วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟต

เรื่องราวชีวิตการลงทุนของ นายวอร์เรน บัฟเฟต มหาเศรษฐีโลกที่ร่ำรวยจาการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มักมีผู้ศึกษาและนำเรื่องราวชีวิตการลงทุนของเขามารวบรวมเขียนเป็นหนังสือ ให้ผู้คนทั่วโลกสามารถหยิบหามาอ่านได้เล่มแล้วเล่มเล่า

นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ ก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเรื่องราวชีวิตการลงทุนของ นายวอร์เรน บัฟเฟต และถ่ายทอดเป็นตัวอักษรมาแล้วถึง 2 เล่มด้วย แต่ด้วยความที่เรื่องราวของนายวอร์เรน บัฟเฟต ค่อนข้างมีรายละเอียดในที่สุด นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ จึงต้องถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตการลงทุนของนายวอร์เรน บัฟเฟต์ออกมาเป็นเล่มที่ 3 ภายใต้ชื่อ " WARREN BUFFETT WEALTH "

เน้นหุ้นคุณภาพถือยาว
นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ ผู้เขียนหนังสือ " WARREN BUFFETT WEALTH " เปิดเผยว่า จากการศึกษาการลงทุนของ นายวอร์เรน บัฟเฟต ยอมรับว่ารู้สึกชื่นชมแนวคิดการลงทุนในหุ้นของ นายวอร์เรน บัฟเฟต ที่มีหลักคิดในการลงทุนแบบง่าย ๆ แต่สามารถสร้างความร่ำรวยได้มหาศาล

"ถ้าเขาซื้อหุ้นแล้วถ้าหุ้นเกิดตกเขาจะไม่รู้สึกวิตกกังวล ไม่สนใจ ไม่เทขายหุ้นตามตลาด ไม่ตามกระแส เน้นการลงทุนระยะยาว "

การลงทุนในบริษัทใด นายวอร์เรน บัฟเฟต จะมีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเป็นหลัก ไม่ดูภาพเศรษฐกิจ ไม่ได้วิเคราะห์จากการดูกราฟทางด้านเทคนิค เพราะการดูในลักษณะดังกล่าวเป็นการดูรายวัน ถึงแม้ราคาหุ้นตกทุกคนเทขาย แต่เขาไม่ขายถ้าดูพื้นฐานแล้วอนาคตราคาหุ้นต้องขึ้นแน่นอนจากธุรกิจมีการ เติบโตในอนาคต

ดังนั้นหลักการลงทุนใหญ่ๆ ที่นายวอร์เรน บัฟเฟต ให้ความสำคัญ คือ มองที่ตัวธุรกิจ การวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงินจากการดูมูลค่าสินทรัพย์ หรือ แอสเซท และจึงลงทุนในกิจการที่มีมูลค่า หรือ เรียกว่าเป็นหุ้นคุณค่า มีการวิเคราะห์ของธุรกิจจะต้องเป็นธุรกิจที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต ประจำวันของมนุษย์ซึ่งจะขาดไม่ได้ คนจะต้องใช้ในสิ่งนั้น เช่น ใบมีดโกน ฯลฯ ซึ่งเป็นของใช้ที่คนต้องใช้เสมอ ทำให้บริษัทนั้นก็จะมีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง และจะต้องมีผลตอบแทนของสินทรัพย์ (ROE) ซึ่งจะต้องสูงกว่า 12% ยกตัวอย่างที่หลายคนอาจทราบ คือ หุ้นโคคา-โคล่า ที่นายวอร์เรน บัฟเฟต เข้าลงทุนไว้ เข้าลงทุนไว้ประมาณ 1 พันล้านเหรียญ ในปี 1988-1989 ลงทุนมาประมาณ 17 ปี ได้ผลตอบแทนถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเขาก็ยังถือหุ้นอยู่

สิ่งที่นายวอร์เรน บัฟเฟต ให้ความสำคัญมากลำดับต้น ๆ อีกก็คือ ตัวผู้บริหารต้องเป็นผู้บริหารที่ดี ซื่อสัตย์ และฉลาด มีความกระตือรือร้น และฉลาด

5ธุรกิกลุ่มเป้าหมาย
จากการศึกษานายวอร์เรน บัฟเฟต ในฐานะที่ร่ำรวยจนปี 2548 นี้เขาติดอันดับมหาเศรษฐีอันดับ 2 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอบส์ ให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจ 5 กลุ่มด้วยกัน คือ 1) ธุรกิจเครื่องดื่ม เช่น โค๊ก 2) กลุ่มการเงินที่เกี่ยวกับรายย่อย เช่น บริษัทอเมริกันเอ็กเพรส 3) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 4) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารของประเทศแคลิฟอร์เนีย 5) หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์

กรณีหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์นายวอร์เรน บัฟเฟต เข้าลงทุนเมื่อ 1974 จำนวน 11 ล้านเหรียญสหรัฐ 30 ปีผ่านไปได้ผลตอบแทน 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน 15%

ไม่ลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้
นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ กล่าวต่อว่า หากแบ่งสัดส่วนพอร์ตการลงทุนของนายวอร์เรน บัฟเฟต ที่ผ่านมาเคยพบว่า แบ่งเป็น 30%ลงทุนในธุรกิจเป็นประกัน 10% เป็นพลังงาน 16% เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค 44% เป็นโรงงานของบริษัท หลักการลงทุนที่สำคัญของนายวอร์เรน บัฟเฟต อีกอย่างก็คือ จะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีความรู้
ธุรกิจอิเลคทรอนิคส์ ก็เป็นธุรกิจที่นายวอร์เรน บัฟเฟต ไม่ยอมเข้าลงทุน เขาให้เหตุผลว่าเขาไม่มีความรู้ในธุรกิจนี้ และยังเป็นธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ถึงแม้เขาจะเป็นเพื่อนกับนายบิลเกตส์ แห่งไมโครซอฟท์ ก็ตาม เขาก็ไม่ลงทุน และไม่ลงทุนในบริษัทที่เพิ่งก่อตั้ง รวมถึงไม่ไปลงทุนในประเทศที่เกิดใหม่ เพราะไม่มีความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้น

"สำหรับตลาดหุ้นในแถบเอเชียนี้นายวอร์เรน บัฟเฟต ก็ไม่เข้าลงทุน จะมีก็แต่เพียงการลงทุนในบริษัทพลังงานของจีนที่ฮ่องกง เพราะมองว่าธุรกิจพลังงานคนต้องใช้ เม็ดเงินที่ลงทุนไปจำนวน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และยังลงทุนได้ไม่ถึง 2 ปี"นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ กล่าว

การเลือกไม่ลงทุนในสิ่งที่นายวอร์เรน บัฟเฟต ไม่รู้ไม่เชี่ยวชาญ จึงถือเป็นหลักคิดอย่างหนึ่งของเขา เช่นเดียวกันกับที่เขาจะไม่เลือกลงทุนในกิจการที่ก่อตั้งมานานแล้ว

หลักคิดวอร์เรน บัฟเฟต์ใช้ได้ทุกตลาดหุ้น
นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ เชื่อว่า แม้นายวอร์เรน บัฟเฟต ไม่สนใจลงทุนในประเทศและตลาดหุ้นเกิดใหม่ เพราะเขาเลือกลงทุนในประเทศใหญ่ ๆ รวมถึงตลาดหุ้นไทยซึ่งเชื่อว่าเขาไม่น่าจะรู้เรื่องราวของประเทศไทย ซึ่งมีองค์ประกอบของเรื่องการเมือง และราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวร้อนแรง แต่เชื่อว่าหลักการลงทุนของนายวอร์เรน บัฟเฟต นั้นสามารถนำไปใช้ได้กับการลงทุนในทุกประเทศ ทุกตลาดหุ้น

ก่อนหน้านี้ มีคนนำหลักการลงทุนของเขา ไปลงทุนในประเทศยุโรป และได้รับผลตอบแทนที่สูง ส่วนในประเทศไทย ก็มีนักลงทุนที่อ่านหนังสือของเขาแล้วนำหลักการลงทุนของเขาไปใช้ ก็เช่น นายนิเวศน์ เหมวิชรวรากรณ์ ฯลฯ

นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ กล่าวว่า ความจริงบริษัทของนายวอร์เรน บัฟเฟต ก็มีประสบการณ์ขาดทุนเหมือนกัน จากการเปิดบริษัททำธุรกิจด้านเสื้อผ้าขายสูท ซึ่งต่อมาประสบปัญหาต้นทุนสู้ประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้ทำให้ได้รับผลการขาดทุน ซึ่งในที่สุดก็เลิกไปและเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนในหุ้น และก็ไม่ได้มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ไฮเทคอะไรอะไรมากมายในการลงทุน แต่ในที่สุดนายวอร์เรน บัฟเฟตก็กลายเป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยติดมหาเศรษฐีโลกรองจากเพื่อนของเขา "บิลเกตส์" ที่รวยจากการเป็นเจ้าของกิจการไมโครซอฟท์

นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเขาเขียนหนังสือถ่ายทอดเรื่องราวของนายวอร์เรน บัฟเฟต มาแล้ว 2 เล่ม แปลตามภาษาไทย เล่มแรก ชื่อ 101 เหตุผลที่คุณจะเป็นเจ้าของกิจการ เล่มที่ 2 ชื่อ "บัฟเฟต ซีอีโอ" แต่ด้วยเนื้อหาที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มขึ้น ทำให้ ต้องมีเล่มที่สาม ซึ่งใช้ชื่อว่า " WARREN BUFFETT WEALTH" หรือ วอร์เรน บัฟเฟต ผู้มั่งคั่ง สำหรับหนังสือเล่มที่ 3 นี้จะใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น มีการยกตัวอย่างประกอบ ซึ่งเนื้อหาได้มาจากการศึกษาเกี่ยวกับ
นายวอร์เรน บัฟเฟต และบริษัทของเขา ตลอดจนได้มีการสอบถามจากผู้ใกล้ชิดของเขา

จากการศึกษาเรื่องราวของนายวอร์เรน บัฟเฟต ทำให้ นายโรเบิร์ต พี.ไมส์ บอกว่า อยากให้ติดตามอ่านกันว่าหลักคิดหลักการลงทุนในหุ้นอย่างง่าย ๆ ไม่ได้มีทริกการลงทุนอะไรมากมาก "แค่ไม่ลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ และไม่เสี่ยง" ก็สามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีได้มากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น