางการเงินก็ต่ำ มีฐานะเป็นเงินสดสุทธิมาตั้งแต่อดีต
ปีนี้คาดเงินปันผลระดับ 1.75 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield ที่ระดับ 4.1%
เซเว่นอีเลฟเว่นเป็นธุรกิจที่เป็น Cash Cow Company ถือว่าเป็นธุรกิจที่เป็นทั้ง Defensive และมี
Growth อย่างต่อเนื่อง
อีกตัวคือ บมจ.ไดนาสตี้เซรามิค หรือหุ้นกระเบื้องปูพื้นบุผนัง “ไดนาสตี้”
ตัวนี้ AYFLTFDIV ถืออยู่ 7.23 %ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 7.33% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
อันนี้ข้อมูลผลการดำเนินงานล่าสุด
ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนของปี 2553 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553 เทียบกับ
ระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน มียอดขายสินค้ารวม 5,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 577 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 13 อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 44.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 42.7
เหลือเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ทั้งสิ้น 928 ล้านบาท หรือ 2.28 บาทต่อหุ้น
เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 164 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22
จุดที่น่าสนใจและน่าติดตามก็คือ …อัตรากำไรขั้นต้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่ารายได้และกำไรในไตรมาสนี้
จะลดลงเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส
แต่อัตรากำไรขั้นต้นกลับเพิ่มขึ้นจาก 45.2% ในไตรมาสก่อนเป็น 45.7% เป็นอัตราที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์และสูงที่สุดในอุตสาหกรรมกระเบื้องปู พื้น
DCC เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยกำลังการผลิต 50 ล้าน ตรม./
เดือน ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจึงต่ำกว่าผู้ผลิตรายอื่น และบริษัทยังมีแผนขยายกำลัง
การผลิตเป็น 61 ล้าน ตรม. ในต้นปีหน้าเพื่อรองรับตลาดในต่างจังหวัดที่ยังมีความต้อง
การสูง โดยเฉพาะในภาคอีสานและเหนือ
จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทฯ ไม่มีหนี้สินทั้งเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว
นั่นคือพื้นฐานของหุ้นที่ดูจากผลกำไร ไม่ใช่ sentiment ของตลาด
อีกตัวอย่าง คือ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์
ตัวนี้ คนไทยรู้จักในแบรนด์ “ซีเล็คทูน่า” หรือ “ปลาเส้นฟิซโซ่” เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ปลา อาหารทะเล
ล่าสุดเข้าไปควบกิจการ MWB ซึ่งเป็นผู้นำตลาดอาหารทะเลที่ยุโรป ทำให้ไทยยูเนียโฟรเซ่น ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาดโลก
ตัวนี้เงินปันผลค่อนข้างโดดเด่น กระแสเงินสดค่อนข้างดี
อีกตัวหนึ่ง บมจ.ทุนธนชาต หรือ คนทั่วไปจะรู้จักในนาม แบงก์ธนชาต
ตัวนี้ AYFLTFDIV ถืออยู่ 6.21%ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 6.21% ของมูลค่าหน่วยลงทุนเช่นกัน
แบงก์ธนชาต เพิ่งประกาศกำไรออกมา ไตรมาส 3 ปี 2553 มีกำไร 1,538 ล้านบาท โต 53.5% บวก
5 ไตรมาสติด ส่วน 9 เดือนของปี กำไรไปแล้วกว่า 4,250 ล้านบาท
ส่วนตัวนี้ บมจ.โกลว์ พลังงาน AYFLTFDIV ถืออยู่ 5.85% ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 6.59% ของมูลค่าหน่วยลงทุนเช่นกัน
กำไรจากการดำเนินงานใน 3Q10โตมาก
โดยเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะตัวบริษัทฯ มีหนี้ก้อนใหญ่อยู่ในรูปสกุลดอลลาร์สูงถึง 650 ล้านดอลลาร์
พอค่าเงินบาทแข็งก็ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากนั้นก็มีหุ้น บมจ.ปตท. หุ้น บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และหุ้นช่อง 3 บมจ.บีอีซี เวิลด์
ต้องลองพิจารณาดูว่าหุนที่กองทุนทั้ง 2 ลงทุน
ดูแล้วมั่นใจ ไปด้วยได้ไหม
เพราะTheme นี้ เป็น Theme หุ้นปันผล และเติบโตสูง แต่ต้องมีกระแสเงินสดดี
อย่าลืม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุ ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันในอนาคต
ข้อมูลข้างต้น เป็นตัวอย่างความเคลื่อนไหวของกองทุนนี้
เราในฐานะผู้ลงทุนควรตัดสินใจอย่างไร ต้องตัดสินด้วยตัวเอง
เพระสไตล์อาจจะแตกต่าง
ข้อมูลที่เราตีความเพื่อมองไปข้างหน้าก็อาจจะแตกต่าง
เวลาเลือกลงทุนกับกองทุนต้องดูไปถึงคุณภาพของบริษัทจัดการ ผู้จัดการกองทุน ความต่อเนื่องของทีม วินัยและกระบวนการลงทุนที่เป็น Qualitative
from http://is.gd/QdBV2k
โมเดลการลงทุนกองทุนทั้ง 2 เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดดีเป็นหลัก รวมถึงหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในระดับสูง และบริษัทที่มีโอกาสการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งบริษัทเหล่านี้ นอกจากต้องใช้เงินลงทุนแล้ว ยังมีกระแสเงินสดเหลือเพียงพอจ่ายปันผลในระดับที่สูงได้ด้วย
เป็นโมเดลที่ใช้กับกองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล และได้ผลดี
โมเดลนี้ อยุธยาเขาเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2006
กลยุทธ์การบริหารพอร์ตลงทุน ใช้สไตล์ Active ไม่ใช่ ซื้อแล้วถือยาว
ระหว่างทาง ผู้บริหารกองทุนจะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตอยู่ตลอดเวลา ตามจังหวะและโอกาสการลงทุน
แต่โดยรวมยังคงโมเดลหลักๆเอาไว้
ไม่ได้กระโดดไป กระโดดมาตามอารมณ์ของตลาด จนละเลยวินัยและเสีย Theme การลงทุน
กองทุนทั้ง 2 นี้
อยุธยา เอาโมเดลที่ใช้กับกองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล ลงทุนมาทำเป็นLTF และ RMF ครับ
อยุธยา มีกองทุน อยุธยาหุ้นปันผล มาระยะหนึ่ง
จนมั่นใจแล้วว่าเป็นกองทุนที่ดี และน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุน
เขาจึงเอากองทุนนี้ มาทำ
ความตั้งใจของอยุธยา ช่วงนั้น ก็คือ จะให้กองทุนนี้..
เป็นกองทุนสำหรับผู้ต้องการประหยัดภาษีเป็นหลักครับ
โดยเฉพาะกับคนที่ลงทุนกับกองทุน อยุธยาหุ้นปันผล มาแล้ว
ย่อมต้องเห็นแล้วว่าผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร
ถ้ายังมีรายได้และยังต้องเสียภาษีเงินได้ ก็สามารถซื้อ 2 กองนี้เพื่อลดหย่อนภาษีได้
แต่ ถ้าไม่นำไปหักภาษี
…ไม่แนะนำครับ
ไม่มีประโยชน์และอาจเป็นโทษก็ได้ ถ้าหากไปขายออกอาจมีปัญหากับสรรพากรได้
ลงทุนในกองทุนอยุธยาหุ้นปันผล เดิมดีแล้ว
อันนี้คือรายละเอียดของทั้ง 2 กองทุน
ถ้าไปดูผลการดำเนินงานของ AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF) เทียบกับ Benchmark
กองทุนนี้ Outperform Benchmark ได้ทุกปี
ดูจากประวัติผลการดำเนินงานย้อนหลัง ทำได้ดี
3 เดือน ทำได้ 23.06%
6 เดือน ทำได้45.55%
ตั้งแต่ต้นปี ทำได้ 60.38%
1 ปี ทำได้ 75.31%
3 ปี ทำได้ 56.23%
อันนี้ผลตอบแทนของอยุธยาหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (AYFDIVRMF
3 เดือน ทำได้ 23.11% %
6 เดือน ทำได้45.65%
ตั้งแต่ต้นปี ทำได้ +60.10%
1 ปี ทำได้ +75.77%
3 ปี ทำได้ +61.83%(
นี่คือ ดัชนีตลาดหุ้น
Benchmark ที่ใช้วัดกองทุนทั้ง 2 กองทุน
3 เดือน ทำได้ 15.03%
6 เดือน ทำได้ 28.94%
ตั้งแต่ปี ทำได้ 34.02%
1 ปี ทำได้ 43.64%
3 ปี ทำได้ 8.51%
กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล จ่ายเงินปันผลมาแล้ว 5 ครั้ง รวม 2.84 บาทต่อหน่วยลงทุน
เอา Portfolio ล่าสุดไปดูต่อนะครับ
อันนี้เป็นรายกลุ่ม ของ AYFLTFDIV
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ต.ค. 2553
การลงทุนกระจายไปในกลุ่มต่างๆดังนี้
หมวดพาณิชย์24.91%
หมวดธนาคาร16.62%
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์12.79%
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค11.47%
หมวดวัสดุก่อสร้าง9.51%
ส่วนอันนี้เป็นพอร์ตของ AYFDIVRMF หมวดพาณิชย์24.94%
หมวดธนาคาร16.40%
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์12.46%
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค11.54%
หมวดวัสดุก่อสร้าง10.57%
จะเห็นจากหุ้นรายข้างบนมีทั้งบริษัทในกลุ่มต่างๆปนๆกันอยู่ครับ
แต่เขาไม่ได้จัดสรรเงินลงทุนตามกลุ่มนะครับ
เขาดูที่ตัวบริษัทจึงเป็นผลที่ตามมา
ถ้าไปดูผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ยาวหน่อย
จะเห็นได้ชัดว่า AYFLTFDIV และ AYFDIVRMF ไม่ใช่กองทุนที่ให้น้ำหนักตามดัชนีแน่นอนครับ
เพราะมันเบี่ยงออกจากดัชนีอย่างชัดเจน
มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่ช่วงจังหวะของตลาด
เขาสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่มี Valuation น่าสนใจได้หลากหลาย sector
จะเลือกหุ้นลงทุนคละเคล้ากันไป
ทั้งหุ้นที่ให้เงินปันผลสูงและหุ้นเติบโต และเน้นลงทุนระยะกลางถึงยาว
ตัวที่อยู่ใน Top ten ของเขา
เป็นหุ้นที่มีมีกระแสเงินสดดีๆ
และบริษัทหลักๆที่เขาลงทุน แทบทั้งหมดเป็นที่รู้จันดีทั้งนั้น
มีตัวอย่างที่ยกขึ้นตรงนี้สักเล็กน้อย
เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆว่า ธุรกิจในกลุ่มนี้เขามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
ข้อมูลพวกนี้เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
อย่าง บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป AYFLTFDIV ถืออยู่ 10.42% ส่วน AYFDIVRMF ถือ 10.19%
ชื่อ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป อาจไม่คุ้นเคยหูคนไทยนัก แต่แบงก์ทิสโก้ หลายคนคงเคยใช้บริการ
อันนี้เป็นตัวอย่างความเคลื่อนไหวของธุรกิจนี้ครับ พอให้เห็นภาพว่า ธุรกิจพวกนี้กำลังเติบโต
บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป มีกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งมากกว่า 20% ต่อปี เป็นหุ้นทีมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี จ่ายปันผลดีต่อเนื่อง สูงที่สุดในกลุ่มที่ 5%
เป้าหมายการเติบโตสินเชื่อปี 2554 ที่ 15% โดยมีเป้าหมายการขยายสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ 15% สินเชื่อ SME 15% และวางเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเช่าซื้อที่ 10%
ตั้งเป้า ROE สูงกว่า 20%: เนื่องจาการเติบโตสินเชื่อดี บริหารส่วนต่างอัตรา
ดอกเบี้ยสุทธิได้ดี รายได้จากค่าธรรมเนียมขยายตัว บริษัทวางแผนคงนโยบายการจ่ายปันผลขั้นต่ำ 50%
นี้คือพื้นฐานของหุ้นที่ดูจากผลกำไร กำไร ไม่ใช่ sentiment ของตลาด
ตัวที่สอง…
บมจ.สยามแม็คโคร AYFLTFDIV ถืออยู่10.20%ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 9.99% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
สยามแม็คโคร ดำเนินธุรกิจประเภทศูนย์ค้าส่งในรูปแบบ เป็นบริษัทในกลุ่มเอสเอชวีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภททั่วโลก
ปัจจุบันศูนย์ค้าส่งแม็คโครเปิดให้บริการอยู่ใน 6 ประเทศ และมีสาขามากกว่า 165 สาขาทั่วโลก
สำหรับแม็คโครในประเทศไทย เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2532 ที่สาขาลาดพร้าว ปัจจุบัน มีอยู่ 47 สาขา
20ปีที่เขาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือเฟื่องฟู
บริษัทนี้ ยังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกจำนวนกว่า 2 ล้านคน
เมื่อไปดูยอดขายและผลกำไรของบริษัทแล้ว ปรากฏว่ายอดขายและกำไรดีมาก
สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.7 เป็นผลมาจาก
สินค้าที่มีกำไรขั้นต้นสูงมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น
สยามแม็คโคร เป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสด และการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น
ตัวที่สาม …บมจ. ซีพี ออลล์ หรือ เซเว่นอีเลฟเว่น
ตัวนี้ AYFLTFDIV ถืออยู่9.73%ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 9.73% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
CPALL เป็นผู้นำตลาด แต่ก็ยังซื้อขายด้วย PEG ที่ต่ำสุดหากเทียบกับหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจ
คล้ายคลึงกันในกลุ่มพาณิชย์ (SET) ที่ระดับ 0.6 เท่า
สำหรับปี 54 อีกทั้งยังมีอัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่สูงคือ 39.6% อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี 53 เป็น 26% และปี 54 เป็น 33%
อัตราการทำกำไรขั้นต้นในไตรมาส 3 ก็เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยจากช่วงต้นปี
มาอยู่ที่ประมาณ 27-28%
ขณะที่ความเสี่ยงทางการเงินก็ต่ำ มีฐานะเป็นเงินสดสุทธิมาตั้งแต่อดีต
ปีนี้คาดเงินปันผลระดับ 1.75 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield ที่ระดับ 4.1%
เซเว่นอีเลฟเว่นเป็นธุรกิจที่เป็น Cash Cow Company ถือว่าเป็นธุรกิจที่เป็นทั้ง Defensive และมี
Growth อย่างต่อเนื่อง
อีกตัวคือ บมจ.ไดนาสตี้เซรามิค หรือหุ้นกระเบื้องปูพื้นบุผนัง “ไดนาสตี้”
ตัวนี้ AYFLTFDIV ถืออยู่ 7.23 %ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 7.33% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
อันนี้ข้อมูลผลการดำเนินงานล่าสุด
ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนของปี 2553 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553 เทียบกับ
ระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน มียอดขายสินค้ารวม 5,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 577 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 13 อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 44.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 42.7
เหลือเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ทั้งสิ้น 928 ล้านบาท หรือ 2.28 บาทต่อหุ้น
เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 164 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22
จุดที่น่าสนใจและน่าติดตามก็คือ …อัตรากำไรขั้นต้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่ารายได้และกำไรในไตรมาสนี้
จะลดลงเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส
แต่อัตรากำไรขั้นต้นกลับเพิ่มขึ้นจาก 45.2% ในไตรมาสก่อนเป็น 45.7% เป็นอัตราที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์และสูงที่สุดในอุตสาหกรรมกระเบื้องปู พื้น
DCC เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยกำลังการผลิต 50 ล้าน ตรม./
เดือน ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจึงต่ำกว่าผู้ผลิตรายอื่น และบริษัทยังมีแผนขยายกำลัง
การผลิตเป็น 61 ล้าน ตรม. ในต้นปีหน้าเพื่อรองรับตลาดในต่างจังหวัดที่ยังมีความต้อง
การสูง โดยเฉพาะในภาคอีสานและเหนือ
จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทฯ ไม่มีหนี้สินทั้งเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว
นั่นคือพื้นฐานของหุ้นที่ดูจากผลกำไร ไม่ใช่ sentiment ของตลาด
อีกตัวอย่าง คือ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์
ตัวนี้ คนไทยรู้จักในแบรนด์ “ซีเล็คทูน่า” หรือ “ปลาเส้นฟิซโซ่” เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ปลา อาหารทะเล
ล่าสุดเข้าไปควบกิจการ MWB ซึ่งเป็นผู้นำตลาดอาหารทะเลที่ยุโรป ทำให้ไทยยูเนียโฟรเซ่น ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาดโลก
ตัวนี้เงินปันผลค่อนข้างโดดเด่น กระแสเงินสดค่อนข้างดี
อีกตัวหนึ่ง บมจ.ทุนธนชาต หรือ คนทั่วไปจะรู้จักในนาม แบงก์ธนชาต
ตัวนี้ AYFLTFDIV ถืออยู่ 6.21%ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 6.21% ของมูลค่าหน่วยลงทุนเช่นกัน
แบงก์ธนชาต เพิ่งประกาศกำไรออกมา ไตรมาส 3 ปี 2553 มีกำไร 1,538 ล้านบาท โต 53.5% บวก
5 ไตรมาสติด ส่วน 9 เดือนของปี กำไรไปแล้วกว่า 4,250 ล้านบาท
ส่วนตัวนี้ บมจ.โกลว์ พลังงาน AYFLTFDIV ถืออยู่ 5.85% ของมูลค่าหน่วยลงทุน AYFDIVRMF ถือ 6.59% ของมูลค่าหน่วยลงทุนเช่นกัน
กำไรจากการดำเนินงานใน 3Q10โตมาก
โดยเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะตัวบริษัทฯ มีหนี้ก้อนใหญ่อยู่ในรูปสกุลดอลลาร์สูงถึง 650 ล้านดอลลาร์
พอค่าเงินบาทแข็งก็ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากนั้นก็มีหุ้น บมจ.ปตท. หุ้น บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และหุ้นช่อง 3 บมจ.บีอีซี เวิลด์
ต้องลองพิจารณาดูว่าหุนที่กองทุนทั้ง 2 ลงทุน
ดูแล้วมั่นใจ ไปด้วยได้ไหม
เพราะTheme นี้ เป็น Theme หุ้นปันผล และเติบโตสูง แต่ต้องมีกระแสเงินสดดี
อย่าลืม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุ ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันในอนาคต
ข้อมูลข้างต้น เป็นตัวอย่างความเคลื่อนไหวของกองทุนนี้
เราในฐานะผู้ลงทุนควรตัดสินใจอย่างไร ต้องตัดสินด้วยตัวเอง
เพระสไตล์อาจจะแตกต่าง
ข้อมูลที่เราตีความเพื่อมองไปข้างหน้าก็อาจจะแตกต่าง
เวลาเลือกลงทุนกับกองทุนต้องดูไปถึงคุณภาพของบริษัทจัดการ ผู้จัดการกองทุน ความต่อเนื่องของทีม วินัยและกระบวนการลงทุนที่เป็น Qualitative
from http://is.gd/QdBV2k
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น